Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2548
เปิดขุมทรัพย์ 6 ทำเลทอง รับอานิสงส์เมกะโปรเจกต์             
 


   
search resources

มานพ พงศทัต
Real Estate




*"มานพ พงศทัต"เสาหลักอสังหาฯฟันธง หลังระบบโครงข่ายคมนาคมก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว
*เปิดทำเลทอง 6 แห่งใหม่ ทั้งบางซื่อ ,มักกะสัน,ตากสิน,สุวรรณภูมิ ,พระราม 3 และเขตเมืองชั้นในรอบเกาะรัตนโกสินทร์
*เผยดีเวลลอเปอร์แห่กว้านซื้อที่ดิน รับเมืองขยายตัว ดันเกาะรัตนโกสินทร์เทียบชั้น"ชองเซลีเซ่" ฝรั่งเศส

การพัฒนาโครงการเมกะโปรเจ็กต์ นอกจากจะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวแล้ว อีกด้านหนึ่งยัง ยังทำให้มีการขยายตัวของเมืองอีกด้วย นั่นย่อมหมายถึง จะเกิดโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล

โดยเฉพาะการเปิดเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ ที่จะเข้าถึงที่ดินในหลายพื้นที่ ทำให้ถูกคาดหมายว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ และการไหลเวียนของประชากร จนเกิดถิ่นที่อยู่อาศัย และที่ทำงานแห่งใหม่ จนทำให้เกิดเป็น "ทำเลทอง"แห่งใหม่

มานพ พงศทัต ที่ปรึกษาสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และเสาหลักอสังหาริมทรัพย์ กล่าวถึงการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ว่า ภายหลังการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า 7 สายแล้วเสร็จ จะทำให้เกิดทำเลทองใหม่อย่างน้อย 6 แห่ง และจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 10 ปี โดยทำเลใหม่ ๆ ได้แก่ บางซื่อ , มักกะสัน , ตากสิน , สุวรรณภูมิ , เขตเศรษฐกิจใหม่พระราม 3 และ เขตเมืองชั้นใน บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์

โดย บางซื่อ จะได้รับอิทธิพลจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงบางซื่อ-บางใหญ่ แม้ในขณะนี้ จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในเรื่องแนวเส้นทาง รวมทั้งที่ผ่านมาได้รับกระแสการคัดค้านในเรื่องการเลือกระบบการเดินรถระหว่างลอยฟ้าและใต้ดินโดยเฉพาะบริเวณถนนกรุงเทพ-นนท์ และย่านเตาปูน อย่างไรก็ตามหลังจากได้ข้อสรุปชัดเจน เชื่อว่าการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะเดินหน้าต่อเนื่องทันทีในบริเวณดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่ลงทุนเปิดโครงการใหม่กันอย่างคึกคักในเส้นทางต่อเนื่องปลายสายทางคือ บางใหญ่

ต่างชาติเล็งพื้นที่มักกะสัน

มักกะสัน เป็นอีกทำเลหนึ่งที่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ให้ความสนใจ เพราะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่จำนวนมากถึง 650 ไร่ ที่สำคัญยังตั้งอยู่ใจกลางเมือง จึงเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากมีความพร้อมทั้งในส่วนของระบบคมนาคมขนส่ง ทั้งทางด่วนชั้นที่ 1 และ 2 ถนนสายหลักต่างๆ เช่น ถนนจตุรทิศ ราชปรารภ เพชรบุรี รัชดาภิเษก สามารถเดินทางเข้าออกได้สะดวกหลายทาง ทั้งยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไท และรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี

นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังถูกวางแผนให้เป็น "ศูนย์มักกะสัน" หนึ่งในสามของศูนย์กลางการคมนาคมตามแผนที่รัฐจะผลักดัน ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะมีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินข้างเคียง และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยถัดจากทางด่วนขั้นที่ 2 จะเป็นเขตโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง กินพื้นที่ตั้งแต่บึงมักกะสันไปตามถนนประชาสงเคราะห์จดถนนอโศก-ดินแดง ต่อเนื่องไปถึงศาลาว่าการ กทม.2

นอกจากนั้น พื้นที่ด้านที่ติดย่านธุรกิจถนนเพชรบุรี สุขุมวิท ซอยนานา สามารถต่อเชื่อมกับใจกลางย่านธุรกิจอื่นๆ ได้ เช่น สีลม สาทร ส่วนด้านตะวันตกติดกับธุรกิจเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ย่านประตูน้ำ ราชปรารภ และย่านบริการ เช่น โรงแรม ห้องพัก ซึ่งปัจจุบันแออัด ถ้าศูนย์มักกะสันแจ้งเกิดได้สำเร็จ จะช่วยให้ขยายตัวได้เร็วขึ้น และเป็นประตูกระจายสินค้าครบวงจรมากขึ้นด้วย

ตากสินรับอานิสงสายสีแดง

ขณะที่ บริเวณตากสิน เป็นอีกทำเลหนึ่งที่จะได้รับอานิสงส์จากการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งน่าจะ ลงทุนระบบรถตั้งแต่รังสิต-บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกจากรังสิต - บางซื่อ คาดว่าจะประมูลได้ในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน ม.ค.2549 และช่วงสุดท้ายจากหัวลำโพง-มหาชัย คาดว่าจะประมูลได้ในเดือนก.พ.2549

ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว จะเป็นการชี้นำการกระจายความเจริญ และเป็นการสร้างความสมดุลความเจริญของ กทม.ด้านใต้ รวมถึงการสร้างสมดุลของแหล่งงาน แหล่งการศึกษา และแหล่งที่อยู่อาศัยโดยการเชื่อมต่อด้วย ระบบขนส่งมวลชนระบบราง รวมถึงส่งผลกระทบให้มีการปลุกราคาที่ดินให้พุ่งสูงขึ้นถึงตารางวาละเกือบ 100,000 บาทมาแล้ว

แห่กว้านซื้อที่ดินรอความเจริญ

รวมถึง "สุวรรณภูมิ" ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นทำเลยอดฮิตของดีเวลลอปเปอร์ที่ แห่กว้านซื้อที่ดินดักรอขึ้นโครงการบ้านจัดสรรและยึดสนามบินเป็นจุดขาย โดยที่ผ่านมามีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยื่นขออนุญาตจัดสรรจากสำนักงานที่ดินในละแวกดังกล่าว และทยอยขึ้นโครงการในช่วงที่สนามบินใกล้เสร็จในปี 2549 ไม่ต่ำกว่า 100 -200 โครงการ โดยมีแลนลอร์ดเก่าอย่างกฤษดามหานคร กลุ่มอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งทยอยผุดโครงการใหม่จับทำเลย่านบางนา-ตราดและมีโครงการเก่าอย่างกรีนวัลเลย์ และกลุ่มธนายง ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาที่ดินเปล่าเนื้อที่ 600 ไร่ ใกล้เคียงกับโครงการธนาซิตี้ โดยจะใช้ชื่อว่า นิวส์ธนาซิตี้ โดยในโครงการดังกล่าวจะมีที่อยู่อาศัย โรงแรมระดับ 5 ดาว รวมทั้งโครงการสาธารณูปโภคอื่นๆ

ทั้งนี้เนื่องจากศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งมีการวางวิสัยทัศน์ และแนวคิดกำหนดไว้คือ เป็นเมืองศูนย์กลางการบิน และการคมนาคมขนส่ง เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคมหานคร เมืองน้ำ เมืองท่องเที่ยวทางน้ำหรือเวนิสตะวันออก และเมืองใหม่ศูนย์พัฒนาและกระจายนวัตกรรม

นอกจากนั้นอีกส่วนหนึ่งยังมาจากศักยภาพของการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link Project)แอร์พอร์ต ลิงค์ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานในปลายปี 49 อย่างแน่นอน

ส่วนย่านพระราม 3 ทำเลที่มีการเติบโตในเชิงธุรกิจในอัตราสูง เนื่องจากที่ผ่านมา กทม.มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่พระรามที่ 3 เน้นการพัฒนาเชิงธุรกิจ โดยมีการศึกษาและวางผังให้เป็น "พื้นที่พัฒนาพิเศษเขตเศรษฐกิจใหม่ พระรามที่ 3" โดยขณะนั้น กทม. ได้ปรับปรุงถนนพระราม 3 พร้อมกับเปลี่ยนผังเมืองใหม่จากพื้นที่สีม่วงหรือพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นพื้นที่สีแดง หรือพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมทั้งหมด ซึ่งหลังการเติบโตของพื้นที่เป็นแหล่งธุรกิจแล้ว การเข้าไปพัฒนาที่ดินของดิเวลลอปเปอร์จึงเกิดขึ้น ย่านดังกล่าวจึงเป็นแหล่งรวมของที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ คอนโดมิเนียม ที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนพระราม 3 ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มแอลพีเอ็น เป็นผู้ลงทุนพัฒนาอาคารชุดย่านพระราม 3 มากที่สุด นอกจากนั้นยังมีกลุ่มไรมอนแลนด์ที่เตรียมพัฒนาโครงการในลักษณะคอมมูนิตี้ กลุ่มเคแลนด์ หรือกรุงเทพบ้านและที่ดิน จนถึงกลุ่มทุนอสังหาฯ ในเครือเฟร์เซอร์แอนด์นีฟ จากสิงคโปร์ ที่ลงทุนในลักษณะร่วมทุน

สำหรับถนนพระราม 3 นั้นเป็นทำเลที่มีอาคารสำนักงาน สำนักงานใหญ่ของสถานบันการเงินต่างๆ และเป็นทำเลที่ได้รับการกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา รองรับการขยายตัวของถนนวงแหวนอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับแหล่งอุตสาหกรรมแถบสุขสวัสดิ์ ปู่เจ้าสมิงพราย และท่าเรือคลองเตยเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เชื่อมโยงไปสู่ถนนสาทร สีลม จึงถือว่าเป็นทำเลที่สามารถเดินทางเข้าสู่ในกลางธุรกิจหรือซีบีดีได้สะดวกขึ้น

ยกเกาะรัตนโกสินทร์เทียบชองเซลีเซ่

พื้นที่เขตเมืองชั้นใน บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องจากแผนการพัฒนาเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อเป็นสัญลักษณ์เมืองท่องเที่ยว โดยมีการปรับภูมิทัศน์และจัดบ้านเรือนรอบบริเวณ รวมทั้งพัฒนาบริเวณถนนราชดำเนินเทียบชั้นกับชองเซลีเซ่ ถนนสายโอ่อ่าของมหานครปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่การขยายตัวของโครงการจัดสรรในย่านนี้ไม่มีอัตราการเกิดใหม่ อย่างไรก็ตามพื้นที่บริเวณดังกล่าว ยังมีส่วนที่เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำมาพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ต้องเข้าข่ายควบคุมการก่อสร้าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us