|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เส้นทางสู่เวทีโลก คือ โอกาสและความท้าทายของกลุ่มอาเซียนในการเปิดให้โลกได้รู้ว่าอาเซียนก็มีดี มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นโอกาสสำหรับการลงทุน แม้ในกลุ่มประเทศสมาชิกจะมีความต่างในเรื่องขีดความสามารถและความพร้อมก็ตาม แต่บางประเทศก็ไม่มีอุปสรรคสำหรับเรื่องดังกล่าว ส่วนไทยแม้ว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความพร้อมและน่าลงทุน แต่ยังมีบางเรื่องบางจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขโดยเฉพาะในส่วนของตลาดทุน
แม้การประชุม ASEAN Finance Ministers' Investor Seminar ครั้งที่ 2 นี้ จะประสบความสำเร็จและเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคแห่งนี้ แต่ในความสำเร็จนี้ก็เป็นกระจกที่ส่องให้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของประเทศสมาชิกได้ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นจุดอ่อน และเสริมเพิ่มในส่วนที่เป็นจุดแข็ง
อย่างประเทศไทยการประชุมครั้งนี้ทำให้เห็นถึงข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะในเรื่องของการตลาดทุนที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
ย้อนไปที่วัตถุประสงค์ของการจัดงาน ASEAN Finance Ministers' Investor Seminar ในครั้งนี้ก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของกลุ่มอาเซียนให้นักลงทุนทวีปอื่นได้รู้ เห็นถึงโอกาส และศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกในสินค้าหลายประเภท อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหารแปรรูป เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนทั้งในแบบโดยตรงและผ่านตลาดหลักทรัพย์
กล่าวได้ว่าเม็ดเงินที่ต่างประเทศขนมาลงทุนนั้น ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ภาคธุรกิจเติบโต และมีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น นอกจากผลพลอยได้จากการลงทุนโดยตรงแล้ว การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็คึกคักตาม ด้วยการเป็นช่องต่อให้ทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในแถบนี้
และเพื่อจะแสงดให้นักลงทุนต่างประเทศได้เห็นถึงความเคลื่อนไหว และภาพที่ชัดเจนในตลาดหุ้นอาเซียน ในงานประชุมครั้งนี้จึงได้เปิดตัวดัชนีFTSE/ASEAN และ ดัชนีFTSE/ASEAN 40 อันเป็นความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ 5 ประเทศได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งได้เริ่มใช้ในวันที่ 21 กันยายน2548
ดัชนีFTSE/ASEAN และ FTSE/ASEAN 40 นอกจากใช้วัดการเคลื่อนไหวตลาดหุ้นอาเซียนโดยรวม และเพื่ออ้างอิงตราสารทางการเงินแล้ว การเปิดตัวดัชนีนี้ยังเป็นการสร้างแบรนด์ให้อาเซียนในแง่การเป็นอีกทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจ
ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ดัชนีFTSE/ASEAN คำนวณโดยใช้ข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนที่มีมาร์เก็ตแคปสูงสุด 180 บริษัทจากตลาดหุ้น 5 ประเทศ ประเทศที่มีบริษัทใช้ในการคำนวณมากที่สุดคือสิงคโปร์คิดแล้วสูงถึง 40% ตามมาด้วยมาเลเซีย 25% ส่วนไทยนั้นแค่10%ที่เหลือเป็นของอินโดนีเซียและฟิลิปินส์
จากสัดส่วนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ทำไมนักลงทุนถึงได้ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดทุนมากกว่าไทย เช่นเดียวกันในตลาดหลักทรัพย์ FTSE/ASEAN 40 ที่คำนวณโดยใช้บริษัทจดทะเบียนที่มีมาร์เก็ตแคปสูงสุด 40 แห่ง ซึ่งสิงคโปร์ก็มีสัดส่วนสูงสุด ในขณะที่ไทยมีเพียง 6 บริษัทเท่านั้น
จำนวนบริษัทที่ใช้ในการคำนวณดัชนี FTSE/ASEAN และ FTSE/ASEAN 40 ที่สิงคโปร์มีสัดส่วนสูงสุด แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมอันเป็นจุดแข็งที่จะดึงดูนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในตลาดทุนสิงคโปร์
ทนง บอกว่าในเรื่องนี้จึงกลับมาเป็นการบ้านให้ไทยได้คิดต่อว่าแนวทางการพัฒนาตลาดทุนในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่แผนการพัฒนาตลาดทุนในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ก็มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษา โดยตั้งเป้าหมายดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอมเอฟ เพื่อส่งผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งทางไอเอ็นเอฟก็ให้การตอบรับในเรื่องนี้
แม้ตลาดทุนไทยจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกยุคทุกสมัยก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว ตลาดทุนไทยคงต้องใช้เวลาพอสมควรในการแต่งตัว เพื่อให้ภาพออกมาดูดีเป็นที่ดึงดูดสายตาจากนักลงทุนทั่วโลก
|
|
 |
|
|