Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 ตุลาคม 2548
กูรูแฟชั่นอิตาลีชูกลยุทธ์ ลุยสร้างแบรนด์ไทย             
 


   
search resources

Clothings




“Alberto Incanuti” ผู้เชี่ยวชาญด้านสร้างแบรนด์แฟชั่นจากอิตาลี เตรียมจับคู่ธุรกิจโครงการThai Brand ปูทางแบรนด์ไทยเจาะเอเย่นต์รุกตลาดยุโรปพ.ย.นี้ ทิ้งท้ายรัฐหยุดปล่อยงบฯ เหตุซ้ำซ้อน “กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น” ด้าน “Thai cluster” เดินหน้าต่อเชื่อเห็นผลเร็วๆนี้ ส่วน “ม่อฮ่อม” เล็งทำ exclusive วางตำแหน่งไฮเอ็นด์ติดแบรนด์ Alberto Incanuti Made In Thailand “คลาสสิคโมเดล” เตรียมปรับสินค้าตามคำแนะนำ พร้อมถ่ายทอดความรู้จากกูรูสู่เครือข่าย

เนื่องจากกลุ่มสินค้าแฟชั่นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลมีเป้าหมายต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย และก้าวสู่การสร้างแบรนด์ในตลาดโลก ดังนั้น หนึ่งในแนวทางการผลักดันผู้ประกอบการที่กรมส่งเสริมการส่งออกดำเนินการ คือ การจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาในหลายๆ โครงการ

สำหรับ Mr.Alberto Incanuti ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์สินค้าเสื้อผ้าจากอิตาลี ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์เนมดัง Alberto Incanuti เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญซึ่งดูแล 3โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการ Thai Brand 2.โครงการ Thai Tex Trend & Thai Cluster และ3.โครงการผ้าม่อฮ่อม กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของแต่ละโครงการที่ดูแลอยู่ว่า สำหรับโครงการ Thai Brand ที่ทางไทยได้คัดเลือกผู้ประกอบการซึ่งมีความแข็งแรงอยู่ระดับหนึ่งแล้ว ให้มาสร้างความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

โดยปัจจุบันผู้ประกอบการไทย 7 แบรนด์ที่อยู่ในโครงการนี้ มีพัฒนาการในเรื่องคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ การทำคอลเลคชั่น การสเก็ตช์ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ของสินค้าให้เหมาะกับเทรนด์มากขึ้น เช่น การพัฒนาด้านเทคนิคการเย็บ การตกแต่งสำเร็จ การเพิ่มคุณภาพของสินค้า และวิธีการสื่อสาร ซึ่งมีเรื่อง visual ในการนำเสนอสินค้าให้ลูกค้า เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องนิ่งและมีคอนเซ็พต์ชัดเจน

สำหรับแผนการตลาดที่กำลังจะทำให้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะเป็นการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching)โดยประเมินความเหมาะสมระหว่างเจ้าของแบรนด์ไทยกับเอเย่นต์ที่มิลาน ประเทศอิตาลี ก่อนแล้วระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม แต่ละแบรนด์ต้องนำเสนอตั้งแต่ profile ของบริษัท แบรนด์ และที่สำคัญที่สุดคือราคา และถ้าข้อมูลที่ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดนั้น ทุกอย่างเหมาะสม คิดว่าจะมีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ โดยจะเป็นโอกาสและประสบการณ์ที่ดีของแบรนด์เหล่านี้ที่ได้ติดต่อธุรกิจผ่านเอเย่นต์ ซึ่งเป็นวิธีการขายสินค้าเข้าสู่ตลาดยุโรป และจะได้รู้ว่าควรจะปรับธุรกิจอย่างไรให้ร่วมมือกันได้ในอนาคต

“แน่นอนว่า เอเย่นต์ที่หามาให้ต้องมี power ในตลาด เพราะฉะนั้นในส่วนของเจ้าของแบรนด์ ยังต้องแสดงให้เห็นได้ว่า สามารถทำให้ธุรกิจต่อเนื่องไปได้ ทั้งในเรื่องการส่งมอบสินค้าและคุณภาพคงที่ ไม่ใช่เฉพาะคอลเล็คชั่นแรกที่ทำได้ดี แต่ต่อไปทำไม่ได้แล้ว เอเย่นต์ไม่ยอมรับแน่”

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มโครงการนี้มีการมองไว้แล้วว่าตลาดต้องการอะไร เพื่อให้ 7 แบรนด์ที่ร่วมโครงการก้าวไปในทางนั้น รวมทั้งปัญหาของแบรนด์ไทยที่ทำได้เฉพาะสินค้าที่เหมาะกับฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ก็ได้รับการแก้ไขให้สามารถทำสินค้าที่เหมาะกับฤดูหนาวและฤดูใบไม้ร่วง นอกจากนี้ ยังได้แนะนำแบรนด์ไทยที่รู้จักกันและดีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้อยู่ในโครงการนี้ด้วย เพื่อพัฒนาให้ได้ดีขึ้น

ส่วนปัญหาสำคัญที่เอเย่นต์ยุโรปมองแบรนด์ไทย คือ เป็นแบรนด์ที่ไม่มีคอนเซ็ปต์ เหมือนกับการลอกเลียนแบบมา ซึ่งเป็นเรื่องที่แบรนด์ไทยต้องพิสูจน์ให้เห็น อย่างไรก็ตาม หากการจับคู่ธุรกิจในครั้งนี้สำเร็จ เชื่อว่าจะเป็นการเปิดโลกให้แบรนด์ไทยก้าวไปได้ไกลขึ้น

ย้ำทำตลาดเชิงรุก แนะดีไซเนอร์หาตัวตน

แต่ในปีงบประมาณ 2549 โครงการ Thai Brand จะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลอีกแล้วเนื่องจากเห็นว่าโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นก็มีการส่งเสริมในลักษณะที่คล้ายกัน ในเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลีกล่าวว่า คงจะมีบางแบรนด์ที่อยู่ได้ แต่บางแบรนด์คงจะลำบาก เพราะยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ เช่น ระบบการบริหารต่างๆ และองค์ประกอบที่จะก้าวต่อไป เช่น ทัศนคติของผู้บริหาร ซึ่งไม่ทำการตลาดเชิงรุก รอให้ลูกค้าเข้ามาหา หรือการไม่มีทีมดีไซเนอร์อยู่ในบริษัท ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์

ดังนั้น จึงแนะนำว่า สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ไทยควรจะทำต่อไปเพื่อแก้ปัญหาสำคัญ คือ การทำตลาดเชิงรุก และเมื่อมีการให้ความรู้ แต่ละแบรนด์ต้องให้ทีมแฟชั่นดีไซเนอร์มารับถ่ายทอดความรู้เพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีบางแบรนด์เปลี่ยนดีไซเนอร์บ่อยมาก เช่น 1 Season เปลี่ยน 2 คน

สำหรับภาครัฐหากต้องการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของตนเองนั้นอาจจะสามารถมาให้ทิศทาง (direction) หรือแนวโน้ม (trend) กว้างๆ เป็นข้อมูลได้โดยไม่ต้องลงลงลึกถึงความรู้ แล้วที่เหลือแต่ละแบรนด์ไปพัฒนาต่อเอง เพราะฉะนั้นแต่ละแบรนด์จึงต้องมีทีมดีไซเนอร์เพื่อไปคิดต่อได้

อย่างไรก็ตาม จุดแข็งที่แบรนด์ไทยมีอยู่ คือ ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นแบรนด์หน้าใหม่ในตลาด ซึ่งจะได้เปรียบเพราะตามปกติตลาดชอบของใหม่ๆ อยู่แล้ว

“ส่วนที่อยากจะแนะนำดีไซเนอร์ไทย อย่าไปดูแบรนด์อื่น ให้หาตัวตนที่แท้จริงให้พบว่ามีรสนิยมอย่างไร ความชอบในวัยเด็ก ชอบดูหนังแบบไหน แล้วหลังจากนั้น จึงนำเสนอลูกค้าในความเป็นตัวของตัวเอง นั่นคือจุดยืนของดีไซเนอร์ ส่วนเรื่องเทรนด์ให้มองว่าเป็นเรื่องของข้อมูล แยกกับตัวตนของดีไซเนอร์” ผู้เชี่ยวชาญจากอิตาลีแนะ

ผู้เข้าร่วมโครงการ 7 ราย ได้แก่ 1.แบรนด์ Flip by Jousse บริษัท บูติกนิวซิตี้ (มหาชน) จำกัด 2.แบรนด์ Classic Model บริษัท คลาดสิค โมเดล จำกัด 3.แบรนด์ Grey บริษัท เกรย์ฮาวน์ จำกัด 4.แบรนด์ Intro บริษัท โจเซฟีนา แฟชั่น เน็ทเวอร์ จำกัด 5.แบรนด์ Doitung by Mae Fah Luang 6.แบรนด์ Vanson บริษัท แวนสัน (ประเทศไทย) จำกัด และ7.แบรนด์ Albedo บริษัท เอ็ม.บี.พี จำกัด

ทางด้านโครงการThai Tex Trend & Thai Cluster มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 35 ราย จะเป็นจุดแข็งของไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ เพราะแสดงให้เห็นศักยภาพของผ้าและกลุ่ม OEM ซึ่งเป็นโรงงานของไทย และทำงานด้วยการประสานกันตามความชำนาญของผู้ประกอบการแต่ละราย เพื่อจะนำเสนอ window display เดียวกัน

“สำหรับโครงการนี้ เราพรีเซ้นต์ 3 กลุ่ม คือ Business , Fashion , Trend เราทำตัวสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เราวางไว้ตั้งแต่ต้น เราเชิญลูกค้ามาจากหลายแบรนด์ดัง เช่น Maxmara , Valentino ซึ่งอาจจะซื้อ window ที่เราเสนอไปใส่ไว้ในคอลเล็คชั่นของเขา หรืออาจจะดีไซน์ของเขามาเพื่อมาสั่งจากผู้ผลิตในคลัสเตอร์ ซึ่งมีจุดเสี่ยงตรงที่ หากลูกค้ารายใหญ่มาทดลองสั่งสินค้า หากทำพลาดก็จะเสียความน่าเชื่อถือทันที”

Mr.Incanuti กล่าวว่า โครงการนี้เป็นแนวคิดใหม่ ยังมีจุดอ่อนเรื่องการตลาด แต่เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จได้ในเร็วๆ นี้ และมองว่า Thai Cluster ไม่ใช่เพียงเรื่องเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย แต่หมายถึงอะไรก็ได้ที่ประเทศไทยผลิต แล้วสามารถให้บริการลูกค้าได้ เช่น อนาคตอาจจะรวมถึงเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน ในจุดสูงสุดคือ คลัสเตอร์ของประเทศไทย ซึ่งการพัฒนาต่อไปจะใช้ทั้งการทำเวิร์คช็อป การฝึกอบรม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการ

สำหรับโครงการม่อฮ่อม ผู้เชี่ยวชาญอิตาลีกล่าวว่า เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก เพราะจะสามารถยกระดับม่อฮ่อมไทยในส่วนของผ้าและเสื้อผ้า เป็น Jean of Thailand ด้วยการมีเอกลักษณ์ของไทย และกำลังวางแผนจะนำมาทำเป็น niche market ในระดับบนสุดของแบรนด์ Alberto Incanuti และมีป้ายติดที่สินค้าว่า Made In Thailand ด้วย เพราะเชื่อว่าจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องเซ็นสัญญาเป็น exclusive ให้เฉพาะรายเดียว

“คลาสสิคโมเดล” พร้อมเชื่อมโยงความรู้

สุเมธ พันธุ์แก้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลาสสิค โมเดล จำกัด ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์คลาดสิคโมเดล กล่าวถึงการเข้าร่วมโครงการ Thai Brand ว่า เข้ามาร่วมโครงการนี้ประมาณ 1 ปีเท่านั้น ที่ผ่านมาคิดว่ายังได้รับประโยชน์ไม่มาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญอิตาลี คือ ความรู้เรื่องการวางคอนเซ็ปต์งานดีไซน์ และเทรนด์ของตลาดยุโรป

“แต่ตลาดยุโรปยังไม่ตรงกับงานของคลาสสิคโมเดล เขาบอกว่าของเราสีแรงไป รูปแบบมากไป ความยาวมากไป ซึ่งเราต้องนำไปคิดและทำตามคำแนะนำ เมื่อจะไปเจาะตลาดที่เขาพาไป แต่ไม่ได้คาดหวังอะไร เพียงแต่ทำให้ดีที่สุด ส่วนคอนเซ็ปต์และความเป็นตัวตนที่สื่อออกมา คือ ความสบาย รุ่มร่าม โก้หรู”

อย่างไรก็ตาม ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานำคอลเลคชั่นใหม่ชื่อ Fuchia Summer Breeze ไปแสดงที่งาน Pret a Porter ที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง และเป็นงานเพื่อการเจรจาธุรกิจ ซึ่งได้รับออร์เดอร์กลับมา เพราะสินค้าตรงกับความต้องการของตลาดตะวันออกกลาง ที่สำคัญคือ ดูไบ คูเวต และบาเรนห์ โดยมีบริษัท GST 28 เป็นเอเย่นต์ให้ ซึ่งสอนให้รู้จักวิธีทำสินค้าตามที่ตลาดต้องการ ขนาด สี รูปแบบ และข้อห้ามทางศาสนา เช่น ห้ามมีรูปหน้าคน ตัวอักษรเกี่ยวกับศาสนา แขนยาว กระโปรงยาว เป็นต้น

ส่วนโครงการ Thai Brand แม้จะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนแล้ว ก็จะเดินหน้าไปแสดงสินค้าและหาตลาดในต่างประเทศโดยเฉพาะที่ฝรั่งเศส เพราะก่อนร่วมโครงการทำมาก่อนแล้ว และจะทำโครงการ Ong-or de Lanna โดยจะของบสนับสนุนจากจังหวัด สืบต่อจากโครงการล้านนาแฟชั่นซิตี้ เพื่อส่งทอดความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญอิตาลีไปสู่ผู้ประกอบการทางภาคเหนือที่อยู่ในเครือข่าย และจะขยายผลเพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันมี 10 แบรนด์ เพื่อเป็นพันธมิตรในการพัฒนาธุรกิจร่วมกันต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us