|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม ยื่นมือเข้าช่วยทีโอทีกับกสท เจรจากทช.วันที่ 11 ต.ค.นี้ เรื่องค่าธรรมเนียมมหาโหด ที่ทำกสทถึงกับเจ๊งและทีโอทีถึงกับเอียง ด้านพนักงาน ทีโอทีกดดันสหภาพฯ ล่า 400 รายชื่อหวังเปิดประชุมใหญ่ถอดถอนประธาน หลังสหภาพฯละเลยปกป้องผลประโยชน์องค์กร แตกแยกทะเลาะวิวาทถึงกับกรรมการวางมวยกันเอง
นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ประธานคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าในวันนี้ (10 ต.ค.) คณะกรรมาธิการฯจะเข้าหารือกับบริษัท กสทโทรคมนาคม เกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกิดจากภาระค่าธรรมเนียมตามใบอนุญาตของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ภายหลังจากที่หารือกับบริษัท ทีโอที เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของทีโอทีได้ฝากเรื่องให้คณะกรรมาธิการฯไปหารือกับกทช.ในหลายๆประเด็นสำคัญอย่างภาระที่เกิดขึ้นตามใบอนุญาตที่ทีโอทีและกสทได้รับจากกทช.ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่ามีภาระที่ต้องจ่ายมากเกินไป โดยทีโอทีในปีแรกต้องจ่ายราว 5 พันล้านบาท จากเงื่อนไขค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3% จากรายได้ค่าธรรมเนียม การให้บริการโทรคมนาคมทั่วถึงหรือ USO 4% จากรายได้ค่าธรรมเนียมเลขหมายปีละ 12 บาทต่อเลขหมายรวมทั้งค่าธรรมเนียมความถี่
นายวิชิตกล่าวว่า ทีโอทีเห็นว่าค่าธรรมเนียมต่างๆเมื่อรวมกันแล้วมากเกินไป ซึ่งคณะกรรมาธิการจะเข้าพบกทช.ในวันที่ 11 ต.ค.ที่จะถึงนี้ ก็เพื่อหาคำตอบและให้กทช. อธิบายถึงแนวทางการคิดค่าธรรมเนียมว่ามีเหตุผลเช่นไร แต่ประเด็นสำคัญคือเงินจำนวน มากที่เรียกเก็บจาก 2 บริษัทนั้น กทช. มีแผนจะนำเงินไปใช้อย่างไร นอกจากนี้ตามข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ กทช.บอกว่าหากเงินเหลือก็จะนำส่งกระทรวงการคลัง ซึ่งทีโอทีและกรรมาธิการฯก็มีความเห็นตรงกันว่าเป็นเรื่องซ้ำซ้อน เพราะกระทรวงการคลังก็ถือหุ้นใหญ่ในทีโอทีอยู่แล้ว
ทีโอทีนำเงินส่งคลังปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท หากกทช.บอกจะเก็บค่าธรรมเนียมจำนวนมาก ถ้าไม่ได้ใช้จะส่งกลับคลัง ผมว่ามันซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นและเป็นการเพิ่มภาระให้หน่วยงานมหาศาล
ทีโอทียังฝากกรรมาธิการฯไปถามเรื่องบริการไทยโมบาย ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตจาก กทช. หลังจากที่ทีโอทีได้ให้ข้อมูลกทช.ไปหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบจาก กทช. นอกจากนี้กรรมาธิการฯยังได้หารือกับทีโอทีเรื่องค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเนกชัน ชาร์จ ที่เตรียมจะนำมาใช้ว่ามีแนวทางและอัตราเหมาะสมเช่นไร เพราะที่ผ่านมาค่าเชื่อมโครงข่ายได้ถูกศึกษาจากกรมไปรษณีย์เดิมมา ระยะหนึ่งจนกระทั่งมาถึง กทช.ได้ให้ทีโอที และกสทในฐานะผู้รับใบอนุญาตเจรจาหารือซึ่งได้ตกลงกันในเบื้องต้นแล้ว ในอัตรา 1.07 บาทต่อนาทีสำหรับรายได้ของโครงข่ายที่รับ ทราฟิกเข้า
ด้านนายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีกล่าวว่าทีโอทีให้ข้อมูลกรรมาธิการฯไปตามความเป็นจริง ซึ่งถือว่ากรรมาธิการฯก็ปฏิบัติตามหน้าที่ ซึ่งทีโอทียืนยันว่า กทช.เก็บเงินมากเกินไปและไม่มีแผน การใช้เงินที่ชัดเจนนอกจากนี้การที่ กทช.บอกว่าเงินส่วนที่เก็บไปแล้วไม่ได้ใช้จะนำส่งให้คลัง ก็เป็นเรื่องไม่จำเป็นและซ้ำซ้อนเพราะทีโอทีส่งเงินเข้าคลัง 40% หรือ 1 หมื่นล้านบาทรวมภาษี นิติบุคลอีก 4-5 พันล้านบาท รวมแล้วทีโอทีส่งเงินให้คลังปีละ 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท
ประเด็นคือบริษัทไหนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกปีละ 5 พันล้านบาท มันก็ไปไม่รอด ทางแก้ปัญหาคือกทช.ควรมองภาพรวมอุตสาห-กรรมโทรคมนาคมทั้งระบบในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า ต้องคิดในเชิงพาณิชย์ประกอบด้วยว่า จะมีผู้ประกอบการกี่รายและควรคิดค่าธรรมเนียมภาพรวมเท่าไหร่ ซึ่งอาจเหลือเพียง 1 หรือครึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้น "ค่าธรรมเนียมควรเหมาะสม 5 พันล้านมันมากไป สัก 500 ล้านพอรับได้ อย่าลืมว่า ทีโอทีมีคลังถือหุ้น 100% เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ถ้า กทช.เก็บค่าธรรมเนียมอย่างนี้ กสทเจ๊ง ทีโอทีก็เอียง แล้วกทช.พอใจอย่างนั้นใช่หรือไม่"
นายธีรวิทย์กล่าวว่าส่วนเรื่องการใช้อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ ต้องเริ่มจากขั้นแรกก่อนคือการจัดระเบียบโครงข่ายที่ กทช. สามารถทำได้ทันที โดยสั่งการผ่านมายังทีโอทีซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ซึ่งการจัดระเบียบโครงข่ายจะทำให้รู้ว่าทราฟิกส่งไปมามีปริมาณ เช่นไร จากโอเปอเรเตอร์รายไหนไปรายไหน ซึ่ง จะทำให้แก้ปัญหาการบล็อกสัญญาณระหว่างกันได้ รวมทั้งยังเป็นการป้องกันทราฟิกเถื่อนซึ่งปัจจุบันยังมีการลักลอบจำนวนมากที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์จากนั้นขั้นที่ 2 จึงประกาศใช้อัตราอินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ อินเตอร์คอนฯ ที่ใช้ไม่ได้สักที เพราะไม่มีการจัดระเบียบโครงข่ายก่อน ซึ่งแทนที่กทช.จะมาทำเรื่องนี้ก่อน ก็ไม่ทำ
พนักงานกดดันสหภาพฯไร้น้ำยา
พนักงานทีโอทีรายหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพฯทีโอทีกล่าวว่า สมาชิกสหภาพฯกำลังรวบรวมชื่อให้ครบ 400 คนเพื่อขอให้สหภาพฯ เปิดประชุมใหญ่เนื่องจากพนักงานได้รับความเสียหายจากนายจ้างฝ่ายบริหารทีโอทีและองค์กรภายนอกมาแทรกแซง บ่อนทำลายผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างมากมายเช่น การขึ้นขั้นเงินเดือน การคิดโบนัส ปัญหากองทุนบำเหน็จ หรือไม่รักษาผลประโยชน์ของทีโอที ยอมให้บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่นมาแย่งงานในสนามบินสุวรรณภูมิ โดยสหภาพฯได้ละเลยการแสวงหาคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่รักษาผลประโยชน์ดังกล่าว รวมทั้งไม่เปิดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในแต่ละเรื่องให้แก่สมาชิกทราบจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นการดำเนินงานที่ขัดต่อข้อบังคับและกฎหมาย
หลังจากยื่นหนังสือแล้ว สหภาพฯต้องเปิดประชุมใหญ่ภายใน 30 วันตามกฎหมาย พนักงานทนไม่ไหวแล้วกับการบริหารสหภาพฯ แบบสมัครเล่น มือไม่ถึง แตกความสามัคคีถึง กับมีเหตุทะเลาะวิวาทชกต่อยระหว่างกรรมการ ด้วยกันเอง แล้วอย่างนี้จะมาทำอะไรเพื่อพนักงานและองค์กรได้ ซึ่งคาดว่าจะมีการเสนอวาระถอดถอนประธานสหภาพฯด้วย
|
|
|
|
|