|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
- ได้กฤกษ์ 'นวดไทยอภัยภูเบศร' สยายปีกเปิดบริการในเมืองกรุง
- ผนวกองค์ความรู้สมุนไพร-หมอนวด ชูจุดขายที่ความต่างภายใต้กระแสธุรกิจแข่งเดือด
- เอกชนเห็นโอกาสเล็งศักยภาพการเติบโต ผนึกความร่วมมือปั้นสาขาต้นแบบนำร่องนวดไทย
- จับตาก้าวย่าง ประตูสู่สากล เล็งเปิดรับสนามบินสุวรรณภูมิ
'นวดไทยอภัยภูเบศร' เป็นบริการใหม่ล่าสุดของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หลังจากสร้างชื่อจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย โดยขยายการให้บริการมายังกรุงเทพฯ ร่วมมือกับภาคเอกชน นับเป็นก้าวที่น่าจับตาของมูลนิธิแห่งนี้ เพราะนั่นหมายถึงความเข้มแข็งของผลิตภัณฑ์และฝีมือหมอนวดไทย อันเป็นองค์ประกอบสำหรับในเชิงรุกเข้าสู่ภาคธุรกิจอย่างเต็มตัวและครบวงจรของการให้บริการการแพทย์แผนไทย
รุกคืบธุรกิจบริการ
ภ.ญ.ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดเผย “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ขณะนี้มูลนิธิมีความพร้อม รุกสู่ภาคการบริการ นำเสนอนวดไทยอภัยภูเบศรขยายตลาดมายังเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นสาขาแรก โดยร่วมกับภาคเอกชน บริษัท อายตะ จำกัด เปิดให้บริการที่ตลาดบอง มาเช่ ย่านประชาชื่น
ทั้งนี้มองถึงความพร้อมของมูลนิธิ ด้วยฐานที่มั่นคงซึ่งประกอบด้วยสินค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรภายใต้แบรนด์อภัยภูเบศร และหลักสูตรการนวดไทย 430 ชั่วโมงและ 372 ชั่วโมง ที่มีการประยุกต์ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มาใช้บริการ ซึ่งความพร้อมขององค์ประกอบทั้ง 2 ส่วนนี้ผนวกรวมกันทำให้นวดไทยอภัยภูเบศรมีความแข็งแรงและชัดเจนด้านการเสนอการบริการที่แตกต่าง
"ด้วยหน้าที่ของมูลนิธิคือการคิดค้น การผลิตสมุนไพรเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน พอฐานในส่วนนี้เข้มแข็งได้รับการยอมรับทั้งผลิตภัณและฝีมือ เอกชนผู้เห็นโอกาสในการต่อยอดเชิงธุรกิจ จึงเกิดความสนใจและเข้าใจในปรัชญาขององค์กรด้วย ซึ่งทางอายตะที่เข้ามาลงทุน ก็ต้องการหาอะไรที่เป็นไทยจริงๆ ไม่ใช่อย่างสปาที่เกิดขึ้นจำนวนมากและเน้นการขายสีสันมากกว่า แต่ของมูลนิธิเราขายความแข็งแรง ประสบการณ์องค์ความรู้ โดยหวังอายตะจะเป็นสาขานำร่องและฝึกหัดของธุรกิจเพื่อก้าวสู่สากลในอนาคต"
สำหรับ จุดแข็งของอภัยภูเบศร
1.มีประสบการณ์ การนวด ไม่ใช่แค่นักผสมท่าจากนวดเฉลยศักดิ์ บีบ คลึงคลายกล้ามเนื้อ นวดราชสำนัก กด นวดเส้น เท่านั้น แต่ยังส่งบุคคลากร เพื่อหาความรู้เพิ่มเติมศาสตร์การนวดที่ประเทศออสเตเรีย ซึ่งทำให้การนวดไทยอภัยภูเบศร เป็นการให้บริการเฉพาะ ด้วยการประเมินผู้เข้าใช้บริการ เพื่อประโยชน์ที่ได้รับจากการนวด และลดอันตรายและผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น และการที่เป็นโรงพยาบาลทำให้หมอนวดได้ฝึกฝนทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกและชุมชน
2. เป็นการนำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับ มาประยุกต์ใช้กับการนวดไทย เช่น สเปร์ฉีดเท้า ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่น
ภ.ญ.ดร. สุภาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า ยังมีแผนขยายนวดไทยอภัยภูเบศรเปิดให้บริการยังสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเชื่อมต่อกับการให้บริการชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานสถานที่ ภายใต้งบประมาณจากยุทธศาสตร์จังหวัดปราจีนบุรีของผู้ว่าซีอีโอ
ด้าน ธวัชชัย โชติสุข ที่ปรึกษามูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ด้วยจุดเด่นของอภัยภูเบศรทั้งสมุนไพร และหมอนวดนั้นที่ได้รับความนิยมอย่างมากเดินทางไปใช้บริการที่ปราจีนบุรี แต่โจทย์การขยายมาให้บริการคนในเมือง ต้องมาคิดการนำเสนอกันใหม่ ด้วยนำจุดขายที่ดีอยู่แล้ว มาเพิ่มนำการนำเสนอที่นำสมัย ด้วยการตกแต่ง ด้วยบรรยากาศที่ไทยร่วมสมัยหรือ Thai Contemporary เพื่อนำเสนอให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย คือคนทำงาน
ขณะเดียวกัน ด้วยบริการนวดไทยอภับภูเบศรนั้นมีหลากหลาย แต่ได้หยิบบริการหลัก 4 อย่างประกอบด้วยนวดตัวแผนไทย (Thai Traditional Massage ) นวดน้ำมัน (Oil Massage) นวดฝ่าเท้า (Food Reflexology) และประคบสมุนไพร (Thai Hot Herbal Compress) ขึ้นมาเป็นจุดขาย
"เราวาง positioning ในการเป็นไทยเทรดดิชั่น นำเสนอบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับสปา แต่ให้บริการนวดไทย ซึ่งถ้ามองในเชิงธุรกิจแล้วเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นอกจากนี้ภายในร้านยังมีการวางจำหน่ายสินค้า โดยจะเน้นไปที่กลุ่มเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นโปรดักส์ที่อยู่ในไลน์ความสวยความงามและสุขภาพใกล้เคียงกับการให้บริการนวดไทย โดยให้วางสัดส่วนภายในร้านเป็นสินค้า 15% และบริการ 75%" ธวัชชัยกล่าว
เอกชนมั่นใจร่วมลงทุน
สุพจน์ แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท อายตะ จำกัด เปิดเผยว่า เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว วงการทัวร์มาก่อนโดยนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทย (inbound) จึงเล็งเห็นโอกาสของการขยายธุรกิจสู่ภาคการบริการในการนวดไทย เพราะมองว่าเป็นจุดขายที่แตกต่างจากที่ปัจจุบันคนนิยมลงทุนธุรกิจสปา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มาจากตะวันตก แต่ขณะที่นวดไทยนั้นเป็นศาสตร์ของตะวันออกและประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในไทยเองดีเป็นที่รู้จักของลูกค้าอยู่แล้ว เพียงแต่การนำเสนอขายที่ต้องร่วมสมัย เหมาะกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
และการเลือกลงทุน โดยใช้โนฮาวน์ของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรีนั้น เพราะแบรนด์ เป็นที่รู้จักด้วยความเข้มแข็งของสินค้าสมุนไพรและการนวดไทย ที่ให้บริการที่ปราจีนบุรี ฉะนั้นจึงเกิดการ่วมมือกันที่จะขยายสู่ภาคบริการเป็นนวดไทยอภัยภูเบศรขึ้นมา โดยอายตะเป็นสาขาแรก
หากมองโอกาสในเชิงธุรกิจแล้ว เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและขายได้ในระยะยาวและยั่งยืน ด้วยฐานองค์ความรู้ของสมุนไพรและฝีมือหมอนวดที่ผ่านการอบรมระดับ 430 ชั่วโมง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อธุรกิจบริการ
สำหรับการเปิดให้บริการที่ตลาดบอง มาเช่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นวัยทำงานและกลุ่มครอบครัวเพราะมีหมู่บ้านหลายโครงการรายล้อมในย่านประชาชื่นที่เป็นที่ตั้ง ขณะเดียวกันเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าเดิมจากที่เดินทางไปใช้บริการที่ปราจีนบุรี
โดยใช้เงินลงทุน 2 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าตกแต่ง 1.5 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน 5 แสนบาท บนพื้นที่ 144 ตร.ม. ให้บริการนวดฝ่าเท้า 6 เตียง นวดตัวแผนไทย-นวดน้ำมัน 6 เตียง และประคบสมุนไพร 2 เตียง คาดระยะเวลาคืนทุนประมาณ 2 ปี
สุพจน์ กล่าวถึงการแข่งขันในพื้นที่ ละแวกย่านประชาชื่นมีผู้ประกอบการที่ให้บริการสปาและนวดไทยทั้งสุขภาพและความงาม ประมาณ 30 กว่าราย แต่ด้วยด้วยจุดขายที่โดดเด่นที่กล่าวมา ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและจากการเปิดให้บริการได้ประมาณ เดือนเศษพบว่ามีฐานลูกค้าใหม่เข้ามาใช้บริการและเกิดการเข้ามาใช้บริการซ้ำสูงถึง 70% ด้วยพอใจในด้านการบริการและราคาที่สมเหตุสมผล ที่อยู่ระหว่าง 250-500 บาท รวมถึงทำเลที่ตั้งของตลาด บองมาเช่ องค์ประกอบของร้านค้าที่หลากหลาย ที่จอดรถ ทำให้เป็นทำเลที่ดีและสะดวกต่อการเดินทาง
ลุยผลิตภัณฑ์เพิ่มช่องทางขาย
ภ.ญ.ดร. สุภาภรณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น ปัจจุบันมูลนิธิได้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.ยา 2.ชาชง 3.เครื่องดื่มสมุนไพร และ4.เครื่องสำอาง โดย ตั้งเป้าการผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดปีละ 1-2 ตัว ล่าสุดในกลุ่มยาผลิตกาซิดีน ยาทาแผลจากเปลือกมังคุด โดยจะเน้นการผลิตกลุ่มยาและเครื่องสำอาง ซึ่งกลุ่มยาจะมุ่งที่ยาสามัญ เพื่อการพึ่งตนเองในประเทศ เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ ยาถ่าย ยานอนหลับ
ส่วนเครื่องสำอางนั้นเป็นสินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน มองในเชิงธุรกิจเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้อย่างดี ขณะเดียวกันวัตถุดิบสินค้ามาจากพืช ผัก ผลไม้และสมุนไพรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ขณะที่กลุ่มชาชงและเครื่องดื่มสมุนไพรนั้นยังต้องพัฒนา และยอมรับว่าการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง
ขณะเดียวกัน ช่องทางการจำหน่ายระหว่างตัวแทนจำหน่ายที่รับสินค้าวางขายทั่วประเทศนั้น กับช่องทางการจำหน่ายผ่านร้านบริการนวดไทยอภัยภูเบศร จะมีการวางจำหน่ายสินค้าที่ชัดเจนและทับซ้อนกันน้อยที่สุด โดยคัดเลือกสินค้าผลิตภัณฑ์ที่เด่นๆ และได้รับความนิยมเข้าวางจำหน่ายที่ร้านบริการ เพราะด้วยเพื่อที่จำกัดและการสร้างรายได้หลักมาจากภาคบริการ
"มองว่ามูลนิธิฯ ดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปหน้าที่เราคือกระตุ้นธุรกิจ กระตุ้นสังคมโดยการพัฒนาสมุนไพร นำภูมิปัญญาไทยมาทำให้หลากหลาย จุดประกายให้สังคม เป็นโมเดล ธุรกิจใหม่ ถ้าธุรกิจเติบโต มูลนิธิก็เกิดรายได้มาพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาชาวบ้าน"
ล่าสุดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านหลักสูตรการนวดไม่หยุดนิ่ง ขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาบูรพา จัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรบูรพา เพื่อผลิตบุคลากรด้านแพทย์แผนไทยวุฒิบัตรระดับปริญญาตรี ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ในอนาคตสามารถเข้าสู่ระบบแพทย์แผนไทย ซึ่งปัจจุบันบุคคกรที่มีความสามารถยังค่อนข้างน้อย ซึ่งจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2549
ซึ่งทุกวันนี้มูลนิธิ สั่งสมองค์ความรู้มามาก เปรียบเหมือนเนื้อในที่ดีแข็งแกร่ง แข็งแรง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการตลาดจะไปของมันได้เอง
จุดเริ่มต้นเพื่อชุมชน
ในปี 2526 โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เข้าไปส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองในชุมชน โดยเภสัชกรเข้าไปเรียนรู้ภูมิปัญญาที่มีแต่ดั้งเดิม สะสมข้อมูล และนำวิจัยพัฒนาเป็นยาขึ้นใช้ในโรงพยาบาล
ในปี 2540 - 2541 ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโรงพยาบาล จึงได้นำภูมิปัญญาที่ได้เก็บรวบรวมไว้และสมุนไพรจากชุมชน มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยเศรษฐกิจชุมชนโดยขยายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ครอบคลุมถึง อาหารเสริม เครื่องสำอาง และเครื่องดื่ม ได้จุดประกายให้ผู้คนในสังคมเห็นคุณค่าของการพัฒนาสมุนไพร บนพื้นฐานภูมิปัญญาและวิชาการสมัยใหม่
โดยยึด มาตรฐานสากลเป็นแนวทางในการพัฒนา ทำให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอภัยภูเบศร ได้รับความสนใจจากต่างประเทศ แต่จากกฎระเบียบทางราชการทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนตำรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ ทางโรงพยาบาล จึงได้จัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรขึ้นมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งรวมการวิจัยและพัฒนาด้านโรงงานผลิตและด้านการตลาด
|
|
|
|
|