Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 ตุลาคม 2548
เฮาส์แบรนด์ไทย ปลุกพฤติกรรมสร้างโอกาสโต             
 


   
search resources

Marketing




จากการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกของ เอซีนีลเส็นที่จัดขึ้นสองครั้งต่อปี ซึ่งเป็นการสำรวจที่ใหญ่ที่สุด โดยสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคมากกว่า 21,100 คน ใน 38 ประเทศ จากยุโรป เอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และแอฟริกาใต้ ได้สอบถามผู้บริโภคทั่วโลกเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อตราสินค้าของซูเปอร์มาร์เก็ต หรือไพรเวทเลเบิล หรือเฮาส์แบรนด์นับเป็นทางเลือกใหม่เมื่อเทียบกับตราสินค้าอื่นๆ ในด้านคุณภาพ ความคุ้มค่าเงิน บรรจุภัณฑ์ และระดับของสินค้า

เปรียบเทียบอัตราเฉลี่ย 68% ของผู้บริโภคทั่วโลก พบว่า ไพรเวทเลเบิลถือเป็นทางเลือกที่ดีเมื่อเทียบกับตราสินค้าอื่นๆ ทั้งนี้ ความคิดเห็นของผู้บริโภคมีสัดส่วนแตกต่างกันมากด้านความนิยมไพรเวทเลเบิลในตลาดที่ตราสินค้าประเภทนี้พัฒนาไปอย่างมากในประเทศแถบยุโรป (78%) แปซิฟิค (78%) อเมริกาเหนือ (77%) และ แอฟริกาใต้ (72%) เปรียบเทียบกับ 64% ของตลาดลาตินอเมริกา และ 51% ของผู้บริโภคในเอเชีย

“การรับรู้และการยอมรับสินค้าไพรเวทเลเบิลในตลาดเอเชียและตลาดที่กำลังพัฒนาอื่นๆกำลังพัฒนาควบคู่ไปกับการเติบโตของโมเดิร์นเทรดในประเทศนั้นๆ เช่น ประเทศไทยอัตราการเติบโตของสินค้าพวกนี้สูงถึง 18% ขณะที่ส่วนแบ่งของโมเดิร์นเทรด เฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคหรือ FMCG อยู่ที่ประมาณ 40% เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากเพิ่งจะคุ้นเคยกับการไปซื้อของตามซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าเป็นประจำ และตราสินค้าพวกนี้ยังเป็นแนวคิดที่ใหม่สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้” จันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด

หากมองในเรื่องความคุ้มค่าสมราคา และคุณภาพเทียบเท่าสินค้าแบรนด์ดัง ผู้บริโภคทั่วโลกมีความคิดเห็นตรงกันในเรื่องคุณภาพและความคุ้มค่าสมราคาของสินค้าไพรเวทเลเบิล โดย 69% เห็นพ้องต้องกันว่าสินค้านั้นคุ้มค่าสมราคา และ 62% คิดว่าสินค้านั้นมีคุณภาพเทียบเท่ากับสินค้าแบรนด์ดัง

เมื่อพิจารณาตามประเทศที่คิดว่าสินค้าประเภทนี้คุ้มค่าสมราคา 7 ใน 10 ประเทศที่ติด 10 อันดับแรก คือ ประเทศทางแถบยุโรป ส่วนอีกสามประเทศ คือ แคนาดา (อันดับ 5, 83%) มาเลเซีย (อันดับ 7, 82%) และออสเตรเลีย (อันดับ 10 , 81%) ส่วนประเทศที่คิดว่าสินค้านั้นไม่คุ้มค่าสมราคา คือ ไทย (25%) และญี่ปุ่น (27%)

อย่างไรก็ตาม คนจำนวน 40% ทั่วโลก (ลาตินอเมริกา 51% เอเชีย 48%) เห็นด้วยว่าไพรเวทเลเบิลไม่เหมาะที่นำมาใช้กับสินค้าประเภทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ ในประเทศไทยจากผลการสำรวจพบว่าแต่ละกลุ่มสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมีส่วนแบ่งตลาดทั้งประเทศเกิน 7% ได้แก่ สินค้าที่อยู่ในกลุ่มสินค้าพื้นฐานทั่วไป เช่น น้ำดื่ม, ข้าวสาร และกระดาษชำระ รวมถึงสินค้าที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลบางชนิด เช่น ใบมีดโกน, ไหมขัดฟัน และกระดาษชำระเช็ดหน้า เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือไพรเวทเลเบิลที่มีการบรรจุหีบห่อดีสามารถเอาชนะใจผู้บริโภคได้ เมื่อการแข่งขันเริ่มมากขึ้น และการรับรู้ถึงความแตกต่างของคุณภาพสินค้าเริ่มแคบลงระหว่างตราสินค้าพวกนี้ และสินค้าจากผู้ผลิต ทำให้บรรดาร้านค้าปลีกจึงเริ่มยกระดับของหีบห่อสินค้า และเมื่อสอบถามถึงคุณภาพหีบห่อสินค้า พบว่า 42% ของผู้บริโภคไม่เห็นด้วยที่สินค้าไพรเวทเลเบิลมีหีบห่อที่ถูก และไม่เป็นที่พึงพอใจ

ทั้งนี้ เนื่องจากภาพลักษณ์ และการให้ความรู้เป็นความท้าทายของร้านค้าปลีกในการพัฒนาตลาดแค่เพียงเพราะสินค้านั้นมีราคาถูกกว่า ไม่ได้หมายความว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำและไม่สามารถซื้อสินค้าแบรนด์ดังๆได้ เมื่อถามผู้บริโภคว่า พวกเขาคิดอย่างไรกับการที่สินค้าไพรเวทเลเบิลนั้นมีไว้เพื่อผู้ที่มีรายได้ต่ำที่ไม่สามารถที่จะซื้อสินค้าแบรนด์ดังๆได้นั้น ค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก 42% นั้นไม่เห็นด้วย

“ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการขาดความเข้าใจในตราสินค้าของร้านค้าปลีกในตลาดที่กำลังพัฒนาเหล่านี้ เช่นในมาเลเซีย และไต้หวัน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมสำรวจเห็นพ้องต้องกันว่าพวกเขามีความรู้เกี่ยวกับตราสินค้าไพรเวทเลเบิลไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเขากล้าลองซื้อสินค้าเหล่านั้น”

ดังนั้น ร้านที่มีสินค้าตราของตนเองควรมีการวางกลยุทธ์ในการสื่อสารกับผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจในตัวสินค้าอันจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพของตัวสินค้าตามมา

“ผลสำรวจของเราแสดงอย่างชัดเจนว่า หากผู้บริโภคได้ใช้สินค้าไพรเวทเลเบิลอย่างต่อเนื่อง และหากห้างสรรพสินค้ามีการจัดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ที่หลากหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์มากขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนารูปแบบหีบห่อสินค้าให้ดูมีราคาก็จะทำให้ผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดีต่อสินค้าที่มีตราสินค้าเหล่านี้มากขึ้น

ในทางกลับกันในตลาดที่ตราสินค้าไพรเวทเลเบิลยังไม่พัฒนาไปมากนัก ผู้บริโภคก็จะมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าพวกนี้น้อย โดยสรุปจากการดูหีบห่อ และราคาว่าสินค้าไพรเวทเลเบิลนั้นมีคุณภาพต่ำกว่า และมีไว้สำหรับผู้บริโภคที่ไม่สามารถซื้อสินค้าแบรนด์ดังๆได้” กรรมการผู้จัดการ เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าว

จากข้อมูลการสำรวจข้างต้น หากพิจารณาเปรียบเทียบกับการขยายตัวของสินค้า ไพรเวทเลเบิลในไทย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เฮาส์แบรนด์ พบว่า มีการตอบรับค่อนข้างดี เห็นได้จากโมเดิร์นเทรดแต่ละแห่งเพิ่มจำนวนสินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเข้ามาจำหน่ายนับพันรายการ ไม่ว่าจะเป็น เทสโก้โลตัสที่เพิ่มไลน์สินค้าเฮาส์แบรนด์จาก 300 รายการเมื่อปี่ผ่านมา ขึ้นมาเป็น 1,400 รายการ และในปีหน้าจะเพิ่มอีก 1,000 รายการ ในกลุ่มของเล่นเด็ก สินค้ากีฬา เครื่องนอน เครื่องสุขภัณฑ์ เสื้อผ้า และสินค้าสวยงาม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาแบรนด์ของเทสโก้มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 60% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคคนไทยเริ่มให้การยอมรับในเรื่องคุณภาพและราคามากขึ้น

สำหรับตัวแปรที่เป็นชนวนให้สินค้าเฮาส์แบรนด์ หรือไพรเวทเลเบิลได้รับความสนใจจากผู้บริโภคคนไทยมากขึ้นในช่วงเวลานี้ ตามความเห็นของ จริยา จิราธิวัฒน์ รองประธาน ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ คือ ในยุคภาวะน้ำมันแพง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคจะเปลี่ยนความคิดหันมารู้สึกดีต่อสินค้าเฮาส์แบรนด์ได้ง่ายและมากขึ้น

ด้วยเหตุฉะนี้ ทำให้บิ๊กซีต้องเพิ่มจำนวนสินค้าเฮาส์แบรนด์จาก 300-400 รายการ ขึ้นมาเป็น 1,600 รายการในช่วงกลางปีที่ผ่านมา เพื่อให้ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท ไม่ใช่จำเพาะสินค้าคอมมอดิตี้เหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับสินค้าเหล่านี้เป็นการเฉพาะอีกด้วย ปรากฏว่าในช่วงมีนาคมที่ผ่านมาสินค้าเฮาส์แบรนด์ของบิ๊กซีมีอัตราเติบโตถึง 1,000%

หรือแม้แต่คาร์ฟูร์ก็เพิ่มจำนวนแบรนด์ของตนขึ้นเป็น 1,000 รายการ จากเดิมที่มีอยู่ 700 รายการ ภายใต้ 5 แบรนด์ คือ คาร์ฟูร์ แบรนด์สินค้าอุปโภค-บริโภค , เฟิรส์ทไลน์ แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า , ฮาร์โมนี่ แบรนด์สินค้าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย , เอบีซี แบรนด์สินค้าของเด็กเล่น และนัมเบอร์วัน แบรนด์เครื่องกีฬา ซึ่งเป็นเฮาส์แบรนด์ที่ใช้ทั่วโลก

นี่คือความเคลื่อนไหวล่าสุดของเฮาส์แบรนด์ในเมืองไทยที่กำลังจะยกโขยงเข้าไปรุกพื้นที่สินค้าแบรนด์เนม ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ผู้บริโภคมีเงินในกระเป๋าสตางค์น้อยลง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสนใจกับสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่อง Value for money ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเอื้อต่อการเติบโตของสินค้าเฮาส์แบรนด์ยิ่งนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us