Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 ตุลาคม 2548
"ชูเกียรติ ยงวงศ์ไพบูลย์" การลงทุนต้องค่อยเป็นค่อยไป             
 


   
www resources

โฮมเพจ เพิ่มสินสตีลเวิคส์

   
search resources

Knowledge and Theory
เพิ่มสินสตีลเวิคส์, บมจ.
ชูเกียรติ ยงวงศ์ไพบูลย์




"ผู้จัดการรายวัน" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ชูเกียรติ ยงวงศ์ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจเหล็กรายแรกของประเทศไทยที่บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ๆของอุตสาหกรรมเหล็ก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์และระบบต่างๆ ในวันนี้เราจะได้ศึกษาถึงอีกมุมมองหนึ่งทั้งการทำงาน การบริหารจัดการด้านการเงิน การลงทุน รวมทั้งแนวคิดในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน

ชูเกียรติ เล่าให้ฟังว่า พื้นเพครอบครัวทั้งฝ่ายคุณพ่อและคุณแม่ดำเนินธุรกิจเหล็กกระป๋องกันมาตั้งแต่สมัยคุณปู่คุณตา จึงทำให้ตั้งแต่เด็กๆ ก็คลุกคลี กับธุรกิจเหล็กมาโดยตลอด นอกจากนี้ทางบ้านยังทำธุรกิจอื่นๆ ด้วยทั้งธุรกิจก่อสร้างและค้าขายผ้า โดยเฉพาะการค้าขายผ้าที่คุณน้าและคุณแม่และ ชูเกียรติ ร่วมกันทำ ถือเป็นการเริ่มต้นการทำงานช่วงแรก ซึ่งหน้าที่แรกเป็นพนักงานบัญชี และช่วยค้าขายผ้าด้วย แม้การทำงานในช่วงนั้นจะไม่หวือหวามากนัก ส่วนเงินที่ได้มาในช่วงนั้นจะเก็บออมในลักษณะฝากเงินธนาคาร

"ในช่วงที่ค้าขายผ้าอยู่สำเพ็ง รายได้ส่วนใหญ่ ของเราจะเก็บออม โดยการฝากธนาคาร ซึ่งพยายาม เก็บเล็กเก็บน้อยไปเรื่อย ทำให้ในขณะนั้นอายุเพียง 18-19 ปี ก็สามารถมีเงินเก็บเป็นแสนๆ ได้แล้ว และยังสามารถซื้อทองให้คุณแม่ได้ด้วย รวมทั้งถือเป็นเงินก้อนหนึ่งที่เราสามารถนำไปใช้จ่ายขณะไปเรียนต่อปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกาด้วย ทำให้เรามีความภาคภูมิใจในตัวเราเองมาก"

หลังจากนั้นก็ไปศึกษาต่อปริญญาตรีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ร่วมกับคุณน้าและพี่ชายทำธุรกิจร้านอาหารไทยและอาหารฝรั่งเศส แม้ช่วงนั้นรายได้จะไม่มากนัก เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง แต่ก็ถือเป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ดี นอกจากนี้ยังทำงานอื่นประกอบด้วย เพื่อหารายได้เพิ่มเติม ทำให้ในช่วงนั้นได้รู้จักการใช้ชีวิตทั้งทำงาน เพื่อหาเลี้ยงตัวเอง ในขณะเดียวกันต้องเรียนหนังสือควบคู่ไปด้วย ส่วนรายได้ที่เข้ามาในช่วงนั้นยังคงเป็นการเก็บออมโดยการฝากเงินกับธนาคารอยู่ เพราะด้วยเป็นคนที่มีนิสัยการออมเงินลักษณะนี้มาตั้งแต่เด็กๆ

"การใช้ชีวิตสมัยศึกษาต่อที่ประเทศอเมริกามันเหมาะกับตัวเรามาก เพราะเราเป็นคนชอบการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย แต่ก็มีสิ่งเตือนใจว่ายังมีสิ่ง ที่ต้องทำอยู่ ในขณะเดียวกันเราคาดหวังในการประสบความสำเร็จในชีวิตไว้ระดับหนึ่ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปูพื้นฐานของตัวเองให้แน่นก่อน โดยพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ และงานใหม่ๆ ในทุกตำแหน่ง ทุกหน้าที่ด้วยตัวเราเองก่อน เพราะเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ในอนาคตเราจะสามารถประสบความ สำเร็จได้"

เมื่อเรียนจบปริญญาตรีก็กลับมาทำงานค้าขายผ้าที่สำเพ็งต่อทำได้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นน้าชายและพี่ชาย ก็แนะนำให้ไปทำธุรกิจเหล็ก จึงได้เริ่มมีกิจการเองในวัยเพียง 23 ปี ในตำแหน่งผู้บริหารบริษัท และมีเงินลงทุนเพียง 6 ล้านบาท โดยการดำเนินธุรกิจในช่วงแรกๆ ต้องมีหน้าที่และภาระต่างๆไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจด้วยกันเอง การบริหารจัดการเงินหมุนเวียนภายในบริษัท ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ท้าทาย

"ผมเป็นคนโชคดี ที่ได้รับคาร์แร็กเตอร์ทั้ง 3 แบบมาอยู่ในตัวผม โดยคาร์แร็กเตอร์แรกได้เรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่ที่พยายามปูรากฐานการดำเนินชีวิต ให้เป็นคนดี ส่วนการที่เราได้คลุกคลีกับคุณตาคุณยาย ทำให้เราได้รู้จักการต่อสู้กับชีวิต การอดออมเงิน และสิ่งสำคัญที่สุด คือ รู้จักกตัญญู ขณะที่น้าชายที่มีความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจต่างๆ ก็สอนวิธีการทำธุรกิจ ดังนั้นประสบการณ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ ถือเป็นส่วนที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง"

จนกระทั่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งธุรกิจเหล็กจะเกี่ยวข้องติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ทำให้ในช่วงนั้นต้องมีหนี้สินเกือบ 200 ล้านบาท แต่เราก็พยายามตั้งสติและค่อยๆ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ระมัดระวังในการทำธุรกิจมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำอีก จนภายในระยะเวลา 5 ปี ก็สามารถปลดหนี้ได้

"การใช้ชีวิตจะแกร่งได้ก็ต้องรู้จักการสู้ชีวิต ซึ่งความแกร่งของชีวิตจะซื้อด้วยเงินตราไม่ได้ต้องรู้จักเรียนรู้และอาศัยประสบการณ์เอง และเมื่อวันหนึ่งเราเจอมรสุมชีวิตหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด เราก็จะมีกำลังใจในการเริ่มต้นต่อไป และจะช่วยสอนให้เราระมัดระวังในการดำเนินชีวิตด้วย"

ชูเกียรติ เล่าให้ฟังว่า ในปัจจุบันยังมีการจัดสรรเงินออมและการลงทุนอยู่เรื่อยๆ อย่างน้อย 20-25% ของรายได้ที่มีอยู่ ส่วนรูปแบบการออมก็มีทั้งซื้อที่ดิน เพราะเชื่อว่ามูลค่าจะสูงไปเรื่อยๆ การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและลงทุนในหุ้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุด การออมเงินต้องพยายามไม่ยืมหนี้ยืมสิน เพราะจะทำให้เราได้เห็น เม็ดเงินจริงๆ ที่เราหามาได้จากน้ำพักน้ำแรงของเรา ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะพยายามเก็บออมเงินให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อใช้จ่ายยามเกษียณอายุ

"ผมเชื่อว่าทุกคนมีความทะเยอทะยาน แต่ผมไม่ใช่เป็นคนโลภมาก เพราะการลงทุนอะไรสักอย่าง ผมถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กให้มีการอดออมและทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนกับการก้าวขึ้นขั้นบันได หากเราก้าวทีละ 3 ขั้น อาจมีโอกาสทำให้เราหกล้มได้มาก แต่ในทางตรงกันข้ามหากก้าวทีละขั้น แม้จะช้าหน่อย แต่จะสร้างความมั่นคงให้กับเรามากกว่า"

สำหรับแนวคิดในการทำงาน จะพยายามไม่เครียดในการทำงาน แม้ว่างานบางชิ้นมันยุ่งยาก แต่ถ้าเราค่อยๆ ทำและฝึกฝนเรื่อยๆ ก็จะทำให้สามารถฝ่าฟันอุปสรรคนั้นๆ ได้ นอกจากนี้การทำงานแบบตรงไปตรงมาและมีความซื่อสัตย์ให้กับคนที่ร่วมงานกับเราก็เป็นส่วนที่ช่วยให้บรรยากาศใน การทำงานและผลงานออกมาดีด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us