Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 ตุลาคม 2545
ธุรกิจSMEsกับการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
SMEs




วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ของไทยเป็นธุรกิจที่มีกระจายอยู่ทั่วไป ใช้เงินลงทุนจำนวนไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นปัจจัยในการผลิต กิจการมีขนาดเล็ก จึงมีความคล่องตัวในการบริหารมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ธุรกิจ SMEs มีเป็นจำนวนมากคือกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจทั้งหมด การที่ธุรกิจ SMEs สามารถเริ่มต้นประกอบธุรกิจได้ง่ายกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเสรีของผู้ประกอบการและลดการผูกขาดในการประกอบธุรกิจ ธุรกิจ SMEs จึงเป็นแหล่งสร้างรายได้และการจ้างแรงงานรวมถึงการพัฒนาทักษะแรงงานที่สำคัญของประเทศ เพราะธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยมีโครงสร้างการผลิตที่ใช้แรงงานมาก (Labor Intensive) โดยทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และผู้จัดจำหน่ายสินค้าไปพร้อมๆ กับผลักดันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องดำเนินไปได้ด้วยดีซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด ในด้านการจ้างงานแรงงาน จากผลการศึกษาของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า เมื่อเปรียบ เทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่แล้วในปี 2542 ธุรกิจ SMEs มีสัดส่วนการจ้างงานถึง 79% ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่มีเพียง 21% และในปี 2544 SMEs ก่อให้เกิดมูลค่าต่อ GDP (นอกภาคเกษตร) ถึง 1.7 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็นภาคการผลิต 6.02 แสนล้านบาท ภาคการค้าทั้งค้าส่งและค้าปลีก 5.05 แสนล้านบาท และภาคบริการ 5.68 แสนล้านบาท

ภาครัฐกับการสนับสนุน SMEs ในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญของ SMEs ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศจึงกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ในระยะยาวหรือเป็นการพัฒนา SMEs อย่างยั่งยืน ด้วยการเสริมขีดความสามารถการแข่งขัน โดยการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผล ผลิตในทุกสาขาและการพัฒนา SMEs ในอนาคตจะต้องสอดคล้องกับทิศทาง การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ในส่วนของ SMEs ได้กำหนดให้มีการ พัฒนา SMEs เป็นระบบครบวงจรผ่านสถาบันเฉพาะทาง ที่ได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ พัฒนาทักษะแรงงาน คุณภาพผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างแท้จริง โดยภาครัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา SMEs ช่วงระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2543-2547) ในแผนแม่บทการพัฒนา SMEs ในส่วนของภาคการผลิตเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์ต่างๆ อาทิ กลยุทธ์ในการยกระดับขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและการจัดการ สร้างและขยายโอกาสด้านการตลาด เพิ่มขีดความสามารถของสถาบันการเงินและสร้างกลไกเสริมทางการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs ตลอดจนสร้างความเชื่อมโยงและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจครบวงจร เป็นต้น

นอกจากการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ของสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนตามมาตรการให้ความช่วยเหลือของทาง การแล้ว ภาครัฐยังได้ให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่ธุรกิจ SMEs ด้วยการ จัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ กองทุน SMEs (SMEs Venture Capital Fund) ล่าสุด ทางการได้เตรียมการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้และลงทุนแก่ SMEs วงเงิน 40,000 ล้านบาท โดยการระดมทุนจากสถาบันการเงินของรัฐประมาณ 10 แห่ง ธุรกิจ SMEs ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการปล่อยกู้ ได้แก่ SMEs ที่มีความสามารถในการแข่งขันซึ่งผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานและได้รับคำสั่งซื้อ SMEs ที่มีปัญหา NPL แต่ไม่มีปัญหาในการทำตลาดซึ่งส่งผลให้ขาดเงินทุนซื้อวัตถุดิบ และ SMEs ที่ยังผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐานส่งออกแต่ยังพอมีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้

รัฐบาลยังได้จัดสรรเงินจากงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในส่วนของโครงการด้าน SMEs ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. 7 โครงการ ( ณ มี.ค. 45) รวมวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 2,274.95 ล้านบาท

ธุรกิจ SMEs กับการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

การปรับตัวทางด้านการตลาด การตลาดของ SMEs ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวงจำกัดเมื่อเทียบกับสินค้าของธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก เป็นกรณีการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่อง จากมีศักยภาพและความพร้อมในการขยายตลาด/เจาะตลาดได้น้อยกว่า และมีความเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตแบบประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ขาดการวิจัยด้านการตลาดและพัฒนาสินค้า/ผลิต ภัณฑ์ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน เมื่อภาวะการค้าและการตลาดของโลกเปลี่ยนไป ธุรกิจ SMEs จึงต้องแสวงหาแนวทางในการ พัฒนาและจำหน่ายสินค้าใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้รวมทั้งเพื่อตอบ สนองความต้องการของตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ควรปรับและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มีความโดดเด่น แปลกใหม่กว่าสินค้าอื่น ซึ่งเป็น การเพิ่มมูลค่าให้สินค้าหรืออาจจะผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ดีกว่าสินค้าเดิม (Niche and Innovation) เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจในสินค้านั้น เช่น การพัฒนายี่ห้อหรือตราสินค้า (Branding) ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองโดยตราสินค้าเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างสินค้าของผู้ผลิต นั้นๆ แต่กระนั้นที่ผ่านมาผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ส่วนหนึ่งได้มีการพัฒนาตราสินค้าจนถึงขั้นติดตลาดโลกมาแล้ว และ SMEs ที่ประสบความสำเร็จในการตลาดมักจะมีตราสินค้าที่จดจำง่ายด้วยการใช้สัญลักษณ์หรือโลโก้ของ สินค้าที่เด่นสะดุดตาควบคู่การพัฒนาคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกอบการ SMEs หลายรายได้นำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการดำเนิน ธุรกิจ เช่น ใช้ในการโฆษณาสินค้า ขยายฐานลูกค้า เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อการจำหน่ายสินค้ารวมถึง การส่งออกผ่านระบบ EDI ซึ่งเป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียกรับ/ส่งข้อมูลได้ทันที เป็นที่นิยมมากในการใช้ผ่านพิธีการสินค้าในประเทศอื่นๆ มีจุดเด่น คือมีมาตรฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (UN/EDIFACT) ที่ชัดเจนและมีเอกภาพในการสื่อสารถึงกัน เป็นการเพิ่มรายได้และเพิ่มโอกาสในการขยายตัวทางการตลาดได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากสามารถเข้าถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคได้ง่าย และรวดเร็วกว่าการใช้สื่อประเภทอื่น ผลจากการสำรวจของสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับ บอย. ที่กล่าวแล้วข้างต้น ระบุว่า "ผู้ประกอบการ SMEs มีการปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ 70% ของผู้ประกอบการ (ทำการสำรวจ 12 กลุ่มธุรกิจ จำนวน 1,080 ราย) และ 60% มีเว็บไซต์และมีการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจ"

สรุป

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจการค้าแทบทุกประเภท ธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศรวมทั้งไทย จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อความอยู่รอด และเพื่อรองรับการแข่งขันที่จะทวีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ในส่วนของประเทศไทยนอกจากการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจ SMEs แล้ว การสนับสนุนจากภาครัฐในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน การตลาด เทคโนโลยีการผลิต ฯลฯ นับเป็นพลังผลักดันสำคัญที่จะเสริมสร้างให้ธุรกิจ SMEs ก้าวไปอย่างมั่นคงและอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ SMEs ยังมีปัญหาพื้นฐานหลายประการที่ควรได้รับการแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปอย่าง เร่งด่วน เช่น การขาดแคลนเงินทุน แรงงานฝีมือ ความรู้ความสามารถในการ ผลิตและการเข้าถึงตลาด เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ปัจจัยที่เคยเป็นอุปสรรคปัญหากลับกลายมาเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจ SMEs สามารถปรับตัวอยู่รอดได้อย่างราบรื่น และทำหน้าที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us