ย้อนหลังไปเมื่อปี 2483 ซึ่งเป็นช่วงที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2475 และประมวลกฏหมายรัษฏากรเก็บภาษีเงินได้กำหนดให้บริษัทขนาดใหญ่ต้องมีผู้สอบบัญชีและเก็บภาษีจากยอดกำไรสุทธิที่คำนวณทางบัญชี
ยุกต์ ณ ถลาง ได้เปิดสำนักงานตรวจสอบบัญชีขึ้นมาในปี 2483 เพื่อรับสอบบัญชีและทำบัญชีแก่ห้างร้านต่าง
ๆ ขณะนั้นเขายังคงทำงานเป็นข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย โดยยุกต์ซึ่งศึกษาจบ CPA จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์และ
MBA จากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น ฟิลิปปินส์และมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐ
ฯ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาหลักการบัญชีสมัยใหม่ด้วย
เวลานั้น สำนักงานยุกต์ ณ พลางเป็นที่เชื่อถือและยอมรับความเป็นมืออาชีพในวงการธุรกิจนอกเหนือจากความได้เปรียบที่เปิดธุรกิจสอบบัญชีขึ้นเป็นรายแรก
ๆ ทำให้สำนักงานได้ลูกค้าชั้นดีที่ใช้บริการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเช่นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
ต่อมาในปี 2500 ที่งาน THE 1st FAR EAST CONFERENCE OF ACCOUNTANTS IN
ASIA ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ยุกต์ ณ ถลาง ได้พบกับ "วอชิงตัน
ซีซิป" (WASHINGTON SYCIP) ผู้ก่อตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีเอสจีวีแอนด์โก
ชั้นนำของฟิลิปปินส์ ทั้งสองต่างมีทัศนะตรงกันต่อการพัฒนายากฐานะวิชาชีพนักบัญชีสู่มาตรฐานสากล
จากจุดเริ่มต้นนี้เองทำให้อีก 10 ปีต่อมา สายสัมพันธ์เชิงพันธมิตรธุรกิจได้ก่อรูปร่วมกันก่อตั้ง
"สำนักงานตรวจสอบบัญชี ซีซิป กอเรส เวลาโย ณ ถลาง" ขึ้นในปี 2510
โดยมียุกต์เป็นกรรมการผู้อำนวยการ (MANAGING PARTER) พร้อมกับทีมงานแรกเริ่ม
10 คน
การตัดสินใจเลือกพันธมิตรธุรกิจที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันอย่างเอสจีวีเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่กิจการของสำนักงานยุกต์
ณ ถลางอย่างมาก
ทั้งนี้เพราะ "เอสจีวีกรุ๊ป" เป็นสำนักงานตรวจสอบบัญชีที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์
ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาจากความมานะบากบั่นของ "วอชิงตัน ซีซิป" หรือชื่อจีนว่า
"ซิหัวเฉิง" ซึ่งเป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีนที่ถือกำเนิดเป็นบุตรชายคนที่สามในครอบครัวเจ้าสัวนายแบงก์เชื้อสายจีนฮกเกี้ยนชื่อ
DR.ALBINO Z.SYCIP หรือ "พร.ซิหมิ่นหล่าว" ซึ่งจบปริญญาเอกนิติศาสตร์
จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ที่มาของชื่อ "วอชิงตัน" นี้ บิดาได้ตั้งขึ้นในโอกาสที่เป็นตัวแทนพ่อค้าจีนในฟิลิปปินส์ไปเจรจากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ
จนกระทั่งยินยอมให้พวกพ่อค้าจีนทำบัญชีการค้าเป็นภาษาจีน แทนที่จะต้องใช้ภาษาตากาล็อก
อังกฤษและสเปนเท่านั้น
เมื่อแรกเริ่มซีซิปเปิดสำนักงานตรวจสอบชี ในปี 2489 (ช้ากว่าสำนักงานยุกต์
ณ ถลาง ซึ่งเปิดในปี 2483) วอชิงตันทำงานคนเดียว ต่อมาเพื่อน ๆ อย่างอัลเฟรด
เอ็ม.เวลาโย่กับวิเซ็นเต้โฮเซ่จึงเข้ามาสมทบ ตั้งชื่อ สำนักงาน SYCIP VELAYO
JOSE & CO จนทำให้กิจการแข็งแกร่งและก้าวหน้าขึ้นมีนักบัญชีเพิ่มเป็น
28 คนใน 5 ปีแรก
การตัดสินใจเลือกอาชีพนักบัญชีของวอชิงตัน สืบเนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
สำนักงานบัญชีแบบก้าวหน้าล้วนแล้วแต่อยู่ในมือฝรั่งต่างชาติ ที่มีทัศนะเหยียดผิวทั้ง
ๆ ที่ทำมาหากินสร้างฐานะร่ำรวยอยู่ในฟิลิปปินส์ พวกฝรั่งจะไม่ยอมจ้างคนฟิลิปปินส์เป็นนักบัญชีของตน
ขณะนั้นกิจการสอบบัญชีและการให้บริการที่ปรึกษาธุรกิจส่วนใหญ่ผูกขาดอยู่ในสามสำนักงานยักษ์ใหญ่
คือ FLEMING & WILLIAMSON กับ HENRY HUNTER BAYNE และ WHITE PAGE &
CO ทั้งสามเป็นกิจการเก่าแก่ตั้งแต่ปี 2443 มีลูกค้าอยู่ในสังกัดมากมาย
การแจ้งเกิดของสำนักงานบัญชีของวอชิงตันกับเพื่อนจึงยากลำบากยิ่ง แต่คนหนุ่มไฟแรงเหล่านี้ก็มิได้ย่อท้อ
พยายามทำงานอย่างหนักเพื่อเอาชนะให้ได้ จนกระทั่งสองปีต่อมา ในปี 2496 ก็สามารถซื้อกิจการ
HENRY HUNTER BAYNE & CO ได้ และได้นักบัญชีฝีมือดีอีกคนมาร่วมงาน คือ
รามอน เจ. กอร์เรส
นับตั้งแต่นั้นมา ชื่อเสียงของสำนักงานบัญชีเอสจีวี ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
จนกระทั่งในปี 2511 กิจการคู่แข่ง FLEMING & WILLIAMSON ก็ต้องขายกิจการให้เอสจีวีเช่นกัน
ถึงตอนนี้เอสจีวีกลายเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการวิชาชีพนักบัญชีของฟิลิปปินส์ไปเสียแล้ว
โดยมีสำนักงานใหญ่สูงสี่ขั้นที่กรุงมะนิลา และแผ่ขยายสาขาข้ามมหาสมุทรไปยังไต้หวันโดยร่วมกับบริษัท
T.N.SOONG & CO ในปี 2507 ต่อมาบุกสหรัฐอเมริการ่วมกับหนึ่งในแปดยักษ์ใหญ่ระดับโลก
(BIG-EIGHT) คือ ARTHUR ANDERSON & CO
กองทัพนักบัญชีภายใต้การวางแผนของ วอชิงตัน ซีซิป ได้ขยายกิจการ "เอสจีวีกรุ๊ป"
ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียโดยเริ่มที่ไทยเป็นแห่งแรกในนามบริษัทเอสจีวี-ณ ถลาง
ในปี 2510 ตามด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฮ่องกงและซาอุดิอาระเบีย
จากสถิติในปี 2528 เอสจีวีมีเครือข่ายกระจายถึง 67 ประเทศทั่วโลกและมีนักบัญชีในสังกัดไม่ต่ำกว่า
5,000 คน
วอชิงตัน ซีซิป เคยกล่าวถึงนโยบายของเอสจีวีกรุ๊ปที่มีตัวเขาเป็นประธานไว้ว่า
เอสจีวีตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนทุกคนที่มีความสามารถให้มีโอกาสก้าวหน้าขึ้นมาดำรงตำแหน่งในระดับสูง
ในฐานะนักบัญชีมืออาชีพ ไม่ใช่อาณาจักรที่สืบทอดตำแหน่งกันแบบทายาท ที่มาจากสายเลือดเดียวกัน
การที่เอสจีวีมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกก็เพราะนโยบายนี้ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ต่อมาในปี 2516 ได้มีปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานสอบบัญชีภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค
โดยโอนกิจการ เป็นชื่อใหม่เรียกง่าย ๆ ว่า "บริษัท สำนักงาน เอสจีวี
ณ ถลาง" สำนักงานตั้งที่ตึกอื้อจือเหลียง ชั้น 8 ปัจจุบันเอสจีวี ณ
ถลาง มีสาขาในต่างจังหวัด 3 แห่งคือ เชียงใหม่ สงขลาและพัทยา และในเร็ว ๆ
นี้จะเปิดสาขาใหม่ที่นครราชสีมา
ตลอดระยะเวลา 26 ปี สำนักงานเอสจีวี ณ ถลางได้เติบใหญ่เป็นระยะ ๆ ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจไทย
ทำให้งานสอบบัญชีและที่ปรึกษาการลงทุนเฟื่องฟูมาก ยิ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ฯ พัฒนาการระดมทุน ก็ยิ่งทำให้การสอบข้อมูลทางบัญชีมีความจำเป็นต้องได้รับความเชื่อถือมากขึ้น
"หลักการรับลูกค้า เราจะถือเอาเรื่องสำคัญคือ บัญชีต้องเป็นบัญชีที่เชื่อถือได้และเราเน้นความเป็นอิสระมาก
ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย เราต้องยืนอยู่บนกฏเกณฑ์วิชาชีพ ต้องรับผิดชอบ การแสดงความเห็นต้องถูกต้องตามมาตรฐานการสอบบัญชี
ถึงแม้จะขัดแย้งกับเจ้าของกิจการก็ตาม" ธวัช ภูษิตโภยไคย กรรมการผู้อำนวยการเอสจีวี
ณ ถลางเอ่ยถึงจุดยืนที่เน้นคุณภาพมาตรฐานแบบเอสจีวี ที่มีลูกค้าใช้บริการต่อเนื่อง
จากจำนวน 338 หลักทรัพย์ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานเอสจีวี ณ ถลาง จัดได้ว่าเป็นผู้นำในกลุ่ม BIG-6 ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด
16.76% หรือคิดเป็นจำนวนลูกค้า 57 ราย เท่ากับสำนักงานพีทมาร์วิค สุธี ของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สุธี สิงห์เสน่ห์ ซึ่งมีผู้สอบบัญชีสำคัญ ๆ คือ ดร.พะยอม สิงห์เสน่ห์ ภรรยาและน้องชาย
สุพจน์ สิงเสน่ห์ กับทีมงาน
อันดับต่อมาคือ สำนักงานไชยยศ ของเติมศักดิ์ กฤษณามระที่เก่าแก่พอ ๆ กับสำนักงานยุกต์
ณ ถลาง ได้ลูกค้าจำนวน 44 รายหรือ 12.94% ของทั้งหมด
สำนักงานเอินส์ท แอนด์ ยัง ที่มีทรงเดช ประดิษฐ์สมานนท์เป็นผู้สอบบัญชีมีลูกค้า
32 รายหรือ 9.41% ของทั้งหมด
ขณะที่สำนักงาน เอ.เอ็ม.ซีมีลูกค้า 22 ราย หรือคิดเป็น 6.47% และสำนักงานไพรัช
วอเตอร์ เฮาส์ได้ลูกค้าจำนวน 18 รายหรือ 5.29%
ภายใต้การแข่งขันระหว่างสองสำนักงานสอบบัญชียักษ์ใหญ่คือ เอสจีวี ณ ถลาง
และพีท มาร์วิค สุธี ทั้งสองต่างมีจุดแข็งที่มีมาตรฐานการทำงานสูงซึ่งเป็นผลจากการเป็นสมาชิกของสำนักงานสอบบัญชียักษ์ใหญ่ของโลก
คือ เอสจีวี ณ ถลางก็ใช้มาตรฐานของอาเธอร์ แอนเอร์เซ่น และพีทมาร์วิค สุธีก็ใช้มาตรฐานของ
KPMG ก่อให้เกิดความเชื่อถือระดับสูง จึงมักได้ลูกค้าชั้นดี โดยเฉพาะลูกค้าต่างประเทศซึ่งมักจะใช้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามที่สำนักงานใหญ่คัดเลือกไว้เพื่อให้บริการแบบ
WORLDWIDE
จุดแข็งอีกประการหนึ่งของอาเธอร์ แอนเดอร์เซ่น คือ เป็นที่ปรึกษาด้านบริหารธุรกิจ
(CONSULTING) ที่เน้น ความชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งบริษัท แอนเดอร์เซ่น
คอนซัลติ้งในเครือเอสจีวีได้ให้บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศออกแบบและติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์
เช่น โปรแกรมระบบงานสำเร็จรูปด้านการผลิต จัดจำหน่ายและการเงิน หรือโปรแกรมสำเร็จรูปพัฒนาระบบข้อมูล
(ASE TOOLS) ลูกค้าสำคัญ ๆ ในไทยที่ใช้บริการของเอสจีวีอยู่ก็คือบริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ส
และบริษัทเทเลคอมเอเชีย
ล่าสุด จากจุดแข็งนี้เองที่ทำให้ในงานแข่งขันประมูลโครงการแปรรูป (PRIVATIZATION)
องค์การโทรศัพท์ ฯ เป็นบริษัทมหาชนเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ ฯ เอสจีวี จึงผ่านเข้ารอบคัดเลือก
1 ใน 5 ราย
"ตอนนี้เราอยู่ในบัญชีขององค์การโทรศัพท์ ฯ มีคนเสนอตัวเข้าไปแข่งกับเราถึง
30 ราย แต่เราติดหนึ่งในห้า ซึ่งทางองค์การ ฯ คงต้องพิจารณารายละเอียดด้านค่าใช้จ่ายของแต่ละรายอีกครั้งก่อนตัดสินใจ"
กรรมการผู้อำนวยการ เอสจีวี ณ ถลาง เล่าให้ฟัง
ขณะเดียวกัน คู่แข่งที่มาแรงอย่างสำนักงานพีทมาร์วีค สุธี ที่ให้บริการสอบบัญชีและที่ปรึกษาด้านภาษีอากร
ก็มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 25 บริษัท ในปี 2533 เป็น 57 รายในปัจจุบันและมีชื่อเสียงด้านความชำนาญด้านสอบบัญชีสถาบันการเงิน
เป็นที่รับรองมาตรฐานสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอย่างสุธี
สิงห์เสน่ห์เป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจของลูกค้า
แต่จุดอ่อนของพีท มาร์วีค สุธี อยู่ที่งานคอนซัลแตนท์ด้านการลงทุนเพราะสำนักงานเพิ่งเริ่มฝ่ายงานนี้ได้
2-3 ปี และอยู่ระหว่างการพัฒนาบุคลากรขณะที่เอสจีวี ณ ถลาง จะมีทีมงานที่แข็งแกร่งด้านนี้มาก
และสามารถใช้เครือข่ายของข้อมูลทั่วโลกที่อาเธอร์แอนเดอร์เซ่นมีสาขาอยู่คอยบริการลูกค้า
อย่างไรก็ตาม ปีที่แล้วรายได้รวมของเอสจีวี ณ ถลาง ในงานสอบบัญชีที่มีลูกค้าชั้นนำไม่ต่ำกว่า1,300
ราย (รวมบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้ว) มีมูลค่า 154.3 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ
7.5 ล้านบาท
อัตราค่าบริการที่คิดเป็นชั่วโมงตามขนาดของงานถ้าไม่นับผู้สอบบัญชีระดับฝีมือต้นๆ
แล้วสำหรับนักสอบบัญชีฝีมือเยียมประสบการณ์สูงเชี่ยวชาญในประเภทธุรกิจนั้น
ๆ จะมีอัตราค่าบริการชั่วโมงละ 5,000 บาท ซึ่งต่ำเมื่อเทียบกับอัตราค่าบริการที่สำนักงานที่ปรึกษาด้านกฎหมายมืออาชีพจัดเก็บจากลูกค้าถึงชั่วโมงละ
15,000 บาท
การเติบโตของพนักงานของเอสจีวี ณ ถลาง เพิ่มขึ้นจาก 150 คนในปี 2521 เป็น
300 คนในปี 2528 และ 570 คนในปัจจุบัน โดยมี TURNOVER ระดับประสบการณ์ 1-2
ปีจำนวน 10% เนื่องจากต้องการฝึกอบรมให้ครบ 2,000 ชั่วโมง เพื่อสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ที่ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาวิชาชีพนี้อย่างก้าวหน้าครบถ้วนตามมาตรฐาน
ในปี 2528 เอสจีวี ณ ถลางได้กลายเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเธอร์ แอนเดอร์เซ่น
สำนักงานสอบบัญชียักษ์ใหญ่ที่มีมาตรฐานระดับโลก เนื่องจากธุรกิจทั่วโลกได้กลายเป็นธุรกิจที่ไร้พรมแดน
กลยุทธ์การรวมตัวกันของสำนักงานจะเอื้อให้ดำรงอยู่อย่างก้าวหน้าและมั่นคง
"เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว สำนักงานของเราขยายออกไปเป็นระดับอินเตอร์เนชั่นแนลมากขึ้น
ทำให้มีเครือข่ายบริการรองรับได้ทั่วโลก เพราะเราเป็นสมาชิกในกลุ่มสำนักงานอาเธอร์
แอนเดอร์เซ่น ทำให้เราได้รับการสนับสนุนด้านมาตรฐาน และการควบคุมคุณภาพ และเทคโนโลยีใหม่
ๆ ทำให้เราสามารถรับงานระบบใหญ่ ๆ ให้กับบริษัทเทเลคอมเอเซียได้" นี่คือ
BUSINESS LINKAGE ที่ธวัชเล่าให้ฟังถึงจุดเอื้อประโยชน์ให้กับการดำเนินงานของเอสจีวี
ณ ถลาง
การขยายตัวตั้งเป็นบริษัทในเครืออีกไม่ต่ำกว่า 4 แห่ง ที่ให้บริการครบวงจรตามาตรฐานระดับโลกแบบอาเธอร์
แอนเดอร์เซ่น ได้แก่ บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร เอสจีวี เอ็น บริษัทจัดหางาน
เอ็กเซ็ค คิวทีฟ รีครู้ทเม้นท์ เซอร์วิสและบริาทจัดหางาน ฮิวแมน รีซอร์สเซส
คอนซัลแตนท์ และบริาทแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง
เดิมบริษัททั้งสี่เป็นกิจการเก่ตั้งแต่ปี 2521 ต่อมาเมื่อการลงทุนจากต่างประเทศขยายตัวมากในภาวะเศรษฐกิจบูมตั้งแต่ปี
2530 ผู้บริหารเอสจีวีได้มีการนำมาปัดฝุ่นใหม่ เช่นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร
เอสจีวีเอ็น ตั้งในปี 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 3 แสนบาท เป็นการร่วมลงทุนระหว่าง
มานะ พิทยาภรณ์ ทนายความชื่อดังที่เข้ามาร่วมงานกับเอสจีวี ณ ถลาง แต่ต่อมามานะลาออกไปตั้งสำนักงานของตัวเอง
ดังนั้นในปี 2531 ได้มีการเพิ่มทุนเป็น 1 ล้านบาท และล่าสุดเพิ่มเป็น 10
ล้านบาท
ภายใต้โครงสร้างผู้บริการตั้งแต่ปี 2521 ที่ยุกต์ ณ ถลางมีวัตถุประสงค์ให้แย่งอำนาจความรับผิดชอบเต็มที่ขณะที่กิจการมีคนเพียง
150 คน ยุกต์ได้แต่งตั้งมาริษ สมารัมภ์ ลูกเขยเป็นกรรมการผู้อำนวยการ และก่อนที่ยุกต์จะเสียชีวิตในอีกสองปีต่อมา
มาริษก็เลื่อนขึ้นเป็นรองประธานกรรมการโดยที่ยุกต์มองเห็นว่าธุรกิจการให้บริการต้องให้มีความคล่องตัวและถูกต้อง
ปัจจุบันมาริษ สมารัมภ์ เป็นประธานกรรมการ ธวัช ภูษิตโภยไคย เป็นกรรมการผู้อำนวยการ
ทั้งมาริษและธวัช ต่างก็เป็นลูกหม้อเก่าของสำนักงาน แต่มาริษซึ่งมีอายุแก่กว่าธวัช
2 ปี เดิมชื่อ "มาเรียนนิโต ซี.ซามาเนียโต้" (MARIANITO CHICO
SAMANIEGO) ได้แต่งงานกับเอมวลี ชื่อเล่นว่า "อ้อย" บุตรีคนโตของยุกต์
ณ ถลาง ปัจจุบันเอมวลีเป็นผู้จัดการดูแล "บริษัทธนายุกต์" กิจการมรดกที่ยุกต์ได้ทิ้งไว้ลูกหลานได้เก็บดอกผลจากค่าเช่าเลี้ยงตัว
เพราะธนายุกต์เป็นเจ้าของที่ดินบริเวณใกล้บ้านมนังคศิลาและ "อาคารถลาง"
ที่ "เอส จีวี ณ ถลาง" เช่าอยู่ ธนายุกต์ปี 2534 มีรายได้ปีละ
10 กว่าล้านบาท ขณะที่ทุนจดทะเบียนแค่ 5 แสนบาท ผู้ถือหุ้นได้แก่ลูกหลานของยุกต์คือ
เอมวลี มิลินดา ลดาริน แดนไตร ชนินทิรา อมาวสีและจิรพล แฮมิลตัน
นอกจากนี้ยังมีความแข็งแกร่งของทีมงาน "กรรมการบริหาร" ซึ่งประกอบด้วยนักบัญชี
ทนายความและนักธุรกิจมืออาชีพจำนวน 17 คน (ตามระเบียบบริษัทกำหนดไว้ให้มีกรรมการอย่างต่ำ
10 คน แต่ไม่เกิน 21 คน) ทำหน้าที่บริหารงานบริการที่ปรึกษาตามฝ่ายต่าง ๆ
ได้แก่ เกียรติศักดิ์ โอสถศิลป์ นิกร์กานต์ สุจริตเวสส์ พี.แอล.ทาเบต้า จูเนียร์
ชนินทร์ วีรารักษจิต ธีรพงษ์ แก้วรัตนปัทมา สลง่า ศรีอาริยะเมตตา บุญชัย
ทวีกิตติกลุม สมคิด เตียตระกูล เจ.เอส.บัลเยสเตอร์รอส ประสิทธิ์ มุสิกพันธุ์
ธนพงศ์ ปรัชญารัตนวุฒิ วิคเตอร์ พี.คาวัลส์ กาญจนา นิมมานเหมินท์ ไพฑูรย์
ทวีผล สุดจิตร์ บุญประกอบ พิศิษฐ์ ชีวะเรืองโรจน์ มานิต ศิรินิมิตรผล และทัศนีย์
สกลนุรักษ์
"ลักษณะของกรรมการหรือ PARTNER นี้จะเหมือนเจ้าของกิจการ เราก็ใช้ระบบของคณบดี
ที่ต่อไปก็ต้องเปลี่ยนไปตามวาระ" ธวัชเปรียบเทียบให้ฟัง
การแบ่งฝ่ายงานของเอสจีวี ณ ถลาง จะแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายหลัก ๆ คือ
หนึ่ง-ฝ่ายบริการสอบบัญชีและที่ปรึกษาธุรกิจหรือเรียกสั้นว่าABA (AUDIT
& BUSINESS ADVISORY) ซึ่งมีธวัช ภูษิตโภยไคยและธีรพงษ์ แก้วรัตนปัทมาเป็นผู้บริหารอยู่
บริการด้านสอบบัญชี ที่เอสจีวี ณ ถลางให้บริการประกอบด้วย การตรวจสอบงบการเงินประจำปีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
การตรวจสอบงลการเงินเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายกิจการร่วมลงทุน
หรือขอสินเชื่อการสอบทานงบการเงินและประมาณการงบการเงิน และการตรวจสอบภายใจตรวจสอบการปฏิบัติงาน
ตรวจสอบการบริหารหรือสอบทานระบบการควบคุมภายในเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
สำนักงานสอบบัญชียักษ์ใหญ่ เอสจีวี ณ ถลางมีลูกค้าชั้นดีไม่ต่ำกว่า 1,300
ราย 60-70% เป็นกิจการที่ติดอันดับพันล้านใน 500 อันดับแรกของไทย
สอง-ฝ่ายกฎหมายและภาษีอากรทำหน้าที่ให้บริการจดทะเบียน ทำสัญญาและโครงการร่วมลงทุน
ฝ่ายนี้จะมีบริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร เอสจีวีเอ็นโดยมีผู้บริหารสองคนคือนิกร์กานต์
สุจริตเวสส์ เดิมชื่อ "นิคานอร์ อิริคต้า ฟลอเรส" เป็นชาวฟิลิปปินส์ดูแลอยู่คู่กับทนายความสาวมืออาชีพ
กาญจนา นิมมานเหมินท์ ธิดาของวิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์
สาม-ฝ่ายบริหารและการเงิน (PM&S)ซึ่งเป็น BACKOFFICE คอยสนับสนุนทีมงาน
โดยมีปิลันยา ปัตตะพงศ์เป็นผู้จัดการจัดเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าและสนับสนุนด้านธุรการ
เมื่อเปรียบเทียบรายได้ระหว่างฝ่าย AUDIT กับ NON-AUDIT จะพบว่า "สำนักงานเอสจีวี
ณ ถลาง" ยังคงเป็นกิจการที่ทำรายได้หลักให้กับกลุ่มมากที่สุดคือปี 2534
รายได้รวม 154.3 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 7.5 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2533 ซึ่งทำรายได้เพียง
104.4 ล้านบาท และกำไรเพียง 4.3 ล้านบาท ซึ่งอัตราเติบโตสูงถึง 47.7%
ในปี 2533 ได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนของเอสจีวี ณ ถลาง 3.8 แสนบาทเป็น
4 ล้านบาทโดยที่กรรมการของเอสจีวี ณ ถลางเสนอให้จัดสรรกำไรของปี 2533 เพื่อจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเป็นเงินหุ้นละ
1,850 บาท ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นใหญ่ 39,990 หุ้น คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ เวอร์ทีไฟด์
โฮลดิ้ง โดยมาริษ สมารัมภ์เป็นผู้รับผลประโยชน์ไป
ขณะเดียวกันผลประกอบการที่พิจารณาจากรายได้จาก NON AUDIT อันได้แก่ "บริษัทที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร
เอสจีวีเอ็น" มีรายได้รวมในปี 2534 จำนวน 46.5 ล้านบาท และกำไรเพียง
2 ล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับ AUDIT จะน้อยกว่าโดยรายได้ปี
2533 รวม 46.5 ล้านบาทและกำไรเพียง 1.3 ล้านบาท
รวมทั้งบริษัทจัดหางาน เอ็กเซ็คคิวทีฟ รีครู้ทเมนท์ เซอร์วิสซึ่งตั้งในปี
2539 มีเฮซัน เอส.บัลเล็สเตร็อสเป็นผู้บริหาร ทำหน้าที่สรรหาคัดเลือกบุคลากรป้อนให้ลูกค้ากิจการมีรายได้ปี
2534 เพียง 6.2 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่รายได้รวมปี 2535 สูงขึ้น 9 ล้านบาทแลกำไร
5 แสนกว่าบาท
"ผมคิดว่าเวลานี้งานในฝ่ายบริการสอบบัญชียังคงนำอยู่ แต่ต่อไปแนวโน้มมันจะก้ำกึ่งกัน
แต่ในระดับโลก NON-AUDIT จะสูงกว่าด้วยซ้ำ เพราะมันรวมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์
ที่ปรึกษาระบบงานธุรกิจ เรื่องภาษีอากรและกฎหมาย" กรรมการผู้อำนวยการ
อเสจีวี ๖ ถลางคาดการณ์ทิศทางรายได้ในอนาคตของกลุ่ม
อย่างไรก็ดี รายได้ของเอสจีวีผูกสัมพันธ์กับกลุ่มทิศทางเศรษฐกิจ ความสำคัญของ
CAPITAL MARKET ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในการเงินระหว่างประเทศ เช่น BIBF ได้กระตุ้นให้ผู้บริหารเอสจีวีต้องตื่นตัวที่จะกำหนดกลยุทธ์ความชำนาญทางด้านธุรกิจ
(INDUSTRY) และความชำนาญทางด้านบริการ (SERVICES)ให้สอดคล้องกับระบบการเปิดเสรีของไทย
เมื่อเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เปิดประตูขยายฐานทางธุรกิจ ธวัช ภูษิตโภยไคยได้ก้าวเข้าไปมีบทบาทในฐานะประธานสมาพันธ์นักบัญชีแห่งอาเซียน
6 ประเทศซึ่งจะนัดประชุมที่ศูนย์สิริกิต์กรุงเทพในเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีหัวข้อสัมมนา
"นักบัญชี ควรจะมีบทบาทอย่างไรต่อเขตการค้าเสรีในอาเซียน?"
กรณีของลูกค้าเก่าแก่ดั้งเดิมอย่างบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ก้าว รุกสู่ตลาดอาฟต้า
โดยเข้าไปลงทุนจำนวน 230 ล้านบาท ซื้อหุ้น 37% ของบริษัทเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์
"มาริวาซาแมนูแฟคเจอริ่ง อิงค์"(MIMI) ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์มะนิลา
เบื้องหลังการป้อนข้อมูลเพื่อการลงทุนใหญ่ครั้งนี้ ได้มาจากสำนักงานใหญ่เอสจีวีกรุ๊ปที่ฟิลิปปินส
์ เป็นที่ปรึกษษสำคัญในโครงการนี้ด้วยนี่คือจุดแข็งของเอสจีวีกรุ๊ปที่อาเธอร์
แอนเดอร์เซ่นไม่มี แต่เอสจีวีมีเครือข่ายการให้บริการสอบบัญชีและที่ปรึกษาการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งภูมิภาคอาเซียนทุกประเทศ
รวมทั้งประเทศพม่า
ขณะเดียวกันการมองลู่ทางลงทุนในอินโดจีนในทศวรรษหน้าก็เป็นหนึ่งในเผนการขยายเส้นทางธุรกิจของเอสจีวีกรุ๊ป
ซึ่งมุ่งสู่ประเทศเวียดนาม อันมีศักยภาพโดยที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุด
"ในระยะยายสำนักงานเอสจีวีคงจะตั้งที่เวียดนามแน่นอน แต่ตอนนี้ยังไม่คุ้ม
เราเพียงแต่ส่งคนไปตรวจสอบให้กับลูกค้า ซึ่งเกี่ยวเรื่องค่าเดินทางแต่เราก็ต้องยอมขาดทุนเพราะถ้าเราไม่เข้าไปที่อื่น
ๆ เช่น สิงคโปร์เขาก็อยากเข้าไป เราต้องแข่งขันกับสิงคโปร์และมาเลเซียที่พยายามอยู่เหนือเรา"
ธวัชเล่าให้ฟังถึงแผนการอนาคต
นอกจากนี้ การปักธงเปิดสำนักงานอาเธอร์ แอนเดอร์เซ่นที่ประเทศจีน ได้ดำเนินการไปตั้งนานแล้ว
โดยคนที่ไปอยู่เมืองจีนส่วนใหญ่มาจากไต้หวันและสิงคโปร์ ทางสำนักงานเอสจีวี
ณ ถลางได้ส่งนักบัญชีที่พูดภาษาจีนไปทำงานที่นั่นด้วย เพื่อศึกษาลู่ทางขยายตัวทางธุรกิจที่สำคัญ
ๆ ในอนาคต
"เราคิดว่าจีนเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสดีที่เราจะทำธุรกิจได้เพราะคนไปลงทุนที่นั้นมาก
ถ้าเราไม่ทำก็เสียโอกาสไป" กรรมการผู้อำนวยการเอสจีวี ณ ถลางกล่าว
ยุทธศาสตร์การเติบโตข้ามโลกขององค์กรอย่างสำนักงานตรวนสอบบัญชี เอสจีวี
ณ ถลาง ยังคงต้องเหน็ดเหนื่อยไปอีกนานในภาวะเศรษฐกิจสังคมและการเมืองโลกในยามสงครามเย็นนี้
!!