Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 ตุลาคม 2548
กลุ่มน้ำตาลรุกธุรกิจพลังงานทางเลือก "น้ำตาลขอนแก่น-มิตรผล"ผลิตเอทานอล             
 


   
www resources

โฮมเพจ น้ำตาลมิตรผล
โฮมเพจ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.
Energy
น้ำตาลขอนแก่น, บมจ.




"มิตรผล" ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตน้ำตาลไทย รุกธุรกิจพลังงานทดแทนครบวงจร ลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าจากชีวมวล ใช้ชานอ้อย เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าขายกฟผ.กว่า 29 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 47 ทั้งทุ่มงบฯอีกกว่า 1,000 ล้านผุดโรงงานเอทานอลที่จ.ชัยภูมิ และจ.สุพรรณบุรี คาดเริ่มเดินเครื่องจักรผลิตได้ปลายปี ขณะที่ "น้ำตาลขอนแก่น" ทุ่มกว่า 350 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตเอทานอลที่จังหวัดขอนแก่น ตั้งเป้าผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล 150,000 ลิตรต่อวัน จากวัตถุดิบกากน้ำตาล 400 ตันต่อวัน โดยเดินสายผลิตภายในเดือนธันวาคมปีนี้

"กลุ่มมิตรผล" ตั้งโรงไฟฟ้า-ผลิตเอทานอล

ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร ผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนาบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด เปิดเผย ว่า บริษัทมีแนวคิดที่จะนำวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตน้ำตาล มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งชานอ้อย หรือกากเหลือจากการหีบน้ำตาล ซึ่งเดิมมีค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสูงมาก นำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า และโมลาส หรือกากน้ำตาล มาผลิตเป็นเอทานอล สร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล เป็นโครงการแรก ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2540 โดยโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาลที่อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ใช้ชานอ้อย จากโรงงานน้ำตาลที่อ.ภูเขียว และที่อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น เป็นเชื้อเพลิงหลัก พร้อมทั้งรับซื้อเชื้อเพลิงชีวมวลชนิดอื่น เช่น ใบอ้อย ฟางข้าว และแกลบ จากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง มาเป็นวัตถุดิบเสริม เป็นเชื้อเพลิงให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี

กระบวนการผลิตไฟฟ้า จะนำชานอ้อย ไปเผาเป็นเชื้อเพลิง เผาไหม้ ให้เกิดไอน้ำ เพื่อเป็นพลังงานความร้อน หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยมีศักยภาพการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 40 เมกกะวัตต์ ส่วนหนึ่งนำกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลและโรงงานอื่นในเครือมิตรผล และที่สำคัญส่งจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 29 เมกะวัตต์

ดร.พิพัฒน์กล่าวต่อว่า การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล เป็นธุรกิจด้านพลังงานที่น่าสนใจ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชานอ้อย ณ ปัจจุบัน สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ ที่สรรหาพลังงานทางเลือก ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ เป็นพลังงานที่เกิดจากเศษวัตถุดิบทางการเกษตร จัดหาได้ในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเตา มาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าที่อ.ภูเขียว เริ่มส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของกฟผ. มาตั้งแต่ปี 2547

ล่าสุดกลุ่มมิตรผล ได้รุกขยายธุรกิจพลังงาน ตามโครงการผลิตเอทานอล ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ จำนวน 2 โรงงาน เพื่อก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล ที่อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ และอ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี แต่ละโรงงานมีศักยภาพการผลิตเอทานอลสูงถึง 200,000 ลิตร/วัน โดยใช้วัตถุดิบหลักคือกากน้ำตาล จากโรงงานน้ำตาลในเครือมาใช้ในการผลิต

กลุ่มมิตรผล ให้ความสำคัญกับการลงทุนสร้างโรงงานผลิตเอทานอลมาก เฉพาะโรงงานเอทานอล ที่อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ต้องใช้เงินลงทุนเกือบ 1,000 ล้านบาท เพื่อนำเข้าเครื่องจักร จัดซื้อที่ดิน และเตรียมการด้านต่างๆรองรับการผลิตในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะนี้ได้พื้นที่ก่อสร้างอยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาลภูเขียว อยู่ระหว่างการปรับหน้าดิน และจะดำเนินการก่อสร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรต่อไป

ทั้งนี้ คาดว่าโรงงานเอทานอล ที่อ.ภูเขียว จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2549 นี้ โดยบริษัท ตั้งเป้าหมายเริ่มเดินเครื่องจักรผลิตเอทานอล ภายในปีการผลิตน้ำตาล 2549/2550 หรือในช่วงที่เริ่มเปิดหีบอ้อย ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไป โดยใช้วัตถุดิบหลักจาก กากน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลในเครือมาผลิตเป็นเอทานอลโรงงานละ 200,000 ลิตร/วัน หรือมีผลผลิตเอทานอลสูงถึง 400,000 ลิตร/วัน

"น้ำตาลขอนแก่น"ทุ่ม 350ล. ผลิตเอทานอลปลายปี

นายณรงค์ จิตร์น้อมรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายผลิต บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลว่า บริษัท น้ำตาลขอนแก่น ได้รับอนุมัติตั้งโรงงานผลิตเอทานอล จากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงาน และติดตั้งเครื่องจักรบริเวณที่ตั้งโรงงานภายในบริเวณเดียวกับโรงงานน้ำตาลขอนแก่น ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ทั้งนี้ บริษัทฯทุ่มเงินลงทุนกว่า 350 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างโรงงาน และเครื่องจักร ไม่รวมค่าที่ดิน ล่าสุดผลการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร และติดตั้งเครื่องจักร และระบบต่างๆ ภายในโรงงานคืบหน้ามากกว่า 82% คาดว่าภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ระบบต่างๆ จะติดตั้งแล้วเสร็จ พร้อมทดสอบเครื่องจักรประมาณต้นเดือนธันวาคม และสามารถเดินเครื่องผลิตเอทานอลได้ภายในเดือนธันวาคม 48

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า ศักยภาพการผลิตเอทานอล เบื้องต้นได้รับอนุญาตผลิตที่ 85,000 ลิตรต่อวัน ต่อมาบริษัทน้ำตาลขอนแก่น ได้ขอขยายการผลิตเอทานอล เป็น 150,000 ลิตรต่อวัน โดยวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เป็นกากน้ำตาล หรือโมลาส ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากการหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาลขอนแก่น มาใช้ผลิตในโรงงานเอทานอล ที่อยู่ในบริเวณใกล้กัน ซึ่งต้องใช้กากน้ำตาลสูงถึง 400 ตันต่อวัน เพื่อแปรรูปเป็นเอทานอล 150,000 ลิตร ขณะเดียวกันสามารถใช้วัตถุดิบชนิดอื่นเสริมการผลิตในกรณีที่เอทานอลไม่เพียงพอ

สำหรับเครื่องจักรผลิตที่นำมาใช้ผลิตเอทานอล เป็นเทคโนโลยีจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตเอทานอล เครื่องจักรรุ่นที่นำเข้านี้มีความสามารถในการผลิตเอทานอลได้จากวัตถุดิบหลากหลายชนิด ทั้งกากน้ำตาล น้ำเชื่อม มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งข้าวฟ่างหวาน โดยเป้าหมายที่กำหนดไว้จะใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล ณ ปัจจุบันคือ ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นมาก ไม่สอดคล้องกับราคารับซื้อเอทานอล ที่รัฐบาลใช้นโยบายควบคุมราคาไว้ที่ 15 บาทต่อลิตร โดยเฉพาะโรงงานเอทานอลที่ใช้วัตถุดิบจากกากน้ำตาล จะประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าวัตถุดิบชนิดอื่น เนื่องจากราคากากน้ำตาลปี 2548 ปรับตัวสูงขึ้นถึง 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือตันละ 3,600 บาท

นายณรงค์ก ล่าวว่า ราคากากน้ำตาลระดับดังกล่าว กระทบต่อต้นทุนการผลิตเอทานอล ปรับตัวสูงขึ้นถึง 18-19 บาทต่อลิตร ขณะที่รัฐคุมราคาเอทานอลไว้ที่ 15 บาทต่อลิตร ซึ่งไม่สอดคล้องกับต้นทุนผลิตที่แท้จริง โดยผู้ประกอบการผลิตเอทานอลจะเข้าไปหารือกับรัฐบาลเกี่ยวกับราคารับซื้อเอทานอล จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตเอทานอล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us