Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 ตุลาคม 2545
ธนาคารยังไม่พ้นวิบากกรรม ขาดทุนสะสมรั้งฐานะการเงิน             
 


   
search resources

Banking




การประกาศตัวเลขผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 13 แห่ง (รวมธนาคารธนชาต) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 ปรากฎว่า หลายธนาคารยังมีผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2544 โดยในไตรมาส 3 ธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิประมาณ 10,888.54 ล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิ 6,240.60 ล้านบาทในช่วงเดียวกันปีก่อน

หากพิจารณาช่วง 9 เดือน ธนาคารพาณิชย์มีกำไรประมาณ 29,120.82 ล้านบาท เทียบกับ 42,168.88 ล้านบาท กำไรที่ลดลงของธนาคารจำนวน 36,387 ล้านบาท สาเหตุสำคัญเกิดจากเดือนมิถุนายน 44 ธนาคารมีการโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพชรบุรี จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในกรณีนี้ธนาคารได้โอนสำรองกลับเป็นรายได้ของธนาคาร จำนวน 45,229 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 จะพบว่า มีเพียงธนาคารทหารไทย (TMB) ที่กำไรติดลบถึง 1,625.7 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งถือว่าไม่สู้ดีนักในสายตาของนักวิเคราะห์

เนื่องจากธนาคารประกาศรายได้สุทธิในไตรมาส 3 ออกมาที่ 1,336.5 ล้านบาทลดลงถึง 18.30% จากไตรมาสที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากรายได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง แต่รายจ่ายจากอัตราดอกเบี้ยกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลง 14.03% รวมถึงการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอีก 1,322 ล้านบาทในไตรมาส 3

สำหรับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ค่อนข้างจะเป็นธนาคารที่เหมาะสมต่อการลงทุนในระยะยาว หลังจากเคลียร์ปัญหากับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและการล้างขาดทุนสะสมกว่า 70,000 ล้านบาทหมดไป

โดยในไตรมาสนี้ธนาคารมีกำไรสุทธิ 2,679 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 17.35% รายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4,970 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 2.01% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน

ส่วนสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับตัวดีขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อ 3.17% ในไตรมาส 3 แม้ว่าในส่วนของเงินฝากก็ปรับตัวสูงขึ้น 2.09% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน แต่จากที่สินเชื่อเพิ่มขึ้นอัตราที่สูงกว่าจึงทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับตัวดีขึ้นจาก 77.85% ในไตรมาส2ปีนี้เป็น 78.68% ในไตรมาส 3

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัญหาหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์จะได้รับการเยี่ยวยาจนระดับของหนี้เสียปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ้นเดือนก.ย.45 ตามข้อมูลของธปท.หนี้เสียคงค้างอยู่ที่ 4.4 แสนล้านบาท หรือ 11.12% ต่อสินเชื่อ ซึ่งเป็นตัวเลขเฉพาะที่ค้างในธนาคารพาณิชย์เท่านั้น

แต่สิ่งสำคัญแล้ว หนี้เสียในระบบจะสูงกว่าตัวเลขที่ธปท.ประกาศ รวมแล้วมีหนี้เสียไม่ต่ำกว่าล้านล้านบาท และปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อธนาคารพาณิชย์ที่อาจจะต้องเสริมความแข็งแกร่งเกี่ยวกับการกันสำรองเพิ่มขึ้น ประกอบกับหากการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไทยยังคงได้รับความเสี่ยงจากปัจจัยแวดล้อมภายนอกประเทศ ไม่ว่า สถานการณ์น้ำมัน การเกิดสงคราม และความไม่เต็มที่ของความช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านทางงบประมาณรายจ่ายในปี 2546 ที่จะไม่เต็มที่เหมือนปีก่อนๆ มา

ทำให้ภาคเอกชนหรืออุตสาหกรรมต่างๆ ต้องระมัดระวังในการบริหารธุรกิจและเตรียมความพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด แบงก์ยังต้องเหนื่อยอีกนานต้องถนัดเฉพาะด้าน-เพิ่มค่าฟี

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและวางแผน ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) หรือ BT เปิดเผยว่า การประกาศตัวเลขผลกำไรของระบบธนาคารยังไม่สามารถบอกได้ว่าธนาคารได้ฟื้นตัว เพราะยังมีปัญหาที่แต่ละธนาคารจะต้องสะสางคือปัญหาตัวเลขการขาดทุนสะสมที่มีอยู่จำนวนมาก แต่โดยรวมเมื่อเทียบกับช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ถือว่าดีขึ้นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ทุนสำรอง ความสามารถในการทำกำไรดีขึ้นตามลำดับ

ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ภาพรวมไม่ว่าการปล่อยสินเชื่อส ค่าธรรมเนียมต่างๆ ดอกเบี้ยการแก้ไขหนี้เสียในบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ของธนาคารก็อยู่ในสถานการณ์ที่ดีขึ้นรวมถึงในไตรมาสที่ 4 หากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวและอัตราดอกเบี้ยทรงตัว จะทำให้ลูกหนี้จะพออยู่ได้

“แต่ประเด็นที่ต้องคำนึงคือ เรื่องความสามารถในการแข่งขันจะต้องปรับตัวดีขึ้นกว่านี้ เพราะในอนาคตการแข่งขันจะทวีความรุนแรง แม้แต่แบงก์ต่างประเทศที่มีสาขาแห่งเดียวในไทยยังมีความสามารถในการทำธุรกิจได้มากและรุกตลาดได้แรง และหากแบงก์ไหนไม่คิดที่จะปรับตัวโดยการปรับโครงสร้างองค์กรคงลำบากแน่ แต่เราต้องเข้าใจว่าบางแบงก์ที่เข้มแข็งได้ ส่วนหนึ่งรัฐต้องเข้ามาดูแลเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในระยะยาวแล้วรัฐคงไม่สามารถดูแลแบงก์ได้ตลอดไป หนทางเดียวคือแบงก์นั้นๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สามารถรองรับการสภาพตลาดที่จะพลิกเปลี่ยนอย่างมาก โดยเฉพาะต้องระวังธนาคารต่างประเทศที่มีความได้เปรียบทั้งด้านต้นทุนเครือข่ายที่เชื่อมโยงไปทั่วโลก ตัวอย่างมีให้เห็นอย่างธนาคารเอเชีย ธนาคารดีบีเอสไทยทนุทั้งหมดทั้งปวงแล้ว แบงก์ของไทยจะต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวและรัฐต้องพิจารณาเวลาที่เหมาะสมในการถอยการดูแล”นายอนุสรณ์กล่าว

สำหรับสถานการณ์ภายนอกประเทศขณะนี้ นายอนุสรณ์มองว่าผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์คงไม่รุนแรงเพราะธนาคารมีการเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง

“แม้ข้างนอกจะมีเชื้อโรค คิดว่าแบงก์พอมีภูมิคุ้มกันเชื้อโรคได้เมื่อเทียบกับอดีตที่เราอ่อนแอทำให้รับเชื้อได้ง่าย หากพิจารณาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เศรษฐกิจไทยถือว่าดีแต่เทียบกับจีนและเกาหลีไม่ได้ส ”นายอนุสรณ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายอนุสรณ์กล่าวว่า เมื่อดูสภาพเศรษฐกิจและแนวโน้มอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์แล้ว ทุกคน ยังต้องทำงานหนักและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะระบบธนาคารในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ทั้งในระดับโครงสร้างรูปแบบการดำเนินงานและประเภทธุรกรรม

ทั้งนี้บทบาทของธนาคารในระบบการเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงไป บางบทบาทจะลดลง เนื่องจากการทยอยลดลงของส่วนแบ่งทางการตลาดของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์สู่ภาคการผลิต และภาคธุรกิจ การเคลื่อนย้ายของการกู้ยืมของภาคธุรกิจ (Corporate Sector Borrowing) สู่ตลาดตราสารหนี้ (Commercial Paper Markets หรือ Debt Instrument Market) การลดลงของการออมเงินของประชาชนในระบบธนาคารพาณิชย์ และการเติบโตของ Non-Bank Financial Institution เช่น บริษัทหลักทรัพย์ ประกันภัย

“ปัจจุบันการปล่อยสินเชื่อจะทำได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งแบงก์ต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยีสูงจึงต้องคิดค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่างๆ กับลูกค้าและประชาชน ซึ่งแต่ละแห่งต้องปรับตัวภายใต้การแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น ธุรกิจธนาคารไม่ใช่เสือนอนกินอีกต่อไป และธนาคารจะต้องแสวงหารายได้ที่เป็น Fee-Based Incomeมากขึ้น แทนที่จะพึ่งพิงแต่รายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยที่แคบลงเรื่อยๆ”

นายอนุสรณ์ มองว่า ทิศทางการเงินในศตวรรษที่ 21 เรื่องของนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการเงินจะทันสมัยมากมี re-package Product ที่หลากหลาย ธนาคารและสถาบันการเงินในอนาคตจะต้องมีความโปร่งใส สุจริต และเป็นที่เชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม เพราะลูกค้าต้องมั่นใจว่าเงินที่นำไปฝากแล้วจะได้คืน เนื่องจากรัฐจะเลิกการค้ำประกันเงินฝาก

ดังนั้น ธนาคารต้องเลือกลงทุนและบริหารความเสี่ยงเป็น ต้องวางตำแหน่งให้ชัดเจน คือจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องใหญ่ไปเลยหรือถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us