Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์13 ตุลาคม 2548
"บัณฑูร" ลั่นไม่ลงสนามการเมือง ยันเป็นพันธมิตรทุกพรรค!             
 

   
related stories

“บัณฑูร”เขย่าวงการ หนุนราคาหุ้น KBANK
โบรกฟันธงหุ้น KBANK 85 บาท
เบื้องหลัง-เบื้องลึก กำเนิด K-Heroes
Customer Centric Bank

   
search resources

บัณฑูร ล่ำซำ
Political and Government




หลายครั้งเมื่อประชาธิปัตย์เดินมาถึงทางตัน ไม่สามารถสร้าง "จุดขาย"ขึ้นมาเทียบเคียงความสดใหม่ กับไทยรักไทย ของนายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้ และบ่อยครั้งที่มักถูกถามไถ่ถึงภาพลักษณ์แห่งความเป็น "ผู้นำ"ที่สร้างความเหนือชั้นได้ใกล้เคียงกับ นายกฯทักษิณ คำถามเหล่านี้กลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้หลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ ต้องหาคำตอบเรื่อยมา

การเปลี่ยนตัว "ผู้นำ"ของประชาธิปัตย์ ที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเพื่อหวังที่จะทำให้เกิดภาพแห่งความเปลี่ยนแปลง จากสถานบันการเมืองที่มีอายุกว่า 5 ทศวรรษ มีวิถีมุมมองแบบหัวเก่าอนุรักษ์นิยม ไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้น แต่ไม่ยอมก้าวล่วงไปสู่ โลกแห่ง "ทุนนิยม"เหมือนกับพรรคไทยรักไทยอย่างแน่นอน

การจัดวาง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "ขึ้นรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค รุ่นที่ 7 ต่อจาก "บัญญัติ บรรทัดฐาน " ทำให้ประชาธิปัตย์คาดหวังว่าจะสามารถชูภาพ ผู้นำพรรค คนหนุ่มรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ปรากฏว่าในความเป็นจริงแล้ว กลับยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกใจ หรือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจได้มากพอ หากประมวลดูแล้วอาจทำให้เห็นภาพ "กบเลือกนาย"เกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ อยู่บ่อยครั้ง และ "นาย"ที่เคยมีขึ้นเป็นตัวเลือก ก็มักจะมี "คนนอก"เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลายครั้ง....

หนึ่งในหลายต่อหลายครั้ง เคยมีชื่อของนายแบงค์หนุ่ม " บัญฑูร ล่ำซำ " ซีอีโอ แห่งธนาคารกสิกรไทย เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน...การที่ชื่อของ บัญฑูร ผุดขึ้นในความคิดของใครบางคน ทั้งในและนอกพรรคนั้นย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากความสามารถและชื่อเสียงโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับในแวดวงนายธนาคารอย่างกว้างขวาง บทบาทความเป็นคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้า ความสำเร็จจากการเปลี่ยนชื่อและสร้างภาพลักษณ์ให้ธนาคารมีความทันสมัยและเหนือชั้นในด้านการบริการชองบัญฑูร ที่ผ่านมายิ่งทำให้ภาพ "มืออาชีพ"ของเขาแจ่มชัดและถูกจับตามองมากขึ้น

ความโดดเด่นจากฝีมือการบริหารงานที่มาจากแนวคิดของบัญฑูร ไม่เพียงแต่จะถูกพูดถึงในแวดวงนายแบงค์เท่านั้น แต่ในวงสนทนาระดับแกนนำพรรคการเมือง ที่ไม่ใช่เฉพาะประชาธิปัตย์เอง ก็ให้ความสนใจในตัวเขาไม่น้อยไปกว่ากัน เนื่องเพราะบรรดานักการเมืองรุ่นใหม่ เชื่อว่า นายแบงค์หัวก้าวหน้าอย่างเขา น่าจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับพรรคการเมืองได้เป็นอย่างดี จนในที่สุดอาจขึ้นไปเทียบชั้นได้กับนายกฯทักษิณ ในวันข้างหน้าได้อย่างไม่ยากเย็น...

ครั้งหนึ่งเคยมีความคิดจากกลุ่มแกนนำ สายพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เมื่อครั้งที่ยังรุ่งเรืองอยู่ในประชาธิปัตย์ เห็นว่าในยามที่พรรคกำลังขาดแคลนผู้นำรุ่นใหม่ ที่จะสามารถก้าวขึ้นไปเทียบคียงกับนายกฯทักษิณ ถึงแม้จะมี อภิสิทธิ์ แต่กลับยังไม่ใช่ "คำตอบ"ที่น่าพอใจนั้น "บัญฑูร ล่ำซำ" คือทางเลือกที่น่าสนใจ ดังนั้นจึงมีการส่งตัวแทนจากสาย เสธ.หนั่น ไปเจรจา แต่ปรากฏว่าไม่มีการตอบรับกลับมาจากเจ้าตัว การเจรจาในรอบนั้นจึงมีอันยุติลง

ต่อมาเมื่อบรรดาแกนนำกลุ่มเดิม ได้ย้ายไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ "มหาชน" ความคิดเดิมที่จะเชื้อเชิญให้ บัญฑูร มานั่งเป็น "หัวขบวน" ให้กับพรรคมหาชน ขณะนั้นอยู่ในช่วงก่อตั้ง และที่สำคัญยังติดปัญหาเรื่อง "ตัวบุคคล"ถูกวิจารณ์ว่าเป็นแหล่งรวมของเก่าทางการเมืองไว้ทั้งสิ้น ตั้งแต่หัวแถวไปจนถึงปลายแถว ดังนั้นจึงเกิดความเคลื่อนไหวประสานไปยัง "บัญฑูร "อีกครั้ง แต่ในที่สุด เจ้าตัวก็ยังไม่เปลี่ยนใจที่จะหันเข้าสู่เวทีในทางการเมือง ในช่วงนั้นพรรคมหาชน ไม่เพียงแต่หวังทาบทาม "บัญฑูร"เท่านั้น

ขณะเดียวกันยังมีความหวังอยู่ที่ "ศุภชัย พานิชภักดิ์" ซึ่งยังคงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการค้าโลก ( WTO) เพราะเชื่อว่าสายสัมพันธ์อันดีระหว่าง เสธ.หนั่น กับ ศุภชัย อาจทำให้เขาเปลี่ยนใจในวันข้างหน้าได้...แต่ในความเป็นจริงแล้วคนในพรรคมหาชน กลับต้องยอมรับความผิดหวัง เพราะทั้ง บัญฑูร และศุภชัย ไม่ได้เลือกเส้นทางแห่งการเมืองไว้ในใจ....

สำหรับมูลเหตุที่อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ชื่อของบัญฑูร มักถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับแวดวงการเมือง โดยเฉพาะกับพรรคประชาธิปัตย์มาแล้ว น่าจะเป็นเพราะ ก่อนหน้านี้ได้มีคนในตระกูล "ล่ำซำ" เดินเข้าสู่ถนนสายการเมืองล่วงหน้ามาแล้ว "โพธิพงษ์ ล่ำซำ" คือนายแบงค์ที่มีความสนใจการเมือง ประกอบกับได้รับการชักชวน จาก "พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล" ในฐานะที่เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อนตามประสาพ่อค้านักธุรกิจด้วยกัน

"คุณพิเชษฐ เป็นคนชักชวน คุณโพธิพงษ์ ให้เข้ามาทำงานร่วมกับพรรค เพราะคุณพิเชษฐ เคยนั่งเป็นรัฐมนตรี คุมกระทรวงพาณิชย์ ส่วนคุณโพธิพงษ์ ก็อยู่ที่สภาหอการค้า ก็เห็นฝีมือกันจึงชักชวนให้เข้ามาช่วยงานที่พรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาคุณโพธิพงษ์ ก็มาเป็นรัฐมนตรี ดูแลกระทรวงพาณิชย์ เพราะสามารถประสานกับหอการค้าได้ทั่วประเทศ" แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงที่มาของโพธิพงษ์ ที่เข้ามาสู่พรรค

ภายหลังการเข้ามาสัมผัสงานด้านการเมือง ของโพธิพงษ์ ดูเหมือน ณ วันนี้ตัวเขาเองก็มีความพึงพอใจ และตั้งใจทุ่มเทแรงกาย และทุนทรัพย์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเป็นอย่างดี การเลือกตั้งใหญ่ เมื่อต้นปี 2548 ที่ผ่านมา โพธิพงษ์ เองได้ลงไปคลุกคลีกับผู้สมัครในพื้นที่ภาคกลางอยู่หลายจังหวัด นอกเหนือไปจากการหนุน ด้วยเม็ดเงินแล้ว นั่นคือโพธิพงษ์ ล่ำซำ ....

แต่บทบาทที่ โพธิพงษ์ เหล่านั้นอาจไม่ใช่ทางเลือกและสไตล์ของ "บัญฑูร ล่ำซำ"อย่างแน่นอน ความสุข ความพึงพอใจของซีอีโออย่างเขา ณ วันนี้ยังคงโฟกัสไปที่การเติบโตของแบงก์กสิกรไทย มากกว่าที่จะหันมาเล่นบท "นักการเมือง"อย่างแน่นอน...

" ไม่เอา ไม่สนใจ ใครจะพูดถึง ก็พูดกันไป ใครจะเชื่อมโยงก็ว่ากันไป เพราะมีภารกิจหนักในการบริหารแบงค์ จะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ให้ทันกับการแข่งขันของโลกเพื่อความอยู่รอด ตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่สนใจการเมือง และไม่ฝักใฝ่กับพรรคใด แต่เป็นมิตรกับทุกพรรคการเมือง "

นี่คือบทสรุปที่ "บัญฑูร ล่ำซำ"ให้กับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์ !   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us