Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 ตุลาคม 2548
ก่อสร้าง "Middle East" บูม "เฟดคอน"ชวนทัพรับเหมาบุก - กวาดเงินปีละ 3หมื่นล้าน             
 


   
search resources

Construction
สหพันธ์ธุรกิจบริการออกแบบและการก่อสร้างแห่งประเทศไทย (เฟดคอน)




"Middle East" ขุมทรัพย์ใหม่ภาคธุรกิจบริการ-ก่อสร้างไทย หลัง "เฟดคอน"สร้างชื่อเสียงในโครงการฮาหมัดเมดิคอลเซ็นเตอร์ ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เสนอขอรัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อการหางาน และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อผลักดันให้บริษัทคนไทย แข่งขันกับต่างชาติได้ มั่นใจสร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ด้าน"ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น" จับมือยักษ์ใหญ่ในจีนเจรจางานวางท่อก๊าซ ส่วนบริษัทไทยรวมกลุ่มพันธมิตรเตรียมบุกงานก่อสร้าง "กาตาร์-ดูไบ-อาบูดาบี"

"เฟดคอน" สหพันธ์ธุรกิจบริการออกแบบและการก่อสร้างแห่งประเทศไทย (Federation of Design and Construction Services of Thailand) เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ 9 สมาคมวิชาชีพ เพื่อสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย ไปรับงานในต่างประเทศ เนื่องเพราะมั่นใจว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศมหาศาล

"เฟดคอน"โด่งดังกาตาร์

เฟดคอน ได้งานชิ้นแรกมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท คือการออกแบบและควบคุมงานโรงพยาบาลฮาหมัดเมดดิคคอลเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านนักกีฬา "โดฮาเกมส์" และหลังเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ปี 2006จะได้มีการปรับปรุงให้เป็นศูนย์กลางด้านการรักษาพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดของตะวันออกกลาง โดยกาตาร์ได้ติดต่อกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ของไทย เข้ามาวางระบบการบริหารและจัดการด้านการรักษาพยาบาลแล้ว

อย่างไรก็ดีการเข้ามารับงานระยะแรกของ "เฟดคอน"เมื่อปี 2002 ต้องประสบปัญหาในการทำงานระหว่างเฟดคอน กับ ผู้ว่าจ้างคือกระทรวงเกษตรและเทศบาลของกาตาร์ เพราะไม่มั่นใจในศักยภาพของนักออกแบบไทย รวมไปถึงProject Management จากอเมริกาของทางกาตาร์ ที่มีปัญหากับเฟดคอน ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ตลอด ส่งผลให้การทำงานยุ่งยากและต้องเริ่มต้นใหม่ตลอดเวลา ขณะที่ทีมงานของไทยหลายคนก็เริ่มถอนตัว

"ชื่อเสียงเฟดคอนตอนนั้น เสียหายมาก กระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย พวกเราก็พยายามสู้ เพราะนี่คือด่านแรกที่จะทำให้บริษัทคนไทยเข้ามารับงานที่นี่ได้อีกมากเพราะกาตาร์ กำลังพัฒนา รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลางด้วย" สมัย ลี้สกุล กรรมการและเลขาธิการเฟดคอน ระบุ

"Post -Tension" สุดยอดนวตกรรมไทย

ปัจจุบันชื่อเสียง เฟดคอน นอกจากจะเป็นที่ยอมรับของทางกาตาร์แล้ว ยังได้สร้างชื่อเสียงในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างระบบ Post -Tension ที่กาตาร์ไม่เคยรู้จักและไม่เคยทำมาก่อนให้เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่นิยมแพร่หลายในขณะนี้

"Post-Tension เป็นระบบสมัยใหม่ในการดึงลวด เป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงขนาดบางเท่ากันตลอดแผ่น และมีขนาดบางกว่าระบบพื้นคานคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงช่วยประหยัดโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ฐานราก ผนัง คล่องตัวในการจัดแบ่งพื้นที่ ทำให้ค่าก่อสร้างถูกลง 15-20% เมื่อเทียบกับการก่อสร้างในระบบเดิมและร่นระยะเวลาในการสร้างได้ จากเดิม 21 วันต่อ 1 ชั้นเหลือเพียง 7-10วันต่อ1ชั้น"

อุดร จันทร์ผ่อง ผู้เชียวชาญระบบPost -Tension จากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นผู้ประสานงานด้านวิศวกรโครงสร้าง ของเฟดคอนประจำโดฮา กล่าว และบอกด้วยว่า ขณะนี้งานก่อสร้างอาคารสูงทั้งที่พักอาศัย ออฟฟิศสำนักงาน โรมแรมต่าง ๆที่กำลังก่อสร้างในกาตาร์นิยมนำระบบ Post -Tension ไปใช้

"ทักษิณ" เยือนกาตาร์ดึงงานเข้าไทย

วีระกร คำประกอบ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยี่ยมชมไซท์งานของเฟดคอน ที่กรุงโดฮา และการพัฒนารัฐดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 23-27 กันยายน ที่ผ่านมา กล่าวว่าการเดินทางมาครั้งนี้ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของเฟดคอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันแม้จะมีอุปสรรคหลายประการที่รอการแก้ไข แต่ก็มองเห็นอนาคตว่าภาคธุรกิจก่อสร้างของไทยมีโอกาสที่จะมารับงานที่นี่ รวมไปถึงที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

"ข้อมูลที่ได้รับครั้งนี้จะสรุปเป็นรายงานเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกฯมีกำหนดการที่จะเดินทางมากาตาร์ เพื่อพบปะระดับผู้นำ และถือโอกาสพูดคุยเพื่อสนับสนุนให้คนไทยเข้ามารับงานได้มากขึ้น ประเทศของเขารวย กำลังพัฒนาInfrastructure รวมไปถึงโครงการพัฒนาที่ดินมากมาย และอาจถือโอกาสเยี่ยมไซท์งานของเฟดคอน"

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่ารายงานที่สรุปเสนอนายกฯนั้นจะมีส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงข้อเรียกร้องของเฟดคอนที่ต้องการให้ รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการเงินทั้งในรูปของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการหางานในตลาดประเทศ และการจัดทำPackage Lone ในรูปสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยรัฐอาจจะใช้แบงก์รัฐ เช่นกรุงไทย ออมสิน เป็นผู้ให้การสนับสนุน เพราะหากผู้ประกอบการคนไทยมีทุนเพียงพอจะสามารถเข้ามาแข่งขันกับต่างชาติที่เข้ามาบุกงานที่นี่ได้

"รัฐสามารถช่วยได้ตั้งแต่เมื่อเขาได้งานและมีสัญญามาเสนอ ก็ออกBond วงเงิน 10% ของค่างานค้ำประกันให้ เพราะหลายประเทศที่รัฐให้การสนับสนุนสามารถเข้ามาแข่งขันได้งานมาก"

นอกจากนี้จะต้องมีการหารือในเรื่องของการจัดส่งแรงงาน ซึ่งกรมแรงงาน จะต้องเข้าไปดูช่องทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดส่งแรงงาน รวมไปถึง การไปศึกษา ระเบียบ กฎหมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงานและบริษัทก่อสร้าง เพราะทั้งหมดนี่คือหนทางในการนำเงินตราเข้าประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 2-3 หมื่นล้านบาท

"หากเราได้งานออกแบบ โอกาสได้งานก่อสร้างก็จะตามมา การส่งออกวัสดุจากไทยจะมากขึ้น รวมไปถึงแรงงานระดับผู้เชี่ยวชาญวิศวกร สถาปนิก ไปจนถึงแรงงานฝีมือและไร้ฝีมือ เช่นงานออกแบบโรงพยาบาลฮาหมัดเมดดิคคอลเซ็นเตอร์ ก็เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์Cotto ทั้งโครงการมูลค่า 200-300ล้านบาท บริษัท Powerline ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้งานระบบส่งคนงานมากว่า 1พันคน บริษัท PBL เป็นผู้ริเริ่มระบบ Post-Tension มีคนงานไทยมากมูลค่างานกว่า 400ล้านบาท"

ส่วนปัญหาที่ต้องช่วยเฟดคอนเร่งด่วนขณะนี้ ก็คือในเรื่องของเงินกู้ที่ติดชำระแบงก์กรุงไทยและเงินส่วนอื่น ๆ วงเงินกว่า 300 ล้านบาท ที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาเพราะหากเฟดคอนสามารถจัดการเงินก้อนนี้ได้จะทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำงาน

อิตาเลียนไทยรับงานกาตาร์

สมัย ลี้สกุล กรรมการและเลขาธิการเฟดคอน กล่าวว่า ปัจจุบันเฟดคอนบริหารและจัดการงานมีลักษณะคล้ายมูลนิธิซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการที่จะทำให้องค์กรเติบโตและบุกงานในต่างประเทศ จึงได้มีการหารือและต้องการยกบทบาทเฟดคอนเป็น "สถาบัน" และดึงมืออาชีพที่มีความพร้อม ความชำนาญและเชี่ยวชาญเข้ามาเป็นผู้บริหารสถาบัน

"คนที่เข้ามานั่งบริหารต้องเก่ง มีผลตอบแทนสูงให้กับเขา พวกนี้จะทำหน้าที่บุกงานในต่างประเทศ จากนั้นบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปรับงานได้ ซึ่ง เฟดคอนภาพลักษณ์ใหม่จะ ทำหน้าที่เป็นโปโมเตอร์"

เขา บอกว่า ขณะนี้มีบริษัทสถาปนิก วิศวกร และควบคุมงาน หลายบริษัทได้รวมกลุ่มกัน ในนามเทวานันทน์ จะไปรับงานในกาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทีรัฐดูไบ และอาบูดาบี เพราะที่นี่กำลังมีการพัฒนาประเทศจึงมีการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายทั้งในเรื่องของระบบสาธารณูปโภค ถนน สนามบิน และอาคารสูง

"งานสร้างถนนจากกาตาร์ ไปบาห์เรน กำลังเป็นที่สนใจของวงการก่อสร้างและเป็นโอกาสของบริษัทไทยมาก"

นอกจากกลุ่มเทวานันทน์ ที่จะเข้าไปรับงานแล้ว สมัย ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนของบริษัทChina Petroleum Pipeline Bureau (CPP) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในการวางท่อก๊าซของจีน ปัจจุบันได้ร่วมทุนกับบริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) วางท่อก๊าซของปตท.จากวังน้อย-แก่งคอย ไปติดต่อและเจรจางานวางท่อก๊าซที่กาตาร์ เนื่องจากกาตาร์เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และกาตาร์มีนโยบายที่จะวางท่อและเชื่อมต่อระบบท่อก๊าซให้ครบวงจร

ปัจจุบัน บริษัทอิตัลไทย ได้เข้าร่วมประมูลก่อสร้างอาคารสำนักงานสถาบันการเงิน สูง 52 ชั้น มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ที่กาตาร์ ซึ่งจะรู้ผลการประมูลในราวเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยบริษัทเข้าแข่งขันส่วนใหญ่เป็นบริษัทรับเหมาของญี่ปุ่นและจอร์เดน

เปิดแผนพัฒนากาตาร์ 7 แสนล้าน!

วรวีร์ วีระสัมพันธ์ เอกอัตรราชฑูตไทย ประจำกรุงโดฮา กาตาร์ กล่าวว่า กาตาร์เป็นประเทศที่น่าเข้ามาลงทุนและกำลังเติบโตซึ่งเศรษฐกิจของกาตาร์มีการขยายตัว (จีดีพี) 20.5% มูลค่า 28,500ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าเป็น 69,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ภาครัฐต้องเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศเพื่อรองรับกับการขยายตัว ซึ่งเม็ดเงินทั้งหมดกว่า 1900 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2552

โดยหน่วยงานที่ดูแลการก่อสร้างของกาต้าร์ได้จัดทำแผนการก่อสร้างปี2548-2552 มูลค่า 1,815 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จัดเป็นการก่อสร้างและพัฒนาถนนสายต่างๆ ก่อสร้างระบบระบาย ก่อสร้างอาคารต่างๆ กำหนดแล้วเสร็จ ปี 2552

รวมทั้งมีการลงทุนพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมที่เมือง Meisaeed มูลค่า386 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วจะทำการพัฒนาโรงงานในเครือ Qatar Petroleum มาตั้งอยู่ในเขตเมืองอุตสาหกรรมนี้ โดยในเมืองจะมีการก่อสร้างที่พรั่งพร้อม ทั้งถนน ท่าเรื่อ ที่พักผ่อน ศูนย์พาณิชย์ละการแพทย์ โรงบำบัดน้ำเสีย

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของกาตาร์ มูลค่าโครงการ 2500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ คือโครงการ Pearl-Qatar ด้วยการถมทะเลมีชายฝั่งยาว 30 กม. เนื้อที่2,500 ไร่ เพื่อเป็นที่พักอาศัยและให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน มี บริษัท United Development Company ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในกาตาร์เป็นผู้ดูแล คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2552 โดยภายในโครงการจะประกอบด้วยที่พักอาศัยระดับหรูหราจำนวน 30,000 หลัง โรงแรม 5 ดาว 3 แห่ง และศูนย์พาณิชย์ ศูนย์การศึกษา

ในด้านการท่องเที่ยวกาตาร์เตรียมลงทุน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายตัวทางการท่องเที่ยว โดยลงทุนก่อสร้างท่าอากาศยานโดฮาแห่งใหม่ มูลค่า 5,500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยจะต้องถมทะเล 40%ของพื้นที่ท่าอากาศยาน จากเนื้อที่ 10,625 ไร่ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คาดว่าช่วงแรกจะแล้วเสร็จปี 2552 และส่วนที่สอง แล้วเสร็จปี 2558 และส่วนที่เหลือสำหรับการก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ในการเชื่อมเส้นทางระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน กาตาร์และบาห์เรนร่วมกันสร้างถนนเชื่อมระหว่างทั้งสองประเทศ มูลค่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐชื่อว่าถนนแห่งมิตรภาพ Jistr al Mahaba ระยะทาง 45 กม. อีกทั้งตอนนี้กาตาร์กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงระหว่างบาห์เรน กาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระยะทาง 800 กม.มูลค่า 12,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เส้นทางดังกล่าวจะเป็นรถไฟระบบแม่เหล็ก วิ่งความเร็วสูงสุด 550กม/ชม.และมีการพิจารณาเชื่อมเส้นทางไปยังคูเวตและโอมาน ทำให้อาจมีเส้นทาง 2,000 กิโลเมตร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us