ธุรกิจบัตรเครดิตเฟื่องช่วง 2 ปีทอง ยอดบัตรเครดิต พุ่งถึง 3 ล้านบัตร จากฐานเดิมเพียง
1 ล้านบัตร พร้อมยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโตตาม ยอดบัตร แต่ละปีขยายตัวเกินกว่า
30% รัฐบาลเกรงปัญหาการใช้จ่ายเกินตัว เร่งให้แบงก์ชาติออกมาตรการ กำกับดูแล
คาดภายในเดือน พ.ย.นี้จะมีเกณฑ์บัตรเครดิตที่เหมาะสม
ธุรกิจบัตรเครดิตเริ่มมีการพูดถึงกันในกลุ่มสถาบันการเงินในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
หลังจากเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ระบบเครดิต ต่างๆได้ล่มสลายโดยเฉพาะธุรกิจบัตรเครดิต
ธุรกิจต่างๆต้องใช้เงิน สดเท่านั้นที่จะทำธุรกิจได้ ธนาคารพาณิชย์เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)จำนวนมาก
และปฏิเสธไม่ได้ว่าบัตรเครดิตก็เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นพีแอลเช่นกัน จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.)ที่กำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์โดย ตรงต้องออกเกณฑ์การทำบัตรเครดิตให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น
โดยเพิ่มเป็น 2 หมื่นบาทต่อเดือนจากเดิมที่อยู่ในระดับ 1 หมื่นบาทต่อเดือน
ระบบเครดิตล่มสลายจุดเริ่มบัตรเครดิตNON-BANK
ความล่มสลายในระบบเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้เป็นจุดเริ่มต้นของสินเชื่อนอกระบบ
รวมทั้งบัตรเครดิตที่ไม่ใช้สถาบันการเงิน(NON-BANK)ที่ใช้จังหวะของความไม่ไว้ใจกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และลูกค้า
สร้างธุรกิจบัตรเครดิตให้เติบโต ได้อย่างก้าวกระโดด จากเดิมบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกจะมีเฉพาะกลุ่มแคบๆเท่านั้น
เช่น กลุ่มลูกค้าเซ็นทรัล แต่ขณะนี้ธุรกิจบัตรเครดิตNON-BANK ได้กระจายไปในกลุ่มบริษัทข้ามชาติที่มีประสบการณ์ในธุรกิจบัตรเครดิตมานาน
เช่น AEON, GE, EASY BUY
จากตัวเลขการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตNON-BANK มากกว่า 2 เท่าตัวต่อปี
เนื่องจากได้จำกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับเงินเดือนต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ซึ่งเป็นฐานที่สูงที่สุดในประเทศไทยเมื่อเทียบกับผู้ที่มีเงินเดือนทั้งหมดของประเทศ
และจำนวนกลุ่มลูกค้าประเภทดังกล่าวไม่ได้เข้าเกณฑ์การทำบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์
ตามที่แบงก์ชาติได้กำหนดและควบคุมไว้ โดยที่ NON-BANK นั้นสามารถทำธุรกิจ
กับลุกค้ากลุ่มดังกล่าวได้ เพราะไม่ได้อยู่ในการควบคุมของแบงก์ชาติ ส่งผลให้อัตราการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิต
NON-BANK เติบโตอย่างมาก
เศรษฐกิจฟื้นแบงก์หันทำธุรกิจบัตรเครดิต
หลังจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีการฟื้นตัว ธนาคารพาณิชย์มีการขยับทำธุรกิจได้บ้าง
หลังจากวิกฤต ได้พยายามแก้ไขเอ็นพีแอล ซึ่งจะต้องเพิ่มทุนเพื่อให้ดำเนินธุรกิจอยู่ได้
และการเพิ่มทุนของแบงก์พาณิชย์ไทยนั้นเอง ได้มีต่างชาติเข้ามาถือหุ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาสนใจธุรกิจบัตรเครดิตอีกครั้งหนึ่ง
โดยธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ธนาคารกสิกรไทยถือ ว่าเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจนี้
รองมาจะเป็นธนาคาร กรุงเทพ ไทยพาณิชย์ กรุงศรี กรุงไทย ตามลำดับ และในส่วนของธนาคารต่างชาติคงไม่มีใครปฏิเสธซิตี้แบงก์ไปได้ที่ยังคงครองตลาดบัตรเครดิตในประเทศไทยสูงที่สุดในระบบ
การเข้ามาถือหุ้นของต่างชาติในธนาคารพาณิชย์ไทย ทำให้เริ่มหันมามองธุรกิจบัตรเครดิต
มากยิ่งขึ้น เนื่องจากธุรกิจมีอัตราการเติบโตที่สูง และลูกค้าที่ส่วนใหญ่ของธนาคารยังคงเป็นรายย่อย
ซึ่งธุรกิจบัตรเครดิตจึงน่าจะเป็นฐานของการหารายได้ที่เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียม
หลังจากที่รายได้จากดอกเบี้ยได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าระดับหนึ่ง
และการแข่งขันเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ แบงก์ชาติกระตุ้นใช้จ่ายภายในประเทศ
แบงก์ชาติได้มองถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่ต้องการการบริโภคภายในประเทศเป็นเรื่องขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้
จึงพิจารณาถึงบัตรเครดิตเข้าไปด้วย ประกอบการสมาคมธนาคารไทยได้ยื่นหนังสือขอให้แบงก์ชาติได้พิจารณาทบทวนเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำของการทำบัตรเครดิตด้วย
ซึ่งที่สุดแล้วแบงก์ชาติได้ยกเลิกเพดานเงินเดือนของการทำบัตรเครดิต ซึ่งจะปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งกำหนดความเสี่ยงกันเอง
เพื่อให้สามารถแข็งขันกับNON-BANKได้
ยกเลิกเกณฑ์เงินเดือนจำนวนบัตรพุ่ง
เกณฑ์ใหม่ของแบงก์ชาติ ทำให้บัตรเครดิต มีเพิ่มมากอย่างก้าวกระโดด โดยจากเดิมที่ฐานบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์จาก
1.8 ล้านบัตร ได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นเป็น2.6 ล้านบัตร
และในสิ้นปี 2544 ฉุดให้จำนวนบัตรในระบบธนาคารพาณิชย์พุ่งสูงสุดที่ทำสถิติใหม่
2.8 ล้านบัตร คิดเป็นอัตราเพิ่มจากปีก่อนถึง 45-50 %
และในปีนี้ถือว่าเป็นปีทองของธุรกิจบัตรเครดิต โดยมีการเพิ่มของจำนวนมาก
รวมทั้งการ แข่งขันก็มีความรุนแรงมาก เพราะมองว่ายังมีโอกาสเติบโตสูงกว่าธุรกิจอื่นๆ
โดยในเดือนมกราคมจำนวนบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ ไทยเพิ่มขึ้นถึง 1.96 ล้านบัตร
เป็นบัตรของธนา-คารต่างชาติในประเทศไทย 6.44 แสนบัตร รวมยอดบัตรทั้งระบบในเดือนมกราคมประมาณ
2.61 ล้านบัตร และตัวเลขของแบงก์ชาติที่ระบุยอดของบัตรเครดิตในเดือนมิถุนายน
ปีนี้มียอดบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทย 2.12 ล้านบัตร ยอดบัตรธนาคารต่างชาติที่อยู่ในไทย
6.9 แสนบัตร รวมทั้งระบบยอดพุ่งถึง 2.8 ล้านบัตร และมีการคาดการณ์ว่า ยอดบัตรเครดิตในสิ้นปีนี้จะพุ่งสูงถึง
3 ล้านบัตรแน่นอน
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรทั้ง หมดระหว่างปี 2541-ไตรมาสแรกของปี2545
โดยในปี 2541 มียอดทั้งปี 89.46 ล้านบาท มีปริมาณการใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี
46,920 บาท และปริมาณ การใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน 3,910 บาท ปี 2542 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร
91.6 ล้านบาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี 56,264 บาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน
4,688 บาท ปี 2543 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร พุ่งสูงขึ้นถึง 106.5 ล้านบาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี
60,318 บาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน 5,026 บาท
ปี 2544 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร 144.41 ล้านบาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อปี
56,237 บาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือน 4,686 บาท และในไตรมาสแรกของปี
2545 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 42.05 ล้านบาท ปริมาณใช้จ่ายต่อบัตร ต่อเดือน
5,222 บาท ซึ่งสังเกตว่านอกจากจำนวน บัตรจะพุ่งขึ้นสูงแล้ว ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร
ก็สูงขึ้นตามไปด้วย
แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่รุนแรง จากการ หาจำนวนผู้ถือบัตรแล้ว ซึ่งก็จะใช้วิธีการขายตรงไปยังกลุ่มลูกค้า
เปิดโครงการเป็นแรงจูงใจโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมทั้งแรกเข้าและรายปี บางแห่งถึงขนาดใช้กลยุทธ์ฟรีค่าธรรมเนียมตลอดชีพ
พร้อมทั้งยังมีกลยุทธ์ทางด้านการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทำให้ผู้ถือบัตรมีการใช้จ่ายผ่านบัตร
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ฟื้นตัวทำให้มีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคมากยิ่งขึ้น
ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรวัดความเป็นหนึ่ง
ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรถือเป็นปัจจัยการวัดใครมีความเหนือชั้นทางด้านธุรกิจ
ซึ่งจาก อดีตที่ผ่านมา ธนาคารจะมีการตัดสินความเป็นผู้นำทางตลาดบัตรเครดิต
ด้วยฐานบัตรเครดิต แต่ขณะนี้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงกลยุทธ์ของการเพิ่มจำนวนบัตรโดยการตัดรายได้จากค่า
ธรรมเนียมออกโครงการฟรีค่าธรรมเนียมตลอด ชีพ ดังนั้นจึงไม่สามารถวัดได้ว่าเป็นผู้นำทางด้าน
บัตรเครดิตจากจำนวนบัตร สิ่งที่จะวัดกันได้ในขณะนี้คือ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่านั้น
โดยทันทีที่มีการอนุมัติบัตร ธนาคารจะเสนอสิทธิพิเศษต่างๆให้ลูกค้าทันทีเพื่อจูงใจการใช้จ่ายผ่าน
บัตร ซึ่งธนาคารผู้ออกบัตรจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมของร้านค้า ดอกเบี้ยที่เกิดจากลูกหนี้
ผิดนัดชำระ
ด้าน NON-BANK ก็มีการขยายฐานลูกค้า อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าแบงก์ชาติได้ยกเลิกเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำสำหรับการทำบัตรเครดิตของสถาบันการเงินแล้วก็ตาม
ยังคงใช้จุดแข่งเรื่องของระบบป้องกันความเสี่ยงที่ดี เงื่อนไขที่ผ่อนผัน
รวมทั้งการอนุมัติที่รวดเร็ว ยังถือว่าเป็น จุดที่ขยายฐานบัตรได้ดี มีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่อง
และล่าสุดได้นำกลยุทธ์ของการนำสินเชื่อบุคคลเข้ามาใช้ร่วมกับบัตรเครดิต NON-BANK
เร่งขยายฐานบัตร
โดยนางสาวพรรณพร คงยิ่งยง กรรมการผู้จัดการ สินเชื่อเพื่อการซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระ
บริษัทจีอี แคปิตอล(ประเทศไทย) กล่าวว่า เฟิร์สชอยได้ตั้งเป้าเพิ่มลูกค้าปีละ
40% หรือคิดเป็นจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 9 แสนรายในปีนี้ จากปัจจุบันที่มีลูกค้าประมาณ
8 แสนราย และจะขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอีในปีหน้า คาดว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง
1 ล้านราย
ในปัจจุบันบริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างประ มาณ 5,000 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี
เฟิร์สชอย อนุมัติสินเชื่อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 800 ล้านบาท และในช่วง
9 เดือนที่ผ่านมาบริษัทสามารถมีธุรกิจ เพื่อการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นถึง 26%
ในขณะที่ยอด ผู้ถือบัตรที่มีการผ่อนชำระมากกว่า 30% และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตามลำดับ
จากอัตราการเติบโตของจำนวนบัตร ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร รวมทั้งกลยุทธ์ในการ
แข่งขันที่รุนแรง อีกทั้งแนวโน้มของการผ่อนชำระบัตรเครดิตของลูกค้ามีเพิ่มมากขึ้น
แสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายของประชาชนเกินตัว อาจจะเป็นปัญหาขึ้นในอนาคตได้
ถึงแม้ว่าตัวเลขการ ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้จ่ายของประชาชนทั้งประเทศก็ตาม
แต่แนวโน้มของการใช้จ่ายก็มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รัฐบาลกลัวการใช้จ่ายเกินตัวของประชาชน
รัฐบาลโดยเฉพาะหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี พ.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ได้ออก มาแสดงความเป็นห่วงถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของประชาชนทั่วไปว่าจะเกิดปัญหาของการใช้จ่ายเกินตัวมากขึ้น
ซึ่งได้สั่งการให้รัฐมนตรีคลัง นายสมคิด จาตุพิทักษ์ และแบงก์ ชาติ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
เทวกุล พยายามหาแนวทาง กำกับดูแลไม่ให้เกิดปัญหาของการใช้จ่ายเกินตัว ซึ่งแบงก์ชาติได้ออกมาเตือนถึงผู้ออกบัตรให้มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
ก็ไม่ได้ทำให้ธนคาร พาณิชย์และNON-BANK หยุดการแข่งขันเพื่อเพิ่มจำนวนของบัตรเครดิตเลย
มีการออกโครง การพิเศษต่างๆเพื่อกระตุ้นให้จำนวนบัตรและการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น
นายกฯสั่งแบงก์ชาติออกเกณฑ์ควบคุม
ล่าสุด พ.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ออกมาสั่งให้แบงก์ชาติออกเกณฑ์ที่กำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตอย่างชัดเจนและเหมาะสม
ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะร่วมทั้งเรื่องของการออกบัตร โครงการพิเศษต่างๆที่ธนาคารพาณิชย์ออกมาแข่ง
ขันกัน โดยเฉพาะเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่นายกฯ ได้มองว่าลูกค้าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ออกบัตรที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินความเป็นจริง
ทั้งสถาบันการเงินและ NON-BANK
นอกจากที่จะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยผิด นัดแล้ว ยังคิดค่าปรับสำหรับลูกค้าที่ผิดนัดชำระอีก
ถือว่าลูกค้ามีแต่เสียกับเสีย อัตราค่าปรับในแต่ละงวดไม่ใช่เล็กน้อย คิดในอัตรา
100-200 บาทต่องวด นอกจากนี้ยังมีการคิดดอกเบี้ย ในอัตรา 18-25% ซึ่งก็ต้องรอดูว่าแบงก์ชาติจะมีการแก้ไขหรือออกกฎเกณฑ์อะไรมาเพิ่มเติม
ที่จะกำกับดูแลธุรกิจบัตรเครดิตให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล