|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ศุภวุฒิ" เชื่อเศรษฐกิจไทย-โลก ชะลอถึงปีหน้าชี้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำอีกครั้งหลังสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน คาดอัตราดอกเบี้ยปี 49 อยู่ที่ 4% เงินเฟ้อระดับ 3-4% ย้ำจับตาเศรษฐกิจสหรัฐฯและการขึ้นดอกเบี้ยในภาวะ ขาดดุลงบประมาณ ระวังส่งผลภาวะ ฟองสบู่แตก ขณะที่ไทยต้องเร่งการลงทุนภาคเอกชน ระบุดอกเบี้ย อาร์พีปีนี้อยู่ที่ 3.75% และ 4-4.5% ในปีหน้า ด้าน "ก้องเกียรติ" เชื่อจะมีการย้ายเงินลงทุนเพื่อลดความ เสี่ยงจากความขัดแย้งจากประเทศ ผู้นำชี้ต้องเร่งเพิ่มมูลค่าส่งออก
วานนี้ (6 ต.ค.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาในหัวข้อ "เศรษฐกิจโลกกับการส่งออกไทย"
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการ ผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าว ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในการอภิปรายหัวข้อ "ภาวะเศรษฐกิจโลก แนวโน้ม และผลกระทบ"ว่าเศรษฐกิจโลก ในช่วงครึ่งปีหลัง 2548 และช่วงปี 2549 จะยังอยู่ในช่วงที่จะชะลอตัวต่อไปเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องรวมถึงสาเหตุของความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ประเด็นที่ยังต้องให้ความสนใจแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว ภายหลังความเสียหายจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา เนื่องจากภายในประเทศจะต้องมีการเร่งใช้ จ่ายงบประมาณเพื่อฟื้นฟู ซึ่งจะส่งผลทำให้ตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้โอกาสที่สหรัฐฯจะต้องเผชิญสภาวะฟองสบู่เเตกสูงขึ้น
ขณะที่ในกลุ่มยุโรป การเติบโตจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่รวดเร็วนัก เนื่องจากหลายเรื่องยังไม่มีความชัดเจน เช่น ผลการเลือกตั้งในเยอรมนีที่ไม่ได้ สะท้อนถึงเสถียรภาพของการเมืองภายในประเทศมากนัก
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจของโลก คือ ญี่ปุ่น เนื่องจากระบบ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มกลับมาในทิศทางที่เป็นบวก หลังจากที่ต้องประสบภาวะตกต่ำมาประมาณ 15 ปี และเป็นการเปลี่ยนแปลงจากภาวะเงินฝืดมาเป็นภาวะเงินเฟ้อเล็กน้อย ซึ่งในสัญญาณดังกล่าวจะสะท้อนถึงการปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่จะเข้าลบผ่านยุคดอกเบี้ยต่ำได้อย่างชัดเจน
"ปัจจัยเสี่ยงที่น่าสนใจการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ของสหรัฐฯในช่วงที่พื้นฐานของเศรษฐกิจมีปัญหาจะสะท้อนถึงปัญหาที่แท้จริงเมื่อไหร่ โดยส่วนหนึ่งที่เฟดยังมีความเชื่อมั่น เพราะเชื่อว่าหากมีปัญหาก็สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ในภายหลัง เหมือน ทุกครั้งที่ผ่านมา" ดร.ศุภวุฒิกล่าว
ดร.ศุภวุฒิ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทยคาด ว่าในปีหน้าอัตราการขยายตัวของจีดีพีจะอยู่ที่ระดับ 4% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 3-4% ซึ่งหาก ไม่มีการควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็น โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 7% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 10% ก็สามารถเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจนอกจากการส่งออกภาคการท่องเที่ยวก็น่าจะปรับตัวขึ้น ในส่วนของประเด็นที่นักลงทุนต่างชาติยังให้น้ำหนักเรื่องปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ที่ยังไม่คลี่คลายและยังยืดเยื้อต่อไปก็เป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนของไทยยังคงต้อง อาศัยเม็ดเงินจากการลงทุนของภาคเอกชน โดยปัจจุบันการลงทุนคิดเป็นประมาณ 30% ของจีดีพีซึ่ง ควรจะมีการปรับขึ้นไปที่ระดับ 35% เนื่องจากช่วงวิกฤต ที่ผ่านมาเคยปรับขึ้นไปถึง 40% ของจีดีพี ขณะที่ประเทศที่ภาคการลงทุนสูงอย่างจีน คือเกิน 50% ของ จีดีพี ในอนาคตอัตราการเติบโตจากการลงทุนในสัดส่วนที่มากจะสร้างความน่าสนใจให้กับประเทศจีน
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ย คาดว่าการประชุม ของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 19 ต.ค. และ 9 ธ.ค. จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยคาด ว่าดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันจะอยู่ที่ระดับ 3.75% และมีการปรับขึ้นอีกในช่วงปี 2549 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 4-4.5% ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในอนาคตเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อภาพของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาเศรษฐกิจของสหรัฐฯและเศรษฐกิจยุโรปเป็นกลุ่มที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตในลักษณะทรงตัวจากปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในส่วนของไทยต้องมีการเร่งสร้างผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการแข่งขันกับต่างชาติมากขึ้น เนื่องจากการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญโดยปัจจุบันมูลค่าการส่งออกคิดเป็น 60% ของจีดีพีประเทศ ซึ่งยังสามารถเพิ่มตัวเลขในเรื่องดังกล่าวได้ในอนาคตเนื่องจากภาคธุรกิจของประเทศยังมีหลายอุตสาหกรรม ที่มีจุดเด่นและมีความน่าสนใจในการลงทุน นอก จากนี้ ความขัดแย้งทางการค้าของประเทศผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นกรณีสหรัฐฯ-จีน หรือ กรณีจีน-ญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีการย้ายเงินเข้าไปในประเทศอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงซึ่งประเทศไทยก็ถือว่าเป็น กลุ่มอยู่ในความน่าสนใจ
"การใช้โอกาสให้ถูกที่ ถูกจังหวะ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง นอกเหนือจากเงินทุนในระบบ" นายก้องเกียรติกล่าว
|
|
|
|
|