Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 ตุลาคม 2545
"สหพัฒน์"ยอดขายซบ พิษศก.ยุคจ่ายเกินตัว             
 


   
search resources

สหพัฒนพิบูล, บมจ.
บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา




"บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา" ประธานเครือสหพัฒน์ เชื่อมั่นภาพรวมเศรษฐกิจ ของประเทศมีอนาคตสดใส แต่ยังไม่ลงลึกถึงระดับรากหญ้า ชี้คนใช้จ่ายเงินเกินตัวเพราะการ ปล่อยบัตรเครดิต การลดดอกเบี้ย ส่งผลให้คนหันมาซื้อบ้าน รถยนต์ รวมทั้งโทรศัพท์มือถือผ่านระบบเงินผ่อนกันเป็นจำนวนมาก เกรงกระทบการใช้จ่ายในอนาคตที่กำลังซื้ออาจลดลง โดยเฉพาะปีนี้สหพัฒน์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ที่ยอดขายปีนี้แค่ทรงตัว แต่ยังขยายการลงทุน ด้วยการจับมือมหาวิทยาลัยวาเซดะ เปิดสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่น หวังผลระยะยาวดึงนักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไทยมากขึ้น

นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ เปิดเผยถึงภาพรวมของการดำเนินธุรกิจของเครือสหพัฒน์ในปีนี้ว่า ไม่เติบโตดังเช่นปีก่อน โดยหลังจากที่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สหพัฒน์ก็ยังสามารถรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2544 ส่วนในปีนี้ พบว่ายอดขายไม่เติบโต เนื่องจากในช่วงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประชาชน หยุดการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าที่มีราคาแพง เช่น บ้าน รถยนต์ หรือของใช้ที่มีราคาแพง ในขณะที่ยังคงใช้จ่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวันเป็นหลัก

แต่สำหรับในปีนี้พบว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเริ่มดีขึ้น เห็นได้จากการขยายตัวของภาคธุรกิจ และการกลับมาฟื้นตัวอีก ครั้งของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวม ทั้งการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง การขยายตัวของบัตรเครดิตที่ให้สินเชื่อแก่ผู้มีรายได้น้อย การขยาย ตัวของธุรกิจเงินผ่อน ส่งผลให้ประชาชนหันมาใช้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าชิ้นใหญ่กันเป็นจำนวนมาก อาทิ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าด้วย ระบบเงินผ่อน ซึ่งหมายถึงการนำเงินในอนาคตมาใช้จ่ายล่วงหน้า ส่งผลให้กำลังซื้อในอนาคตคาดว่าจะลดลง เนื่องจากภาวะที่สร้างไว้ในปัจจุบัน

จากผลที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ยอดขายสินค้าในเครือสหพัฒน์ในปีนี้ไม่เติบโตดังเช่นปีก่อน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสถานการณ์คงไม่ถึงกับทำให้บริษัทต้องติดลบ เนื่องจาก สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ที่อย่างไรผู้บริโภคก็ยังต้องซื้อไว้ใช้อยู่นี้ สำหรับการปรับตัวเพื่อรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทางสหพัฒน์ได้เน้นการ นำเสนอสินค้าใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นนวัตกรรม ซึ่งช่วยทำให้เกิดผลตอบรับจากผู้บริโภคได้อย่างทันที เช่น การออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า รสต้มยำกุ้งน้ำข้น เป็นรายแรกในตลาด ซึ่งสร้างกระแสการตอบรับจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

"สำหรับภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ ผมเชื่อว่าก็ยังจะเติบโตมากขึ้นแม้ว่าจะยังไม่ลงลึกถึงในระดับรากหญ้าก็ตาม เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชน ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือการจัดสรรกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา แต่รัฐยังขาดการตรวจสอบติดตาม จึงทำให้เกิดปัญหารั่วไหลของเงินออกสู่นอกระบบ ซึ่งผมอยากให้รัฐบาลหันมาใส่ใจกับการบริหารเงินกองทุนหมู่บ้านอย่างรัดกุม เพื่อให้เงินที่จัดสรรเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม"

นายบุณยสิทธิ์กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการ ทำธุรกิจของสหพัฒน์ในปีหน้านั้น จะเน้นเรื่องการ เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น เนื่องจากในปีนี้เป็นปีที่การแข่งขันในวงการสินค้าอุปโภคบริโภคมีอย่างรุนแรง ทำให้บริษัทไม่เน้นเรื่องส่วนแบ่งการตลาดมากนัก เพราะต้องพยายามรักษาผลกำไรของบริษัทเอาไว้ แต่ในการทำธุรกิจ ก็ต้องพยายามรักษาสมดุลทั้งผลกำไร และส่วนแบ่งทางการตลาดให้เกิดความสมดุล จึงทำให้ในปีหน้าเครือสหพัฒน์ต้องหันมาเน้นการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้สหพัฒน์จะไม่เติบโตดังที่คาดไว้ แต่ก็นับเป็นครั้งแรกที่สหพัฒน์ได้เริ่มขยายธุรกิจใหม่อีกครั้ง หลังจากที่หยุดขยายธุรกิจมาตั้งแต่ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ด้วยการร่วมมหาวิทยาลัยวาเซดะ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น ที่มีอายุกว่า 120 ปี ด้วยการเปิดเป็นสถาบันภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ วาเซดะ เอ็ดดูเคชั่น ไทยแลนด์ ที่ดำเนินการภายใต้บริษัท วาเซดะ เอ็ดดูเคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด โดย สหพัฒน์เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ส่วนมหาวิทยาลัยวาเซดะจะสนับสนุน ด้านอาจารย์ผู้สอน และหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งจะเริ่มเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ภาษาญี่ปุ่น และญี่ปุ่นศึกษา

โดยหลักสูตรภาษาญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับชั้นต้น เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานด้านการพูด ฟัง อ่าน และเขียน, ระดับชั้นกลาง เพื่อให้มีความสามารถเข้าใจการพูด ฟัง อ่าน และเขียนได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง ส่วนระดับสูง เป็นการเตรียมความ พร้อมทางด้านภาษาญี่ปุ่น เพื่อการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่ประเทศญี่ปุ่น

ส่วนหลักสูตรของญี่ปุ่นศึกษา จะเน้นเรื่อง การเรียนวัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจการเมือง และการดำเนินชีวิตแบบชาวญี่ปุ่น เพื่อเตรียมให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะไปใช้ชีวิตในการเป็นนักศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองหลักสูตรนี้จะเปิดสอนทั้งภาคปกติ และภาคค่ำ เพียงเทอมละ 60 คนเท่านั้น เพราะต้องการเน้นคุณภาพ โดย ผู้เรียนจะเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากเทียบกับไปศึกษาที่ญี่ปุ่นแล้ว จะต้องเสียเฉพาะค่าเรียนเดือนละ 60,000 บาท และเมื่อคิดรวมตลอดทั้งหลักสูตร โดยภาคปกติ ใช้เวลาเรียก 1 ปี ส่วนภาคค่ำใช้เวลาเรียน 2 ปี จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 แสนบาท ในขณะที่หากผู้เรียนไปเรียนที่ญี่ปุ่นจะต้อง เสียค่าใช้จ่ายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าที่พักด้วย

นายบุณยสิทธิ์ กล่าวว่าในความตั้งใจจริงของตนนั้น ต้องการให้เปิดการสอนตั้งแต่ระดับมัธยม ไปจนถึงระดับปริญญาตรี และระดับเอ็มบีเอ แต่เนื่องจากครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่วาเซดะ ขยายการศึกษาออกนอกประเทศเป็นครั้งแรก จึงต้องการทดลองเพียงแค่การสอนในเรื่อง ของภาษาก่อน และคาดว่าในระยะ 2 ปีหลังจากเปิดให้บริการจะมาเจรจากันอีกครั้ง เพื่อจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยวาเซดะ ในประเทศไทย

"การที่ผมสนใจลงทุนในธุรกิจการศึกษา ภาษาญี่ปุ่นนั้น ไม่ได้คาดหวังเรื่องผลกำไร แต่มองว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวมากกว่า เนื่อง จากความร่วมมือของสหกรุ๊ปกับวาเซดะในครั้งนี้ จะช่วยให้คนญี่ปุ่นรู้จักสหกรุ๊ปมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการประชาสัมพันธ์บริษัทที่ดีทางหนึ่ง เพราะการลงทุนทางด้านการศึกษา สร้างความน่าเชื่อถือให้แก้บริษัทได้เป็นอย่างดี"

นอกจากนี้ นายบุณยสิทธิ์ ยังมองเห็นว่า แนวโน้มการขยายการลงทุนของกลุ่มธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยจะมีมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นมีความเสียเปรียบ เรื่องต้นทุนการผลิต และการขยายการลงทุนเข้าไปยังประเทศจีน ก็ไม่สามารถแข่งขันกับนักลงทุนท้องถิ่นได้ ในขณะที่ประเทศไทยน่าจะเหมาะสมและเป็นประเทศที่มีศักยภาพ

"ที่ผ่านมามีนักธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะเอสเอ็มอี สนใจจะเข้ามาลงทุนในไทยเป็นจำนวน มาก โดยมีการเจรจาผ่านทางสหพัฒน์หลายราย แต่เรายังไม่อยากให้เข้ามามากเนื่องจากเกรงว่าจะสื่อสารไม่เข้าใจเพราะคนไทยยังรู้ภาษาญี่ปุ่นน้อย แต่หากได้เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเชื่อว่าโอกาสที่นักลงทุนจะขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยจะมีสูงขึ้นอย่างแน่นอน โดยการลงทุนผ่านเครือสหพัฒน์ในขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นการเจรจากับ 2-3 บริษัท คาดว่าจะสรุปผลการลงทุนได้ในเร็วๆนี้ จากที่ผ่านมาที่สหพัฒน์ลงทุนร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นแล้วกว่า 100 บริษัท" นายบุณยสิทธิ์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us