|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังเล็งลดโครงการภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 1,400 รายการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มเอสเอ็มอีกลุ่มผลิตชิ้นส่วน ให้บีโอไอสรุปอีกรอบจันทร์หน้า ขณะที่สศค.เตรียมสรุปภายในสัปดาห์หน้า
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ว่า ขณะนี้ สศค. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน หรือบีโอไอ ได้หารือแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ใช้สำหรับการผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยทีมของ สศค. ได้ทำโมเดลในการปรับโครงสร้างภาษีให้บีโอไอนำกลับไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและนำกลับมาเสนอในวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2548 นี้
ทั้งนี้ โมเดลที่ สศค. ทำไว้ คือ จะแยกกลุ่มสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 1,692 รายการย่อย ออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มวัตถุดิบ พื้นฐาน 2. กลุ่มวัตถุดิบ 3. กลุ่มสินค้า ประเภทชิ้นส่วนและส่วนประกอบ และ 4. กลุ่มสินค้าสำเร็จรูป ซึ่ง สศค. ต้องการให้มีการปรับภาษีนำเข้าสินค้า ใน 2 กลุ่มแรก ซึ่งมีอยู่ประมาณกว่า 1,400 รายการ ให้เป็น 0% ทั้งหมด
"เราทำตุ๊กตาไว้ให้เขาแล้ว โดย เราอยากให้ 2 กลุ่มแรก มีภาษีเป็น 0% แต่ก็ให้เขากลับไปดูข้อมูลเพิ่มเติมว่า สามารถทำได้หรือไม่ มีรายการใดบ้างที่เป็นปัญหา ก็ให้เขาแจ้งกลับมาอีกครั้งในวันจันทร์หน้า" นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับโครงสร้างภาษีในครั้งนี้ จะแก้ไขปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษีระหว่างสินค้าต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งหลังการปรับโครงสร้างภาษีแล้ว จะทำให้เกิด ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมกลุ่มนี้ใน 3 ด้านหลัก คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตสินค้าประเภทเครื่องใช้ฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอ็สเอ็มอี) ในประเทศให้มีมากขึ้น และ 3. ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตในภูมิภาค
ส่วนรายได้ภาษีที่ต้องสูญเสียจากการปรับโครงสร้างภาษีในครั้งนี้ คิดเป็นเม็ดเงินไม่สูงมาก และจะไม่กระทบต่อเป้ารายได้ภาษีของกรมศุลกากรในปีงบประมาณ 2549 นี้ อย่างไรก็ตาม ในการปรับโครงสร้าง ภาษี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มชิ้นส่วนและยานยนต์ และกลุ่มอาหารแปรรูป ที่มีพิกัดอยู่เกือบ 5,000 รายการนั้น ครอบคลุมรายได้นำเข้าภาษีของกรมศุลกากรเกือบทั้งหมด ซึ่งภายใน 15 ปี รายได้ภาษีศุลกากรที่จัดเก็บอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ในปัจจุบันจะหายไปทั้งหมด
สำหรับการดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรครั้งนี้ สืบเนื่องจากนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กำชับให้มีการศึกษาโครงสร้างภาษีอย่างเร่งด่วน หลังจากที่ประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนที่จะให้มีการลดภาษีศุลกากรขาเข้าให้เหลือ 0% ภายในปีค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558 ขณะที่สหภาพยุโรปเองเห็นด้วยกับจุดยืนดังกล่าวแล้ว แต่จะต้องมีการทบทวนอีกครั้ง ดังนั้นประเทศไทยเองจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว
|
|
|
|
|