|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
มีการตั้งคำถามจากเจ้ากระทรวงหลักๆอย่าง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลังถึงแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนระยะยาวจากธุรกิจประกันชีวิตระลอกแล้วระลอกเล่า ที่จะกลายมาเป็นเครื่องมือระดมทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์
กระทั่งถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อหลักในการส่งเสริมการออมระยะยาวที่ภาครัฐจะเพิ่มบทบาทให้เป็นฐานมั่นคงสำหรับการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ
ธุรกิจประกันชีวิตที่ถูกมองว่ายังมีศักยภาพอีกมากที่จะขยายธุรกิจ จึงอยู่ในความสนใจของหน่วยงานหลักที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุน ขณะเดียวกันโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป มีคนสูงอายุมากขึ้นในหลายๆประเทศทั่วโลกก็ยิ่งทำให้ธุรกิจนี้เป็นที่หมายตาของกระทรวงหลักๆที่ทำหน้าที่จัดหาแหล่งระดมทุนที่มีเงินกองสูง แต่ไม่สามารถมองหาแหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูงๆได้
สุนทร บุญสาย กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฟินันซ่าประกันชีวิต มองว่าเงินออมทั้งระบบที่มีอยู่ประมาณ 3 แสนล้านบาท จากภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตปีละ 20% อีกไม่นานจะขยายตัวระดับ 5 แสนล้านบาท ถ้าภาครัฐจัดให้มีกองทุนระยะยาวหรือกองทุนพิเศษสำหรับให้ธุรกิจประกันชีวิตได้ลงทุน ก็ไม่ต้องกู้จากต่างประเทศ
ขณะเดียวกัน ธุรกิจประกันชีวิตก็ถือครองพันธบัตรเพื่อลงทุน บวกกับถือครองระยะยาว ก็จะเป็นการง่ายต่อการนำเงินไปลงทุนในโครงการต่างๆได้ ขณะที่ภาคธนาคารมีการถือครองพันธบัตรเพราะเงื่อนไขการตั้งสำรอง
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาภาครัฐจะให้ความสำคัญกับพันธบัตรออมทรัพย์ ที่เน้นหนักการออมผ่านภาคประชาชนโดยตรงมากกว่า ทำให้ประกันชีวิตไม่สามารถลงทุนพันธบัตรกลุ่มนี้ได้ ตรงกันข้ามกับการออมภาคครัวเรือนที่เริ่มลดลง จากการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยภาครัฐเอง ทำให้การออมขาดการต่อเนี่อง
" การเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีให้กับกองทุน RMF และ LTF ในเงื่อนไขที่กำหนด ประโยชน์จะเกิดกับตัวบุคคล เพราะโฟกัสไปที่คนรายได้สูงเท่านั้น จึงขาดการออมอย่างต่อเนื่อง"
สุนทร แสดงความเห็นว่า เงินออมเริ่มตึงตัว ดูจากสัญญาณที่แบงก์ต่างๆกำลังปรับเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อออกมาดักหน้าไว้แต่เนิ่นๆ
อุตตม สาวนายน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษารองนายกรัฐสนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การออกพันธบัตรระยะยาวสำหรับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ภาคธุรกิจประกันชีวิตมีโอกาสลงทุนได้แน่ แต่แนวคิดภาครัฐคือ ต้องการออกพันธบัตรให้ผู้ลงทุนหลายประเภท รวมถึงลงถึงประชาชนทั่วไปหรือรายย่อย ส่วนประกันชีวิตจะซื้อตรงได้ต้องขึ้นกับกลไกของตลาด
อย่างไรก็ตาม คณะทำงานทื่ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ก็กำลังพิจารณาถึงการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
เช่น ทำอย่างไรจะทำให้กลไกมีสภาพคล่องมากกว่านี้ และระยะเวลาการทำไฟแนนซ์ของโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งภาคธุรกิจประกันชีวิตเสนอให้พันธบัตรมีอายุยาว ขณะที่การออกตราสารแต่ละครั้งต้องพิจารณาเป็นครั้งคราวไป เพราะปัจจัยหลักคือดอกเบี้ยที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น
ขณะที่ปี 2548 ที่ผ่านมา ภาพรวมอุตสาหกรรมประกันชีวิตขยายตัวเพียง 10-11% จากปัจจัยลบ ทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มขยับขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลังๆจึงเริ่มเห็นแนวคิดที่จะรื้อแผนเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีมาใช้อีก เพียงแต่คราวนี้จะเปิดประเด็นถกกันเป็นแบบแพกเกจ
อุตตม บอกว่า การหันมาถกเรื่องการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี อาจเพิ่มโจทย์ใหม่เข้าไปด้วยเป็นกระบวนการผลิต ที่อาจรวมถึงการเร่งผลักดันธุรกิจที่เคยทำประกันภัยกับบริษัทต่างชาติหันมาใช้บริการของประกันภัยในประเทศด้วย เช่น การผลักดันเรื่องกองเรือพาณิชย์นาวีของประเทศให้เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจหันมาทำประกันกับบริษัทในประเทศแทน
|
|
 |
|
|