เอไอเอสหวังเติบโตธุรกิจบริการเสริม (VAS) แบบยั่งยืน ตั้งหน่วยงานใหม่สำนักพัฒนาคอนเทนต์ด้านบริการสื่อสารไร้สาย วางโพสิชันเป็นซัปพอร์ตเตอร์ให้คอนเทนต์พาร์ตเนอร์เติบโต เคียงคู่ ตั้งเป้ารายได้ของพันธมิตรจะต้องมากถึงระดับ 50% ของรายได้รวม VAS
นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สาย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่าปัจจุบันเอไอเอสมีรายได้จากบริการเสริม (VAS) ประมาณ 12% ของรายได้รวมหรือถ้ามีรายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จะเป็นส่วนของคอนเทนต์-พาร์ตเนอร์ประมาณ 20% หรือ 2 พันล้านบาท โดย ที่เอไอเอส มีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้ในส่วนของคอนเทนต์พาร์ตเนอร์ให้เป็น 50%
"เอไอเอสมีเป้าหมายเติบโตไปพร้อมๆกับคอน-เทนต์พาร์ตเนอร์ โดยที่เรามองว่าตลาดรวมของ VAS ประมาณปี 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท และเป็นตลาดรวมของคอนเทนต์พาร์ตเนอร์ประมาณ 3 พันล้านบาท"
การเติบโตของ VAS เอไอเอสจะใช้ลกยุทธ์ 3 อย่างคือบริการที่หลากหลายราคาที่เหมาะสมและสามารถ เข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะประเด็นการเข้าถึงบริการได้ง่าย นั้น เอไอเอสมีแผนที่จะให้บริการตู้คีย์ออส ประมาณ 20-30 ตู้ เพื่อนำไปตั้งตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ เพื่อเข้าถึงลูกค้าในระดับที่ เรียกว่าเป็น Personal Touch นอกเหนือจากช่องทาง ต่างๆที่เอไอเอสพยายามทำให้ง่าย อย่าง 1175 กด 9 ซึ่งมีลูกค้าใช้บริการมากกว่า 3 แสนรายต่อเดือนแล้ว
"คอนเทนต์ตอนนี้เป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์ประมาณ 84% แต่เรามองว่าคอนเทนต์ด้านอื่นที่เป็น ข้อมูลข่าวสารก็มีโอกาสเติบโตได้ อย่างข้อมูลการพยากรณ์อากาศที่มีคนใช้จำนวนมาก โดยที่เอไอเอส ไม่ใช่แค่เป็นโมบาย โอเปอเรเตอร์ แต่เราจะเป็นซัปพอร์ตเตอร์ให้กับคอนเทนต์พาร์ตเนอร์ของเรา"
เอไอเอสให้ความสำคัญกับคอนเทนต์พาร์ตเนอร์มากถึงกับแต่งตั้งหน่วยงานContent Development โดยมีนายพีรศักดิ์ โกมลารชุน เป็นผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคอนเทนต์ด้านบริการสื่อสารไร้สาย ซึ่งมีเป้าหมายการทำงานร่วมกับพันธมิตร 2 ระดับ ประกอบด้วย 1. กระตุ้นเจ้าของคอนเทนต์ให้พัฒนา text, รูปภาพ, เพลง และวิดีโอให้ตรงกับความต้อง การของลูกค้า โดยเอไอเอสจะรวบรวมคำติชม ความ เห็นของลูกค้าที่เข้ามาทาง AIS call center 1175, ร้าน Telewiz และ wap portal mobileLIFE Plaza ให้เจ้าของคอนเทนต์นำไปปรับปรุงเนื้อหาและบริการ ให้ดีขึ้น รวมถึงส่วนของเอไอเอสเองที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
2.สนับสนุนพันธมิตรที่มีจุดยืนของตัวเองอย่างชัดเจนและมุ่งที่จะเป็น leader in innovationโดยการสนับสนุนของเอไอเอสอาจเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ตลาดร่วมกันการแชร์ customer insight การทดสอบบริการรูปแบบใหม่ก่อนวางตลาดจริง ตลอดจนถึงการสนับสนุนด้านสื่อและกิจกรรมการตลาด โดยส่วนงาน Content Development ของเอไอเอสนั้น จะแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ด้านคือ Content Management เป็นการจัดกลุ่มคอนเทนต์ อะไรที่ได้รับความนิยมก็คงไว้ อะไรไม่มีคนสนใจใช้บริการก็เลิก และอะไรที่ยังขาดก็หาเพิ่ม
Content Operation จะการประสานและวางกลยุทธ์ร่วมกันและ Content Support ในเรื่อง กิจกรรมการตลาดต่างๆ รวมทั้งด้านเทคนิคและข้อมูล รวมทั้งบิซิเนส โมเดลต่างๆ
ล่าสุด ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เอไอเอสได้จับมือกับพันธมิตรทุกราย ออกแคมเปญ Super Surprise Download โดยมีไฮไลต์รางวัล คือ "ดาวน์โหลด ลุ้นรถ" ชิงรถโตโยต้า Fortuner และของรางวัลอื่นๆรวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็น การรวบรวมบริการประเภท Logo, Ringtone ทั้ง Mono, Polyphonic และ True tone, Wallpaper, e-card, Theme, Java Game จากพันธมิตรทั้งหมดที่ให้บริการดาวน์โหลด ผ่านทาง IVR ในกลุ่ม *4 และ *8 ซึ่งเป็นลูกค้าเอไอเอสโดยแคมเปญระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2548
"เอไอเอสยังมีโรดแมปบริการ VAS สำหรับโทรศัพท์มือถือ 3G ไม่ว่าาจะเป็นบริการแบ็กกราวนด์ โทน หรือบริการวิดีโอโฟน โดยคอนเทนต์ที่ให้บริการ ปัจจุบันบางส่วนจะมาวิ่งบน 3G เช่นกัน ซึ่งเอไอเอส มีความพร้อมในเรื่องนี้มาก"
|