Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 ตุลาคม 2548
หมดยุคเก็งกำไรหุ้นจอง เซียนเมินผลตอบแทนต่ำ             
 


   
search resources

Stock Exchange




สำรวจภาวะซื้อขายหุ้นจองในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบกระจุกตัวอยู่กับนักลงทุนรายใหญ่ไม่กี่กลุ่ม ปี 2546 ถือเป็นปีทองราคาพุ่งแรง เผย "เสี่ยปู่-ไพฑูรย์-เสี่ยแตงโม" กำไรล้น ขณะที่ในปี 2547 เริ่มแผ่ว จนกระทั่งถึงปีนี้ส่อแววหมดยุคบูมเพราะบรรยากาศซบเซา ผลตอบแทนต่ำ ทำให้ขาใหญ่เมินหนี

"ผู้จัดการรายวัน" รวบรวมหุ้นใหม่ ที่เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) นับตั้งแต่ปี 2546-2548 พบว่ามีหุ้นใหม่เข้ามาจดทะเบียนทั้งสิ้น 76 บริษัท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 122,095.44 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2546 เป็น ปีที่หุ้นจองได้รับความสนใจอย่างมากและราคาหุ้นในวันแรกที่เข้ามาซื้อขายปรับตัวสูงกว่าราคาจองอย่างมากซึ่งในปีดังกล่าวมีหุ้นใหม่เข้ามาจดทะเบียน จำนวน 21 บริษัท พบว่ามีหุ้นที่ราคาต่ำกว่าจองในวันแรกเพียง 2 บริษัทเท่านั้น

ส่วนบริษัทที่ราคาปรับตัวสูงมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ บล. กิมเอ็ง(ประเทศไทย) (KEST) ซึ่งราคาจองที่หุ้นละ 14.30 บาท ราคาปิดวันแรกอยู่ที่ 36 บาท สูงกว่าจอง 151.75% รองลงมาได้แก่ บมจ.ทีเคเอส เทคโนโลยี(TKS) ราคาจอง 3.80 บาท ราคาปิด วันแรก 8.25 บาทสูงกว่าจอง 117.11%, บมจ. อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ (EIC) ราคาจอง 10 บาท ราคาปิดวันแรก 19.50 บาท สูงกว่าจอง 95%, หุ้น บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) ราคาจอง 15 บาทราคาปิดวันแรก 27 บาทสูงกว่าจอง 80% และ บมจ.สามารถไอโมบาย (SIM)ราคาจอง 11 บาทราคา ปิดวันแรก 19.80 บาทสูงกว่าจอง 80% เช่นกัน

นอกจากนี้ก็มี บมจ.เอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC) ราคาจอง 4.75 บาทราคาปิดวันแรก 8 บาทสูงกว่าจอง 68.42% และ บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) ราคาจอง 27 บาทราคาปิดวันแรก 45 บาทสูงกว่าราคาจอง 66.67%

ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) พบว่าหุ้นหลายบริษัทที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นจะมีนักลงทุนรายใหญ่ได้รับการจัดสรรหุ้นเช่นเดียวกัน เช่น บมจ. ระยองเพียวริฟายเออร์ ซึ่งมีนายสมพงษ์ ชลคดี- ดำรงกุลหรือเสี่ยปู่ ได้รับการจัดสรรจำนวน 215,000 หุ้นหรือ 1.36% เป็นอันดับที่ 1

บมจ.เอ็มเอฟอีซี ก็จัดสรรหุ้นให้แก่นายสมพงษ์เช่นเดียวกัน โดยได้จัดสรรหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้นหรือ 11.25% เป็นอันดับที่ 1 ส่วนหุ้นบริษัทสามารถไอโมบายก็จัดสรรให้แก่นายอธิไกร จาติก-วณิช ได้รับการจัดสรรจำนวน 1.4 ล้านหุ้นหรือ 1.27% เป็นอันดับที่ 1,นายบุญคลี ปลั่งศิริ ผู้บริหารบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นได้ รับการจัดสรรจำนวน 5 แสนหุ้นหรือ 0.45% เป็นอันดับที่ 4

ส่วนหุ้น บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย)นั้นปรากฏว่าได้จัดสรรให้แก่นักลงทุนรายใหญ่หลายรายประกอบด้วยนายไพฑูรย์ เตชดนัย ได้รับการจัดสรรจำนวน 1.5 ล้านหุ้นหรือ 1.58% เป็นอันดับ 1 รองลงมาได้แก่นายสมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์ นักลงทุนรายใหญ่จากหาดใหญ่ ได้รับการจัดสรรจำนวน 7.7 แสนหุ้นหือ 0.81% เป็นอันดับ 4 และนายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล ได้รับการจัดสรร 7.5 แสนหุ้นหรือ 0.79% เป็นอันดับ 5 ในส่วนของ บมจ. ทีเคเอส เทคโนโลยี ได้จัดสรรให้แก่นายสมพงษ์เช่นเดียวกัน จำนวน 2.5 แสนหุ้นหรือ 0.56% เป็นอันดับ 12

สำหรับหุ้นใหม่ในปี 2547 พบว่ามีจำนวนบริษัท เข้ามาจดทะเบียนจำนวน 36 บริษัทแต่ควมร้อนแรงของราคาหุ้นได้ลดลงโดยมีหุ้นใหม่ที่ราคาปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าจองมากขึ้นถึง 13 บริษัทประกอบด้วย บมจ. เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง (NCH), บมจ.เอส. แพ็ค แอนด์ พริ้นท์ (SPACK), บมจ. นวนคร (NNCL), บมจ.ดีอี แคปปิตอล (DE), บมจ. ดี คอนโปรดักส์ (DCON), บมจ.ดีคอนโปรดักส์ (GL), บมจ.เอสเอ็นซี ฟอร์เมอร์ (SNC), บล.ไซรัส (SYRUS) บมจ.แมงป่อง (PONG), บมจ.แปซิฟิกไพพ์ (PAP), บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (KH), บมจ.ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส (TNX) และบมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) (PTL)

ส่วนหุ้นใหม่ที่ราคาปรับตัวขึ้นมาสูงสุดของปี 2547 ก็ยังอยู่ในระดับที่น้อยกว่าปีก่อน ซึ่งจำนวน 5 อันดับแรกได้แก่ บมจ.ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ (Q-CON ) ราคาจอง 8 บาทราคาปิดวันแรก 15.90 บาทสูงกว่าราคาจอง 98.75% รองลงมาได้แก่ บมจ. สามชัย สตีลอินดัสทรี (SAM) ราคาจอง 10 บาทราคาปิด 19.50 บาทสูงกว่าราคาจอง 95%, บมจ. โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) (PRO)ราคาจอง 2 บาทราคาปิดวันแรก 3.70 บาทหรือ 85%, บมจ.สหโคเจน(ชลบุรี)(SCG) ราคาจอง 3.20 บาทราคาปิดวันแรก 5.55 บาทสูงกว่าจอง 73.44% และ บมจ.ไมด้า ลิสซิ่ง (ML)ราคาจอง 3 บาทราคาปิดวันแรก 4.26 บาทหรือ 42%
โดยนักลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นจองประกอบด้วย บมจ.ดีคอน โปรดักส์ ซึ่งมีนายสมพงษ์ ได้รับการจัดสรรจำนวน 5.13 แสนหุ้นหรือ 1.28% เป็นอันดับ 2, นายไพฑูรย์ เตชดนัย ได้รับการ จัดสรร 5 แสนหุ้นหรือ 1.25% อันดับ 3 และนายสมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์ได้รับการจัดสรร 1 แสนหุ้น หรือ 0.25% เป็นอันดับ 19, บมจ.เอเชี่ยนอินซูเลเตอร์ (AI) มีนายยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม ได้รับการจัดสรร จำนวน 5.61 แสนหุ้นหรือ 2.81% เป็นอันดับ 2 บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (SIS)นั้นได้จัดสรรให้แก่นายสมพงษ์ จำนวน 2.08 ล้านหุ้นหรือ 4.85%, นายไพฑูรย์ เตชดนัย ได้รับการจัดสรรจำนวน 2.33%

สำหรับหุ้นใหม่ที่เข้ามาจดทะเบียนในปีนี้จนถึง เดือนกันยายนปรากฏว่ามีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนจำนวน 19 บริษัทแต่ภาวะการซื้อขายหุ้นใหม่กระเตื้องขึ้นกว่าปีก่อนโดยราคาหุ้นที่ต่ำกว่าจองน้อย ลงกว่าปีก่อนโดยมีหุ้นต่ำกว่าจอง 6 บริษัทประกอบด้วย บมจ.ยานภัณฑ์ (YNP), บมจ.ซุปเปอร์บล็อก (SUPER), บมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW),บล.ภัทร (PHATRA), บมจ.เอ็มซีเอส สตีล (MCS), บมจ.อินโดรามา โพลีเมอร์ส (IRP)

ส่วนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ บมจ.สหมิตรเครื่องกล (SMIT)ราคาจอง 2.75 บาทราคาปิดวันแรก 5.25 บาทเพิ่มขึ้น 90.91% รองลงมาได้แก่บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ (PERM)ราคาจอง 3.50 บาทราคาปิดวันแรก 5.40 บาทเพิ่มขึ้น 54.29%, บมจ.โซลาร์ตรอน(SOLAR) ราคาจอง 8 บาทราคาปิดวันแรก 11.60 บาทเพิ่มขึ้น 45%, บมจ. ไทยสตีลเคเบิล (TSC)ราคาจอง 9.20 บาทราคาปิดวันแรก 13.30 บาทเพิ่มขึ้น 44.57% และบมจ.สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT)ราคาจอง 12.90 บาทราคาปิดวันแรก 16.60 บาทเพิ่มขึ้น 28.68%

อย่างไรก็ตามในปี 2548 นักลงทุนรายใหญ่ได้รับการจัดสรรหุ้นจองน้อยลงซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่นักลงทุนชะลอการซื้อขายจึงทำให้มีมูลค่าการซื้อขายไม่มากนักโบรกเกอร์จึงไม่ได้จัดสรรหุ้นจองให้มากหรือนักลงทุนรายใหญ่บางรายจะเริ่มไม่ลงทุนในหุ้นจองเพราะมองว่าในช่วงที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร

นายกัมปนาท โลหเจริญวานิช กรรมการ ผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัดเปิดเผยว่าเกณฑ์การจัดสรรหุ้นจองนั้นได้มีการเปิดเผยต่อสำนักงาน ก.ล.ต.อยู่แล้วโดยจะจัดสรรออกมาเป็น 3 ส่วนคือในส่วนแรกก็จะจัดสรรให้แก่ลูกค้าที่มีมูลค่าการซื้อขายมากกับบริษัทส่วนที่สองก็จะนำไปเป็นส่วนโปรโมชันเช่น การเปิดสาขาบริการค้าหลักทรัพย์แห่งใหม่ก็จะให้แก่ลูกค้าที่เปิดพอร์ตซื้อขายและส่วนสุดท้ายได้แก่หุ้นที่จะจัดสรรให้แก่ผู้มีอุปการคุณเป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us