Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 ตุลาคม 2548
เฮาส์แบรนด์เปิดเกมบี้รั้งเบอร์สาม ชะตาซัปพลายเออร์รอดต้องท็อปทู             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไลอ้อน (ประเทศไทย)

   
search resources

ไลอ้อน (ประเทศไทย), บจก.
บุญฤทธิ์ มหามนตรี
Food and Beverage
Marketing




"เฮาส์แบรนด์" มาแรงเฉือนคมซัปพลายเออร์ โอกาสสอยบัลลังก์เบอร์สามร่วงมีสูง เศรษฐกิจตกสะเก็ดเร่งเฮาส์แบรนด์เกิด ลามจากสินค้าคอมโมดิตี้สู่ของใช้ในครัวเรือน-สินค้าภายนอก เครื่องปรุงรส ทางรอดซัปพลายเออร์ต้องไต่ขึ้นท็อปทู เบอร์สามเตรียม ปาดเหงื่อหนัก แนะซัปพลายเออร์ปรับตัวเร่งสร้างรอยัลตี้-ความต่าง สกัดผู้บริโภคไหลใช้ของถูก

แหล่งข่าวจากวงการเครื่องปรุงรส เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" เกี่ยวกับสภาพตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคว่า มีโอกาสที่สินค้าเฮาส์แบรนด์ในบางแคธิกอรี จะขึ้นมาเป็นอันดับสามของตลาด ส่วนสินค้าที่มีแบรนด์เป็นของผู้ประกอบการ จะอยู่ในอันดับที่หนึ่งและสองเท่านั้น ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นในบางกลุ่มผลิตภัณฑ์แล้ว ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำตาล กระดาษทิชชู เครื่องปรุงรส และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอีกหลาย กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น ปลากระป๋อง ชาเขียว น้ำยาซักผ้าขาว

ปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้สินค้าเฮาส์แบรนด์ มีโอกาสที่จะขยับขึ้นมาเป็นอันดับสามของตลาดในบางกลุ่มผลิตภัณฑ์ เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม ที่เริ่มชะลอตัวและภายหลังจากที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นส่งผลให้ ราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้นกำลังการซื้อ ของผู้บริโภคลดลง อีกทั้งเชนโมเดิร์นเทรดต่างๆ ยังเรียกเก็บค่าพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น ในภาวะการแข่งขันของตลาดที่มีความรุนแรง ทำให้ผู้ประกอบการต้องยอมจ่ายค่าพื้นที่มากขึ้น ซึ่งเป็นงบลงทุนที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการก็จะต้องขึ้นราคาและทิ้งช่องว่างให้สินค้าเฮาส์แบรนด์ทำตลาด

"เทรนด์ของสินค้าเฮาส์แบรนด์ มาแน่ ข้อมูลจากเอซี นีลเส็น พบว่าคนไทยนิยมใช้สินค้าเฮาส์แบรนด์เพราะมีความคุ้มค่าที่จะจ่ายเงินเป็นอันดับ 7 ของโลกหรือคิดเป็นสัดส่วน 39% อันดับหนึ่งอินเดีย 56% จีน 52% โปแลนด์ 51% นอกจากนี้ จะเห็นว่าเชนโมเดิร์นเทรดเริ่มปรับตัวเอง อย่างต่อเนื่อง โดย 2-3 ปีที่ผ่านมานี้เริ่มสร้างตราสินค้าให้กับสินค้าเฮาส์-แบรนด์ของตนเองมากขึ้น ทั้งชื่อแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ที่เริ่มมีความแตกต่าง จากเดิมบรรจุภัณฑ์หรือชื่อแบรนด์จะมีความคล้ายคลึงกัน อีกทั้งยังขยายมาสู่ผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆเพิ่มขึ้น อาทิ สกินแคร์ ฯลฯ"

พฤติกรรมการซื้อสินค้าเฮาส์แบรนด์ของผู้บริโภค เดิมทีจะซื้อแค่สินค้ากลุ่มคอมโมดิตี้ หรือสินค้าที่ไม่ต้องการความแตกต่างกันมากนัก แต่ตอนนี้ไม่ได้เป็นอย่างนี้อีกต่อไป มีแนวโน้มว่าสินค้าเฮาส์แบรนด์จะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดอันดับสามของกลุ่มคอนซูเมอร์โปรดักต์อย่างอื่น อาทิ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาขัดห้องน้ำ และอื่นๆอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันเฮาส์แบรนด์ก็มีสินค้าเกือบทุกรายการของคอนซูเมอร์โปรดักต์

เฮาส์แบรนด์คืบกินของใช้ภายนอก

ประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับ นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคภายใต้เครือสหพัฒน์ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจทำให้ความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคลดลง และมีแนวโน้มที่กลุ่มเฮาส์แบรนด์จะเข้ามาอยู่อันดับสามของตลาด โดยเฉพาะของใช้ในครัวเรือนรวมทั้งของใช้ภายนอก และสินค้ากลุ่มอาหาร เพราะเป็นสินค้าที่ไม่มีความแตกต่างกันมาก ส่วนผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล แชมพู สบู่ เฮาส์แบรนด์ยัง คงต้องใช้เวลาอีกนาน เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังติดใน เรื่องของภาพลักษณ์ ความปลอดภัย

ที่ผ่านมาเรารู้กันว่าสินค้าเฮาส์แบรนด์สามารถมีส่วนแบ่งเป็นอันดับสองหรืออันดับสามในกลุ่ม สินค้าคอมโมดิตี้ เพราะเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคไม่มีความภักดีต่อตราสินค้า เนื่องจากคุณภาพสินค้าไม่แตกต่างกันมาก อีกทั้งยังหาซื้อง่าย

ปรับตัวหนักสกัดเฮาส์แบรนด์บี้

นายบุญฤทธิ์ กล่าวถึงการปรับตัวว่า สินค้าที่อยู่ในตลาดอันดับสามและรองจากนี้ต้องปรับตัว เน้นการสร้างตราสินค้าและสร้างความภักดีแก่ผู้บริโภค หรือเน้นทำตลาดที่มีความเป็นพรีเมียมมากขึ้น รวมถึงคุณภาพสินค้าเมื่อเปรียบกับเฮาส์แบรนด์จะต้องดีกว่า การสร้างความแตกต่าง ยกตัวอย่าง น้ำตาลมิตรผล ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เมื่อเทียบกับสินค้าเฮาส์แบรนด์ แต่มิตรผลเป็นแบรนด์ที่สร้าง ตราสินค้าให้มีความแข็งแกร่งมาก โดยสื่อสารในโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าต้องจ่ายแพงแพราะอะไร และทำให้เป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคนึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อจะซื้อน้ำตาล จึงเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้นำตลาด

"ข้อได้เปรียบของสินค้าเฮาส์แบรนด์ คือ ไม่ต้องเสียพื้นที่ชั้นวางสินค้า อีกทั้งยังไม่ทำต้องทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทำให้ไม่มีต้นทุนที่ สูงมากนัก เมื่อเทียบกับสินค้าของ ซัปพลายเออร์ จึงสามารถตั้งราคาจำหน่ายถูกกว่าได้ 10-20% นอกจากนี้จะเริ่มเห็นว่าสเตปของเฮาส์แบรนด์เริ่มพัฒนาถึงขั้นการนำชื่อเชนมา การันตีถึงผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค" ตลาดแข่งดุเบอร์ 3 ไล่บี้เบอร์ 2

นายสุวิทย์ วังพัฒนมงคล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทไฮคิวผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องและซอสพริก มะเขือเทศตราโรซ่า เปิดเผยว่า แนวโน้มในอนาคตตลาดเครื่องปรุงรสทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ จะเหลือผู้เล่นรายหลักเพียง 2 รายเท่านั้น คือ ผู้นำตลาด และอันดับสองของตลาด ส่วนอันดับสามจะเป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ ทำให้หลังจากบริษัทเปิดตัวซีอิ๊วโรซ่าลงสู่ตลาด จะต้องทำตลาดในเชิงรุก

ทั้งนี้ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งและขึ้นเป็นอันดับสองของตลาดภายใน 5 ปี มีส่วนแบ่ง 10-12% จากปัจจุบันอันดับสองเป็นภูเขาทอง และง่วนเชียง มีส่วนแบ่ง 10% ส่วนผู้นำตลาด เป็นหยันหว่อหยุ่น ครองส่วนแบ่ง 70% อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าว จะส่งผลให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้น เพื่อช่วงชิงการเป็นผู้นำหรืออันดับสองของตลาด โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องปรุงรส เพราะ สินค้าเฮาส์แบรนด์จะมาแรงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้

ทั้งนี้ จากข้อมูลที่รวบรวมของ "ผู้จัดการรายวัน"พบว่าสินค้าเฮาส์แบรนด์ที่ขึ้นมาเป็นท็อปทรีของตลาด ประกอบด้วย ตลาดน้ำยาล้างจานมูลค่า 2,144 ล้านบาท ซันไลต์ครองส่วนแบ่ง 68.7% ไลปอนเอฟ 20% ที่เหลือ 12% เป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์และแบรนด์เล็ก เช่นเดียวกับตลาดซอสเมืองไทยมีมูลค่ารวมกว่า 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็นซอสหอยนางรมมากที่สุด 800 ล้านบาท มีผู้นำตลาดคือ ตราสามแม่ครัว ถือครองสัดส่วนตลาดมากกว่า 80% ที่เหลือ อีก 20% เป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ และของผู้ประกอบการ และตลาดกระดาษทิชชูมีผู้เล่นรายหลัก คือ คิมเบอร์ลี่ย์ฯครองส่วนแบ่ง 62% ที่เหลือเป็นสินค้าเฮาส์แบรนด์ และ แบรนด์อื่นๆ เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us