|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ริชมอนเด้” ชงเรื่องค่ายน้ำเมาจัดระเบียบตัวเอง ก่อนถูกภาค รัฐลงดาบห้ามโฆษณา 24 ชั่วโมง วอนผู้ประกอบการยุติใช้ช่องว่างทำโฆษณาแฝงก่อนอุตสาหกรรมพัง หวั่นช่วงไฮซีซัน โฆษณาแข่งเดือด เตรียมดึง 5 บริษัทใน สมาคมรีแอกต์แนวร่วมการตลาดรับผิดชอบสังคม ผุดโมเดลริชมอนเด้การตลาด สังคมต้นแบบ โชว์ข้อมูลแจงภาครัฐ โมเดลจากต่างประเทศห้ามโฆษณาไม่มีผลช่วยลดปริมาณการดื่มหรือทำคอทองแดงดื่มเพิ่มขึ้น
นางวิมลวรรณ อุดมพร รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ฯลฯ เปิดเผยถึงกรณีที่มีหน่วยงานอิสระออกมาเรียกร้องให้มีการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงว่า มาตรการดังกล่าวเคยใช้มาแล้วในหลายประเทศ ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ อเมริกา สวีเดน เดนมาร์ก ฯลฯ ปรากฏว่าไม่มีผลต่อการลดการดื่มแอลกอฮอล์มากนักอีกทั้งยังไม่มีผลให้ปริมาณการดื่มเพิ่มขึ้นจากข้อมูลจาก WHO จึงทำให้บางประเทศได้ยกเลิกและอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถทำการโฆษณาทางโทรทัศน์ได้ เช่น สหรัฐอเมริกและนิวซีแลนด์ เป็นต้น
สำหรับมาตรการห้ามการโฆษณาที่ทางหน่วยงานอิสระออกมาเรียกร้องอยู่ขณะนี้ อยากให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกำกับดูแลศึกษาข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก่อนว่า โฆษณาส่งผลต่อปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ขณะเดียวกันภาคเอกชน รวมทั้งสถานบันเทิง ผับ บาร์ หรือกระทั่งร้านค้าปลีก และผู้ซื้อเองจะต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยว กับสังคมมิใช่เป็นเรื่อง ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะทำได้ ล่าสุดบริษัท ริชมอนเด้ในฐานะเป็นผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเรื่องดังกล่าวบริษัทฯต้องการให้ผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกันเองออกมาจัดระเบียบกันเองก่อน เพราะที่ผ่านมาหลังจากที่มาตรการของภาครัฐห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์ตั้งแต่ 05.00-22.00 น. และให้โฆษณาในเชิงส่งเสริมสังคมและภาพลักษณ์องค์กรได้เท่านั้น ซึ่งตัวผู้ประกอบการเองบางแบรนด์ พยายามใช้โฆษณาแฝงเพื่อให้สามารถโฆษณาได้ในช่วงกลางวัน โดยอาศัยช่องวางของมาตรการที่ภาครัฐวางไว้ให้กลุ่มผู้ประกอบการสามารถโฆษณาในเชิงภาพลักษณ์องค์กรได้ตลอด 24 ชั่วโมงนอกจากนี้ ยังมีสินค้าบางตัวใช้โลโก้ของบริษัทซึ่งเป็นโลโกเดียวกับสินค้าในการโฆษณาแฝง
“เราต้องการหาแนวร่วมเพื่อผลักดัน แนวคิดดังกล่าว เพื่อเป็นการจัดระเบียบตัวผู้ประกอบการเอง อีกทั้งยังสะท้อนถึงภาพลักษณ์การเป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งที่ผ่านมาริชมอนเด้ได้นำโมเดลรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ในเชิงการตลาดและกิจกรรมมากว่า 3 ปี โดยใน เชิงปฏิบัติไม่มีการแอบแฝงหรือสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต่ำกว่า 18 ปีแต่อย่างใด หรือกระทั่งการเป็นผู้สนับสนุนรายการเกมโชว์ รวมทั้งการเลือกพรีเซ็นเตอร์อายุเกินกว่า 25 ปี ขณะที่โมเดลดังกล่าวก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขาย ขณะเดียวกัน ยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ในระยะยาวของริชมอนเด้”
นางวิมลวรรณ กล่าวว่า แนวคิดการจัดระเบียบผู้ประกอบการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีแนวโน้มว่าจะเริ่มจากสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมหรือรีแอกต์ ซึ่ง มี 5 บริษัทเข้าร่วม และ ก่อตั้งมาได้กว่า 1 ปี ประกอบด้วย บริษัท ริชมอนเด้, เพอร์นอต ริคาร์ด-อัลลาย โดเมค, ทิส เวิลด์ไวด์ และไทยเอเชียแปซิฟิค บริวเวอรี่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวร่วมผลักดันแนวคิดการทำตลาด-กิจกรรมการ ตลาดในเชิงสร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม ขณะเดียวกัน ก็เพื่อสร้างจุดเปลี่ยน ของผู้ประกอบการในแนวทางที่ดี
“ปีนี้เราเน้นในเรื่องการตลาดและกิจกรรมการตลาดในเชิงสังคมมากขึ้น รวม ทั้งยังได้จัดอบรมพนักงานในเรื่องดังกล่าว ซึ่งปีนี้เฉพาะงบการตลาดเพื่อสังคมวางไว้ที่ 50 ล้านบาท เพราะมองว่านอกจากมาตรการรณรงค์ต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว จะต้องมีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ผู้ดื่มเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างในช่วงเทศกาลปลายปีนี้ เรายังได้เตรียมจัดกิจกรรมร่วมกับทางกระทรวงคมนาคมรณรงค์ดื่มไม่ขับกลับบ้านปลอดภัยขึ้น”
นางวิมลวรรณ กล่าวทิ้งท้ายว่าหากมาตรการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงมีผลบังคับใช้จริง บริษัทฯ ก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม โดยอาจต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับสถานการณ์ แต่ก็ยังคงเน้นการทำตลาดอย่างรับผิดชอบ โดยจะเน้นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับปริมาณการดื่มอย่างเหมาะสม ผ่านกิจกรรมต่างๆที่เข้าถึงผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ ยังพร้อมที่จะปรับสัดส่วนของการทำโฆษณาให้เป็นเชิงรณรงค์ และให้ความรู้ต่อสังคมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และอยากเสนอให้ภาครัฐพิจารณาการอนุญาต โฆษณาได้ แต่ให้ภาคเอกชนทำการผลิตโฆษณาที่เป็นเชิงรณรงค์สร้างความรับผิดชอบในการดื่ม พูดถึงความเสี่ยงและอันตรายจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวน 1 ใน 4 เรื่องหรือคิดเป็น 25% ของ สื่อโฆษณา
|
|
|
|
|