Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 ตุลาคม 2548
MFCตั้งกองทุนคันทรีฟันด์ ดึงเงินนอกลุยเมกะโปรเจกต์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บลจ. เอ็มเอฟซี

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
พิชิต อัคราทิตย์
Funds




เอ็มเอฟซีเตรียมคลอดคันทรีฟันด์ 2 กอง ระดมทุนจากต่างประเทศลุยเมกะโปรเจกต์ ประเดิม "กองทุนไทยแลนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์" มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท ระดมเงินลงทุนจากตะวันออกกลางและยุโรป ร่วมลงทุนในโครงการยักษ์และหุ้น ไอพีโอรัฐวิสาหกิจ เผยอนาคต เตรียมออกกองทุนแมทชิ่งฟันด์ระดมเงินทั้งไทยและเทศเป็นกองต่อไป หนุนรัฐตั้ง "ซูเปอร์โฮลดิ้ง" คุมการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า สำหรับกองทุนไทยแลนด์อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ (Thailand Inflastructure Fund) มูลค่าโครงการ 1.5 หมื่น ล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติไฟลิ่ง จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปแล้วนั้น เป็นกองทุน ประเภทคันทรีฟันด์ที่ระดมทุนจากต่างประเทศ เพื่อนำเงินที่ระดมทุนมาได้ไปลงทุนในโครง- การสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) ของรัฐบาล รวมทั้งการลงทุนหุ้นไอพีโอของรัฐวิสาหกิจที่จะเข้าไปจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย

ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะเน้นการระดมทุนในประเทศแถบตะวันออกกลางเป็นหลัก รวมถึงประเทศในแถบยุโรปด้วย ซึ่งจากการเดินทางไปโรดโชว์ในประเทศแถบตะวันออกกลางในช่วงที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี ส่วนจะระดมทุนในช่วงใดนั้น คงต้องรอดูความชัดเจนของโครงการเมกะโปรเจกต์อีกครั้งทั้งในเรื่องของนโยบาย และการเริ่มต้นการลงทุน

"กองทุนไทยแลนด์อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ จะเน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน ของประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยพัฒนาประเทศอีกทาง หนึ่งด้วย นอกจากนี้ ยังลงทุนในหุ้นไอพีโอของรัฐวิสาหกิจ ที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนด้วย" นายพิชิต กล่าว

สำหรับกองทุนไทยแลนด์อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งเพื่อส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศซึ่งมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานเศรษฐกิจและต้องการลงทุนในตราสารทางการเงินใน ประเทศโดยกองทุนอาจลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์หรือลงทุนโดยตรงกับบริษัท โดยจะเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูง รวมทั้งลงทุนในตราสารทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่กองทุนและกระจายความเสี่ยงให้อยู่ในระดับเหมะสม

ส่วนนโยบายการลงทุนของกองทุนเปิดไทยแลนด์อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ จะกระจายเงินลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือเงินฝากตลอดจนหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.กำหนด โดยสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนตั้งแต่ 0% ถึง 100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุน

ทั้งนี้ การลงทุนในหลักทรัพย์ของกองทุนจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการที่มีปัจจัยพื้นฐาน ดีและมีแนวโน้มการเติบโตสูงทั้งบริษัทจดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งลงทุนในตราสารทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยกองทุนอาจซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ซื้อในช่วงเวลาการเสนอขายครั้งแรกหรือลงทุนโดยตรงกับบริษัทนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม นอกจากกองทุนไทยแลนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ที่ระดมทุนเพื่อมาลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์แล้ว บริษัทยังมีแผนจัดตั้งกองทุนแมทชิ่งฟันด์ ซึ่งเป็นการระดมเม็ดเงินจากนักลงทุนไทยผสมกับนักลงทุนต่างชาติ โดยมีนโยบายลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่ากองทุนดังกล่าวจะมีมูลค่าโครงการเท่าใด

ปัจจุบันเอ็มเอฟซีมีกองทุนคันทรี่ฟันด์ทั้งหมด 7 กอง มูลค่ารวมกันประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดย แบ่งเป็นกองทุนที่ระดมเงินจากยุโรป 2 กองทุน จาก ญี่ปุ่น 2 กองทุน จากฮ่องกง 2 กองทุน และจากอเมริกา 1 กองทุน โดยบริษัทมีแผนเพิ่มจำนวนกองทุนประเภทนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต

สำหรับความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนซูคุก (SUKUK) ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม นายพิชิต กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะเข้าไปหารือกับเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.อีกครั้ง หลังจาก ที่การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบ จากก.ล.ต. ซึ่งในการหารือครั้งนี้ คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนดังกล่าวได้หรือไม่

นายพิชิต กล่าวถึงแนวทางการจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติหรือซูเปอร์โฮลดิ้งของกระทรวงการคลังว่า เป็นแนวคิดที่ดีในการบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐบาลที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากเดิมที่ปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียว ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว จะช่วยให้รัฐวิสาหกิจเองวิ่งไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ รูปแบบของการจัดตั้งเป็นซูเปอร์โฮลดิ้ง นั้น จะแยกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละรัฐวิสาหกิจ เช่น พลังงาน คมนาคม การขนส่ง การเงิน โดยที่จะมีซูเปอร์โฮลดิ้งเป็นผู้ควบคุมอีกครั้ง ส่วนจะ เลือกมาเฉพาะรัฐวิสาหกิจเชิงพาณิชย์หรือเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ทำกำไรหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนดังกล่าว

สำหรับทรัพย์สินที่จะครอบคลุมถึงการบริหารจัดการของซูเปอร์โฮลดิ้ง จะเป็นทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดเช่น ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆด้วย ซึ่งในส่วนของ การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างนั้น ในกรอบทางกระทรวงการคลังคงจะให้ทาง กรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแล

ส่วนทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งรัฐวิสาหกิจมีอยู่ ก็จะให้ซูเปอร์โฮลดิ้ง เป็นผู้ดูแลทั้งหมด โดยรวมไปถึงหลักทรัพย์ที่รัฐวิสาหกิจถืออยู่ และหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ถือโดยรัฐวิสาหกิจด้วย ส่วนรัฐวิสาหกิจ ที่จะเข้ามาอยู่ภายใต้ซูเปอร์โฮลดิ้งนั้น ในเบื้องต้นคาดว่าน่าจะมีประมาณ 10 บริษัท จาก 60 กว่าบริษัท ทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งในการนำรัฐวิสาหกิจเข้ามาคงจะเริ่มต้นจากเล็กไปก่อน แล้วค่อยทยอยเข้ามาเพื่อให้มีขนาด ใหญ่ขึ้น โดยในการบริหารจัดการซูเปอร์โฮลดิ้ง คง จะมีการนำหลักการสมัยใหม่เข้ามาใช้ในลักษณะที่ บริษัทเอกชนใช้อยู่

นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับความมุ่งหวังของรัฐบาลที่จะได้จากการจัดตั้งซูเปอร์ โฮลดิ้งนั้น คือ การ ได้มาซึ่งผลตอบแทนในรูปของเงินมากขึ้น รวมทั้งลด ภาระด้านการคลังของรัฐบาล ในขณะที่รัฐวิสาหกิจเองก็สามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคมได้อีกทาง ซึ่ง ในการบริหารจัดการ เข้าใจว่าอนาคตจะใช้รูปแบบการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดูแลรัฐวิสาหกิจโดยการใช้พื้นฐานด้านคุณสมบัติเป็นหลัก โดยจะลดการแทรกแซงทางการเมืองลง

นอกจากนี้ ยังจะมีการแบ่งแยกงบออกเป็นสัดส่วน โดยแยกเป็นบัญชีทางธุรกิจ และบัญชีทางสังคมออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐสามารถวัดได้อย่างชัดเจน และรวมไปถึงการวัดประสิทธิภาพการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจด้วย

"การจัดตั้งซูเปอร์โฮลดิ้งมีผลดีในแง่คุณภาพ ของรัฐวิสาหกิจ และส่งผลดีต่อประชาชนผู้รับบริการ ขณะที่ภาครัฐก็ส่งผลดีในแง่การลดภาระทางการคลัง ซึ่งรัฐเองก็สามารถใช้รัฐวิสาหกิจให้เป็น ประโยชน์เชิงสังคมด้วย"นายพิชิตกล่าว

สำหรับกองทุนวายุภักษ์ที่ร่างกฎหมายครอบ คลุมไปด้วยนั้น นายพิชิตกล่าวว่า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะรวมเข้าไปในการบริการจัดการของซูเปอร์โฮลดิ้งด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทุนวายุภักษ์เองมีผู้ดูแลโดยสำนักวายุภักษ์อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากจะรวมเข้าไปด้วยนั้น คงต้องพิจารณาถึงเป้าหมายทางสังคมด้วยว่า ในแง่ นโยบายของภาครัฐจะเข้ามาดูแลอย่างไร

นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับการเข้าไปจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯของซูเปอร์ โฮลดิ้งนั้น ในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งหากก็จะได้ประโยชน์ในการระดมทุน แต่คงต้องดูความต้องการของซูเปอร์ โฮลดิ้งด้วยว่าต้องการระดมทุนเพื่อขยายการลงทุนในรัฐวิสาหกิจเพิ่มหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันก็สามารถเข้าไประดมทุน ในตลาดหลักทรัพย์ได้เองอยู่แล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us