Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 ตุลาคม 2545
คุมเข้มผู้ใช้บัตรเครดิต กำหนดดบ.ไม่เกิน18%             
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Credit Card




ธปท.ย้ำคุมเข้มคุณภาพผู้ใช้บัตร ป้องกันปัญหาหนี้เสีย รายย่อยกลายเป็นวงจรอุบาทว์ปัญหาหนี้สินเกินตัวจนนำไปสู่ปัญหาสังคม ย้ำแบงก์ต้องตรวจสอบคุณสมบัติก่อนให้คลังอนุมัติ เอาจริงมาตรการคุมเข้มบัตรเครดิตนอนแบงก์ ระบุกรอบเบื้องต้นกำหนดเพดานดอกเบี้ยไม่เกิน 18% ด้านวงการบัตรเครดิต ชี้มาตรการรัฐไม่สัมฤทธิผล เพราะ ผู้ประกอบการจะหันไปเพิ่มรายได้ ส่วนอื่นมากขึ้น ขณะที่ "อิออนธนทรัพย์" ยันไม่กระทบรายได้บริษัท

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) กล่าวถึง หลักเกณฑ์ในการควบคุมธุรกิจบัตรเครดิตของ สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) ว่า ทางการจะให้ความสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิตมากกว่าการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากไม่ต้องการ ให้คนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ทำบัตร เครดิต แล้วมาใช้บัตรเครดิตต้องมาเป็นหนี้สินและกลายเป็นหนี้เสีย

"เราไม่อยากให้คนที่มีรายได้ ไม่ถึงเข้ามาใช้บัตรเครดิต จนกลาย เป็นหนี้ ถูกตัดเงินเดือน และตกงาน จะกลายเป็นปัญหาสังคม ซึ่งจะดูถึง ความเหมาะสมและให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องอัตราดอกเบี้ย"

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็น เพียงกรอบเบื้องต้น ซึ่งจะได้มีการหารือและตกลงในรายละเอียดกับกระทรวงการคลัง และรอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ก่อนที่จะออกประกาศเป็นกฎกระทรวงเพื่อบังคับ ใช้ต่อไป โดยเอาหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะเป็นมาตรฐานเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ เพียงแต่แตกต่างกันในรายละเอียดเท่านั้น

สำหรับอัตราดอกเบี้ย เบื้องต้นไม่น่าจะเกิน 6 สลึงต่อเดือน หรือ ไม่เกิน 18% ต่อปี ซึ่งถือว่าไม่สูงหรือต่ำเกินไป ขณะที่หนี้เสียจากการใช้บัตรเครดิตในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก

ด้านการปล่อยสินเชื่อนั้น ขณะนี้ทางการพยายามให้มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น แม้ว่าอัตราเพิ่มของเงินฝากจะมีมากกว่าอัตราการปล่อยสินเชื่อ แต่ไม่ได้หมาย ความว่าธุรกิจจะไม่โต ทั้งนี้อัตราเงิน ฝากที่เพิ่มขึ้นมาจากรายได้ภาคการ เกษตรที่เพิ่มขึ้น

ส่วนกระแสข่าวเกี่ยวกับภาวะ เงินฝืดที่มีออกมาในระยะนี้ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ไม่เคยวิตกถึงภาวะเงินฝืด โดยอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดต่ำสุดมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว

คลังคุมเข้มบัตรนอนแบงก์ เพดานดอกเบี้ยไม่เกิน18%

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ข้อ สรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การดูแลธุรกิจบัตรเครดิตของสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร พาณิชย์แล้ว โดยคาดว่าจะสรุปออกเป็นประกาศ การคลังได้หลังจากส่งเรื่องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน โดยหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะควบคุมอัตราดอกเบี้ย ไว้ไม่เกิน 18% ขณะเดียวกันจะควบคุมคุณสมบัติ ของผู้มีสิทธิทำบัตรเครติดด้วย

"เมื่อเช้าผมได้หารือกับทางแบงก์ชาติแล้ว ได้ข้อสรุปในบางประเด็น คาดว่าจะสรุปออกเป็น ประกาศกระทรวงการคลังได้ต้นเดือนหน้า แต่ต้องให้ครม.รับทราบก่อน โดยหลักเกณฑ์จะควบคุมเรื่องอัตราดอกเบี้ย และคุณสมบัติของผู้ใช้บัตร ต้องมีเงินเดือน และเป็นคนมีอาชีพหลัก"

การออกประกาศหลักเกณฑ์ควบคุมการใช้บัตรเครดิต หลักเกณฑ์การออกบัตรเครดิตของสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อ ดูแลให้เกิดความเป็นธรรมของผู้ใช้บัตรเครดิต และไม่ให้เกิดความเสียหายในระยะยาว รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับอัตราเงินเดือนของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิต ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่เบื้องต้นจะต้อง ให้มีการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนทุนจดทะเบียนของบริษัทที่จะออกบัตรเครดิตได้นั้น เรื่องนี้ได้มีการหารือไม่น่าจะเป็นปัญหา

นายสมคิด ยืนยันว่า การเข้าไปควบคุมธุรกิจบัตรเครดิตของสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ได้ดูในความเหมาะสมในทุกด้าน แล้ว โดยกฎที่ออกมาทางการทำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของสังคม

รัฐบาลมีนโยบายคุมการใช้บัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินต่างๆ ออกมา และมีอัตราดอกเบี้ยสูงส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศ เช่น ธนาคารซิตี้แบงก์มีอัตราดอกเบี้ย 26.50% ถึง 29%

ธนาคารเอชเอสบีซี หรือฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงก์มีการคิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 26% ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน คิดอัตราดอกเบี้ย 24% ธนาคารยูโอบีรัตนสิน 24% ธนาคารเอเชีย 16-19.75% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต 17.50%

นอกจากนั้นในส่วนของผู้ออกบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่จะคิดได้ไว้ไม่ เกิน 15% ต่อปี ดังนั้นบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินซึ่งปล่อยกู้สินเชื่อแบบเช่าซื้อ หรือประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จึงมีค่าใช่จ่ายอื่นซึ่งนอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศไว้ด้วย ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยโดยรวมที่ผู้ถือบัตรต้องจ่ายจริงสูงกว่า 18%

ชี้เกณฑ์คุมบัตรเครดิตเหลว เชื่อหาช่องขูดรีดค่าธรรมเนียม

นายสุขดี จงมั่นคง ประธานชมรมบัตรเครดิต และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทบัตรเครดิตกรุงศรี จำกัด กล่าวให้ความเห็นว่า หากทางการมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยการใช้บัตรเครดิตที่ 18% ทางผู้ประกอบการก็คงต้อง หาทางลดต้นทุนหรือกลับมาคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ได้เคยยกเว้น เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี ฯลฯ

ขณะที่ในส่วนของรายได้ที่อาจจะลดลงคง จะไม่ส่งผลกรทบมากนัก เพราะผู้ประกอบการคงจะหารายได้ชดเชยจากทางอื่น หรือลดรายการ ส่งเสริมการขายลง

"เรื่องนี้ยังไม่รู้รายละเอียด คงพูดไม่ได้มากว่าเงื่อนไขที่แท้จริงเป็นอย่างไร แต่หากกฎหมายออกมามีการบังคับก็อาจทำให้ภาวะการ แข่งขันของบัตรเครดิตลดลงหรืออาจ ไม่ต้องแข่งขันก็ได้ เช่นกรณีขอราคาน้ำมันที่ในอดีตการ กำหนดตายตัวทำให้ไม่มีการแข่งขัน แต่ปัจจุบันเมื่อปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว ทุกปั้มต่างก็มีการจัดโปรโมชั่น และมีการลดราคาเกิดขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนแต่ละแห่งเอง"

สำหรับบัตรเครดิตกรุงศรีปัจจุบันคิดดอกเบี้ยที่ 10% ต่อปี และคิดว่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอีก 1.1% ต่อเดือน เฉลี่ยรวมดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 23% ต่อปี ซึ่งก็ยังไม่รู้รายละเอียดที่แท้จริงจะรวมการคำนวณค่าธรรมเนียมอื่นๆ เข้าไป ด้วยหรือไม่ เนื่องจากหากรวมทั้งหมดก็จะส่งผล กระทบกับรายได้ของแบงก์ได้

ส่วนประเด็นกำหนดเพดานฐานเงินเดือนผู้ขอบัตรเครดิตอีกนั้น ก็ยังไม่ชัดเจนคงต้องรอกฎหมาย เพราะธปท.ก็เพิ่งยกเลิกการกำหนดรายได้ขั้นต่ำไม่เมื่อเดือนเมษายนเอง

ในส่วนของบริษัทบัตรที่มีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ซึ่งไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กฎหมายใหม่ระบุนั้น นายสุขดี กล่าวว่า จะไม่ส่งผลกระทบกับบริษัท เนื่องจากบริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 100 ล้านบาท ก่อนที่กฎหมายจะกำหนดอยู่แล้ว

ด้านนายนิวัตต์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ 18% เพราะจะสร้างความชัดเจนและเสมอภาคเท่าเทียมกันเพื่อให้สถาบันการเงินและนอนแบงก์ ทุกฝ่ายอยู่ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน จากเดิมที่ฟ้องลูกค้าได้ลำบาก พอมีความชัดเจนทำให้สามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้น และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในระดับเดียวกันก็จะส่งผลดีกับผู้บริโภคที่สามารถเลือกใช้บริการได้มากขึ้น รวมทั้งยังจะส่งผลดีกับลูกค้าที่กู้เงินนอกระบบอยู่

ส่วนการที่ทางการจะกลับมาใช้หลักเกณฑ์ การกำหนดรายได้ขั้นต่ำผู้สมัครจากที่ปัจจุบันไม่กำหนดวงเงินรายได้มาเป็นกำหนดให้ผู้สมัคร มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทนั้น เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะเท่ากับว่าเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ซึ่งการกำหนดรายได้ขั้นต่ำไม่ได้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของผู้ถือบัตร แต่ขึ้นอยู่กับการบริหาร ความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่แต่ละแห่งจะมีเครดิตสกอริ่งอยู่แล้ว รวมถึงการดึงข้อมูลของเครดิตบูโร แต่ทางการควรหันมาดูแลเรื่องของการกำกับเรื่องการบริหารความเสี่ยงของแบงก์ให้มีมาตรฐาน

นายอภิชาต นันทเทิม กรรการบริหาร อิออนธนสินทรัพย์ กล่าวว่ากล่าวว่าบริษัทยินดีที่จะปฏิบัติตามกฎหมายที่ทางการกำหนด โดยในขณะนี้ธนาคารยังไม่มีการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลงตามที่เป็นข่าวจนกว่ากฎหมายดังกล่าวจะมีความชัดเจนและมีผลบังคับใช้ ซึ่งผลกระทบในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยที่จะต้องรับลดลงนั้นเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบกับบริษัทมากนัก เนื่องจากรายได้หลักของบริษัทเป็นรายได้จากสินเชื่อเช่าซื้อ โดยรายได้จากบัตรเครดิตมี เพียง 20% ของรายได้รวมเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทคงต้องขยายฐานลูกค้า มากขึ้นเพื่อชดเชยหากรายได้จะต้องสูญเสียไป ซึ่งฐานบัตรของประเทศไทยยังสามารถขยายได้อีกมากถึง 20 ล้านบาทภายใน 5 ปีจากที่ปัจจุบัน มีบัตรเครดิตในระบบประมาณ 3 ล้านบัตร ในส่วนบริษัทขณะนี้ธนาคารมีฐานบัตรเครดิตอยู่ประมาณ 7 แสนบัตร และคาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์บริษัทจะสามารถขยายฐานบัตรได้ถึง 8 แสนบัตร

นักวิเคราะห์ชี้มาตรการคุมบัตร ระยะสั้นไม่กระทบ "AEONTS"

นายกวี ชูกิจเกษม นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด หรือ CNS กล่าวว่า การกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลธุรกิจบัตรเครดิตของสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) โดยควบคุมอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 18% ในระยะสั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท อิออนธนสินทรัพย์ จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS เพียง เล็กน้อย

ทั้งนี้ เนื่องจากโดยเฉลี่ยการคิดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตของนอนแบงก์จะอยู่ประมาณ 20% กว่า ดังนั้น การควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่ 18% ถือว่ายังมีส่วนต่างกำไร และไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ลดลงมากนัก

"เรื่องนี้คงกระทบบ้างเล็กน้อย แต่หาก MLR ยังอยู่ในระดับต่ำ ก็คงไม่เป็นปัญหา เพราะอัตรา 18% ยังมีส่วนต่างของกำไรอยู่ ถ้าจะลดลงคงเป็นส่วนกำไรที่คงลดไม่มาก มองว่าระยะสั้นยังไม่เป็นปัจจัยลบ"

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวหากอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น โดยอัตรา MLR สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่อัตราดอกเบี้ยยังถูกกำหนดไว้ที่ 18% ขณะที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบรายได้ค่อนข้างมาก เพราะนอนแบงก์มีต้นทุนค่า ใช้จ่ายสูง เนื่องจากไม่มีการะดมเงินฝากเหมือนธนาคารพาณิชย์

"มองว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยควรอิงกับ MLR มากกว่า เช่น MLR บวกเท่าไร เพื่อให้ยืดหยุ่นได้ เพราะโดยปกติการคิดดอกเบี้ยของนอนแบงก์จะอิงกับ MLR อยู่แล้ว แต่หากไปกำหนดคงที่ไว้เมื่อ MLR ขึ้นไปสูง ธุรกิจแบงก์ก็ต้องแบกรับภาระมาก"

ทั้งนี้ การกระทรวงการคลังได้กำหนด หลักเกณฑ์การดูแลธุรกิจบัตรเครดิตของสถาบัน การเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โดยหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะควบคุมอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่เกิน 18% ขณะเดียวกันจะควบคุมคุณสมบัติของผู้มีสิทธิทำบัตรเครติดด้วย

สำหรับความเคลื่อนไหวราคาหุ้นAEONTS วานนี้ ราคาหุ้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นปิดที่ 170 บาท เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 3 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.79% มูลค่าการซื้อขาย 17.79 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us