Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 ตุลาคม 2548
เตือนภัยผู้ถือบัตรเดบิต!!! สะดวกซื้อ สะดวกใช้...ระวังหาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ วีซ่า

   
search resources

วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
Credit Card




นวัตกรรมการเงินที่ล้ำหน้าในขณะนี้ ส่งผลให้สถาบันการเงินนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ขณะเดียวกันรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆที่ออกมา นั่นหมายถึงช่องทางการหารายได้จากค่าธรรมเนียม ของสถาบันการเงินผู้ออกผลิตภัณฑ์

ในขณะนี้ "บัตรเดบิต" เริ่มเข้ามามีส่วนสำคัญ กับการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมากขึ้น สังเกตได้จากปัจจุบัน ลูกค้าที่ติดต่อทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน หรือเข้าไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ สิ่งที่พนักงานเคาน์เตอร์จะสอบถาม ข้อมูลกับลูกค้าคงหนีไม่พ้น...ทำบัตรเอทีเอ็ม หรือทำ บัตรเดบิตหรือยังคะ...ครับ แล้วแต่จะติดต่อกับพนักงานหญิงหรือพนักงานชาย

ค่าธรรมเนียมระหว่างบัตรเอทีเอ็ม และบัตรเดบิต จะคิดในอัตราที่แตกต่างกันไป แต่จุดขายของ บัตรเดบิตคือ สะดวกซื้อ สะดวกใช้ และที่สำคัญผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องถือเงินสดในมือให้กังวลว่าจะโดนล้วงกระเป๋า หรือโดนจี้ โดนปล้นหรือไม่ แถมคุณสมบัติพิเศษของบัตรเดบิตเอง ลูกค้ายังสามารถ กดเงินสดได้เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเอทีเอ็ม ที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดวงเงินไว้จำนวนหนึ่ง

ความสะดวกสบายของการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต ถือเป็นจุดขายที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ในการจูงใจลูกค้าให้หันมาทำบัตรเดบิต ทดแทนการทำบัตรเอทีเอ็ม แต่สิ่งที่ลูกค้าพึงรับรู้ก่อนการตัดสินใจ ทำบัตรเดบิต หรือบัตรเอทีเอ็ม คือ ค่าธรรมเนียม ในการทำบัตร และค่าธรรมเนียมรายปี ว่า แตกต่าง กันอย่างไร และที่สำคัญพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของแต่ละคน เหมาะสมหรือจำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำบัตรเดบิต

การรุกคืบของธุรกิจบัตรเดบิต ถือเป็นลูกเล่น ที่น่าจับตามองทีเดียว เนื่องจากจะทำให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมีวินัยการใช้เงิน เพราะการจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเดบิต เป็นวงเงินที่มีอยู่ในบัญชี หาใช่เป็น การใช้จ่ายเงินในอนาคต เฉกเช่น บัตรเครดิตŽ ซึ่งกำลังกลายเป็นประเด็นปัญหาทำให้คนเกิดกิเลส นำเงินในอนาคตมาจับจ่าย ใช้สอย และรัฐบาลเองกำลังหามาตรการ ให้ความช่วยเหลือ จุดกระแส "ประชานิยม" ในขณะนี้

จากข้อมูลของ วีซ่า ประเทศไทย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 พบว่า มีผู้บริโภคถือบัตรเดบิตกว่า 11 ล้านใบ และมีจำนวนร้านค้าที่รับให้บริการบัตรเดบิตมีถึง 154,000 แห่ง ในขณะที่จำนวนบัตรเครดิต 5 ล้านใบ และมีปริมาณ ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่าถึง 145,330 ล้านบาท

แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ...ปริมาณการใช้จ่ายผ่าน บัตรเดบิตน้อยมากเมื่อเทียบกับบัตรเครดิต ซึ่งต้องย้อนถาม ว่า วิถีชีวิตของคนไทยเหมาะสมกับนวัตกรรมการเงินใหม่ อย่าง "บัตรเดบิต" นี้หรือไม่ และคุ้มค่ากับค่าธรรมเนียม การทำบัตรเดบิต หรือค่าธรรมเนียมรายปีหรือไม่ บัตรเดบิต VS บัตรเอทีเอ็ม

ถามว่าสถาบันการเงินทำไมถึงส่งเสริมให้คนหันมาทำบัตรเดบิตกันจัง....คงต้องตอบอย่างซื่อๆว่า สร้างรายได้ ค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารพาณิชย์พอสมควร เมื่อเทียบกับการทำบัตรเอทีเอ็ม

แต่คุณสมบัติพิเศษที่จูงใจให้คนส่วนหนึ่งตัดสินใจทำบัตรเดบิตคือ กระบวนการส่งเสริมการขายต่างๆ โปรโมชัน ลด แลก แจก แถม ที่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าผ่านการรูดบัตรเดบิต หรือ แม้แต่การเบิกถอนเงินสดที่สามารถใช้วงเงินได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับการเบิกถอนผ่านบัตรเอทีเอ็มธรรมดา

มาดูสิว่า...สถาบันการเงินแต่ละแห่งเขาคิดค่าธรรมเนียม ระหว่างบัตรเดบิต และบัตรเอทีเอ็มแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรเอทีเอ็มแต่ละค่ายจะคิดอยู่ที่ 50 บาท และ 100 บาท ขณะที่บัตรเดบิตคิด 100 บาท ค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเอทีเอ็มคิด 100, 150 และ 200 บาท แต่บัตรเดบิตคิด 150 และ 200 บาท

ส่วนวงเงินในการเบิกใช้จ่ายในแต่ละวันบัตรเอทีเอ็มจะสามารถเบิกถอนได้ตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทบัตรว่าเป็นบัตรเงินหรือบัตรทอง ในขณะที่บัตรเดบิตสามารถเบิกเงินได้ 100,000-500,000 บาท

ขณะเดียวกันจำนวนเงินในแต่ละวันที่โอนภายในธนาคารเดียวกัน บัตรเอทีเอ็ม 30,000-200,000 บาท แต่บัตรเดบิตจะโอนได้ 200,000-1,000,000 บาท หากเป็นการโอนต่างธนาคาร บัตรเอทีเอ็มจะโอนได้ตั้งแต่ 30,000-150,000 บาท ขณะที่บัตรเดบิตสามารถโอนได้ถึง 100,000-500,000 บาท

นอกจากนี้บัตรเดบิตยังสามารถใช้จ่ายผ่านบัตรได้ แต่ บัตรเอทีเอ็มทำได้แค่เบิกถอนเงินสด โอน ชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆ จึงทำให้ผู้ที่ถือบัตรเดบิตสามารถใช้จ่ายผ่านบัตรในแต่ละวันได้ถึง 60,000-500,000 บาท สถาบันการเงินที่ให้บริการ

ปัจจุบันสถาบันการเงินในประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของวีซ่า ที่ให้บริการบัตรเดบิตมีทั้งสิ้น 21 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร ทหารไทย ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารเอเชีย ธนาคารเอชเอสบีซี ธนาคารออมสิน ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด นครธน ธนาคารยูโอบี รัตนสิน

นอกจากนี้ยังมีสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการด้วย ได้แก่ จีอี มันนี่ ประเทศไทย บริษัท เซเทเลม (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอไอจี คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด บริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด บริษัท ไทยสมาร์ทการ์ด จำกัด ประโยชน์ของบัตรเดบิต

บัตรเดบิต ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่ถือบัตร เพราะมีคุณสมบัติที่มาก กว่าบัตรเอทีเอ็มทั่วไป โดยจะสามารถเบิกเงินสดได้มากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับวงเงินผู้ประกอบการแต่ละรายที่ให้แก่ลูกค้า อีกทั้งยังสามารถรูดซื้อสินค้าและบริการได้เช่นเดียวกับบัตรเครดิต และหากมีการใช้จ่ายที่ดีก็ถือเป็นการควบคุมการใช้จ่ายเงินได้ โดยสามารถตรวจสอบเงินฝาก และทำงบประมาณในการใช้จ่ายได้ นอกจากนี้หากใช้จ่าย อย่างมีวินัยก็สามารถสร้างความเชื่อถือให้แก่ร้านค้า และสถาบันการเงินที่ให้บริการได้ สิ่งพึงระวังในการจับจ่ายใช้สอย

คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าความสะดวกสบายทุกอย่างก็ต้องมีข้อเสียบางอย่างแฝงอยู่บ้าง ซึ่งข้อเสีย ของบัตรเดบิต หากมีการป้องกันและระมัดระวังผลเสียนั้นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นหรือบรรเทาจากหนักเป็น เบาได้ ทั้งนี้ด้วยตัวบัตรเดบิต มีคุณสมบัติที่คล้ายทั้งบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม เมื่อเกิดเหตุการณ์สูญหาย ผู้ที่พบเจอบัตร ซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริง ไม่จำเป็นต้องรู้รหัสในการกดเงินสด เพียงแค่ปลอม ลายเซ็น ซึ่งอยู่ด้านหลังบัตรเดบิตเท่านั้น ก็สามารถ ใช้จ่ายเงินที่ไม่ใช่ของตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีบางสถาบันการเงินที่ต้องการแก้ไขในส่วนนี้ โดยการทำ บัตรเดบิตที่ติดรูปถ่ายเจ้าของที่ถือบัตร แต่ก็ไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ถือบัตรควรทำเป็นอย่าง แรก คือ ต้องรีบแจ้งหายบัตรหายให้ผู้ประกอบการ ทราบ ไม่เช่นนั้น "เงินเราจะกลายเป็นเงินเขา โดยไม่ได้เต็มใจ" ต้องดูและรักษาบัตรเดบิตให้ดี

ชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันการเงินที่ให้บริการบัตรเดบิตในแต่ละค่ายต่างพยายามเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถทำบัตรเครดิตได้ ให้หันมาทำบัตรเดบิตแทน แต่ลูกค้ายังคงใช้บัตรเครดิตอยู่ เพราะสิทธิพิเศษในการสะสมแต้ม ในขณะที่บัตรเดบิตคุณสมบัติก็คล้ายกับบัตรเอทีเอ็ม จึงทำให้ในปัจจุบันการใช้จ่ายบัตรเดบิตยังไม่เป็นที่นิยมนัก อย่างไรก็ตามบริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหลักในการให้บริการบัตรเดบิต มีแผนให้มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นทั้งการสนับสนุนให้มีการโปรโมชันต่างๆ และเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ให้บริการมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติของบัตรเดบิตสามารถ ใช้ได้แบบทูอินวัน คือ ใช้ทั้งเบิกเงินสดและนำมารูดซื้อสิ่งของหรือบริการได้ ซึ่งก็เหมือนกับกระเป๋าเงินนั่นเอง ดังนั้น ผู้ถือบัตรเดบิตควรกำหนดวงเงินเบิกจ่ายเงินสดในแต่ละวันให้เหมาะสมกับตัวเอง และผู้ถือบัตรเดบิตควรเก็บรักษาให้ปลอดภัย

ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังมีผู้ใช้บริการบัตรเดบิตน้อย จึงพยายามเน้นการเพิ่มฐานบัตร โดยขณะนี้ก็ลดค่าธรรมเนียมแรกเข้า และในระยะต่อไปจะเน้นให้คนใช้ผ่านบัตรเดบิตแทนเงินสดมากขึ้น เพื่อ ความสะดวกและสบายของลูกค้า

ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีการตั้งเป้าหมายจะเพิ่ม จำนวนบัตรอีก 1 แสนใบภายในปีนี้ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 5 แสนใบ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us