|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รัฐสั่งหั่นงบเมกะ-โปรเจกต์ เผย 3 แนวทางลดต้นทุนเหลือ 2 แสนล้านบาท ด้าน "พงษ์ศักดิ์" กลับลำทำรถไฟฟ้าสายสีม่วงเข้าบางซื่อ เหมือนเดิม อ้างผลศึกษาแก้จราจรต้องเชื่อมเข้าเมือง แต่สั่งปรับลดขนาดลดงบลง 25%
วานนี้ (5 ต.ค.)สมาคมสถาปนิก สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานปาฐกถาพิเศษ-เสวนา ภายในหัวเรื่อง "Mega Project : เรื่องใหญ่ใกล้ตัว" โดยมีนายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายมานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอัจฉริยะ โรจนะภิรมย์ อดีตนายกสมาคม นักผังเมืองไทย และอนุกรรมการสภาสถาปนิก และ นายประยูร ดำรงค์ชิตานนท์ นายกสมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในการเสวนา
นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลมีแผนจะปรับลดรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย เพื่อเป็นการลดต้นทุนการก่อสร้างและงบประมาณลง เนื่องจากปัจจุบันงบประมาณการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่กำหนดไว้เดิมมีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสอยู่มาก ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงมีแผนที่จะปรับรูปแบบการก่อสร้างเพื่อลดงบประมาณลง
ทั้งนี้ การปรับแบบดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายว่า ให้เร่งหาแนวทางการปรับลดงบประมาณการก่อสร้างลงภายใน 1 เดือน โดยในเบื้องต้น มีอยู่ 3 แนวทางประกอบด้วย 1. การลดระยะความถี่ในการก่อสร้างสถานีจอดรับส่งภายในเมืองลง 2. การถอยร่นศูนย์คมนาคมออกห่างจากตัวเมืองให้มากขึ้น 3. การใช้รถโดยสารเร็วพิเศษ หรือ บีอาร์ที เข้ามาเสริมบริการในพื้นที่บางส่วนก่อน
สำหรับแนวทางลดจำนวนสถานีลง จะทำให้ ลดงบประมาณได้กว่าครึ่งหนึ่ง เพราะแต่ละสถานี ต้องลงทุนสูงเกือบ 1,000 ล้านบาท หากใช้วิธีดังกล่าวจะทำให้ช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้างได้มากว่าครึ่งของวงเงินก่อสร้าง จากที่เคยต้องใช้เงินลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าเกือบ 5 แสนล้านบาท อาจจะเหลือเพียง 2 แสนล้านบาท เพราะการก่อสร้างระบบรางในเขตเมืองต้องใช้ระบบใต้ดินซึ่งใช้งบก่อสร้างต่อกิโลเมตรประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะที่การก่อสร้างระบบรางในเขตพื้นที่ นอกเขตชุมชนใช้งบประมาณก่อสร้างต่อกิโลเมตร ประมาณ 1,000 ล้านบาท ดังนั้นการก่อสร้างควรลดงบประมาณลง เช่น จากที่กำหนดให้ในทุกพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรต้องมีการก่อสร้างสถานีรับส่ง 1 สถานี ก็ให้ปรับลดเป็น ในทุกๆ พื้นที่ 2 ตารางกิโลเมตรให้ก่อสร้างสถานีรับส่ง 1 สถานีแทน
นายคำรบลักขิ์กล่าวว่า ส่วนการถอยร่นการก่อสร้างโครงการศูนย์คมนาคม ออกห่างจากเขตเมืองเพิ่มขึ้นนั้น ข้อดีจะทำให้สามารถประหยัด งบประมาณในการก่อสร้างศูนย์คมนาคมแห่งใหม่ เมื่อเมืองมีการขยายตัว และช่วยลดต้นทุนในการเวนคืนที่ดิน ลดผลกระทบที่เกิดกับวิถีชุมชนและเมือง รวมถึงการลดต้นทุนการใช้ที่ดิน ซึ่งจะทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากที่เกิดจากต้นทุนด้านที่ดิน โดยการถอยร่นศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วย ศูนย์ตากสินจะถอยร่นออกไปอยู่วงแหวนรอบนอก ศูนย์มักกะสันจะถอยร่นไปอยู่ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์บางซื่อจะถอยร่นออกไปอยู่ที่เชียงราก ซึ่งจะสอดคล้องกับการตั้งรัฐสภาแห่งใหม่ในพื้นที่โรงงาน ไทยเมล่อน เดิม ย่านรังสิต
นอกจากนี้ ในส่วนของการนำระบบรถโดยสาร เร็วพิเศษ หรือบีอาร์ทีเข้ามาใช้แทนการก่อสร้างรถไฟฟ้าบางระยะในช่วงแรกที่มีจำนวนการใช้ไม่เหมาะหรือไม่คุ้มทุนนั้น ก็เป็นอีกแนวทาง หนึ่งที่จะเข้ามาช่วงในการลดงบประมาณการก่อสร้างลงไปได้ ทั้งนี้ หากในอนาคตเมื่อจำนวนการใช้ในบางระยะที่นำระบบบีอาร์ทีมาใช้เพิ่มสูงขึ้นก็สามารถปรับใช้เป็นระบบรถไฟฟ้าได้
"พงษ์ศักดิ์" กลับลำทำรถไฟฟ้าสายสีม่วง
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยโครงการระบบขนส่งมวลชนเปิดเผยถึงว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปเส้นทางและรูปแบบการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลว่า จะเร่งรัดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงเดิม คือช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ในรูปแบบของระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) เนื่องจากได้พิจารณาถึงความจำเป็นของเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ใจกลาง เมืองได้และมีแผนก่อสร้างที่ชัดเจนสามารถดำเนินการได้ทันทีแต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบเพื่อให้ประหยัดงบลงทุนและมีการปรับลดขนาด ของสถานีลงด้วย
ส่วนเส้นทางสายสีม่วงจากแครายต่อไปบางเขน นั้น จะดำเนินการแน่นอน ซึ่งเป็นแผนในอนาคตที่จะขยายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงนอก และจะต้องทำเป็นระบบใต้ดินลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง(รังสิต-หัวลำโพง-มหาชัย)ไปยังเกษตรนวมินทร์-ศรีนครินทร์-ปากน้ำ-บางนาและบรรจบกับสายสีเขียว ที่อ่อนนุชเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการเดินทางของประชาชน
ปรับขนาดลดงบ 25%
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงเนื่องจากมีราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับการออกแบบก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าอื่นอย่างเช่น บีทีเอส หรือการออกแบบถนน 6 เลนในเส้นทางบางนา-ตราด ซึ่งได้มอบหมายให้คณะทำงาน ไปพิจารณาปรับลดค่าก่อสร้างโครงการลงอีก 25% จากงบประมาณก่อสร้างเดิมที่ 46,000 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเวนคืน) เช่น ปรับลดจำนวนและขนาดสถานี
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค) รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งให้คณะทำงาน และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งศึกษาออกแบบก่อสร้าง และเปิดประมูลภายในปลายปีนี้เช่นเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต-มหาชัย) ทางคณะทำงานได้มีการศึกษารูปแบบการก่อสร้างให้มีการปรับลดจำนวนรางจาก 10 รางเหลือเพียง 2-3 ราง และอยู่ระหว่างประเมินตัวเลขงบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างซึ่งเชื่อว่าจะสามารถปรับลดวงเงินก่อสร้างได้อีกเกือบ 50% ซึ่งภายในปีนี้จะประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงก่อน และตามด้วยระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีแดง
ออกพ.ร.ก.ตั้งหน่วยงานกำกับ
ส่วนการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลนั้นนายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการก่อสร้างโครงการ อยู่ระหว่างการพิจารณาทางด้าน ข้อกฎหมายซึ่งจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อขอจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแล โดยมอบหมายให้นายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีศึกษารายละเอียดเรื่องนี้และเตรียมที่จะสรุปเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชนกล่าวถึงเหตุผลที่รถไฟฟ้า สายสีม่วงกลับมาใช้แนวบางใหญ่-บางซื่อว่า จากการพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรพบว่าสามารถ รองรับการเดินทางเข้าสู่ใจกลางเมืองได้มากกว่าเส้นทาง จากบางใหญ่-แคราย-บางเขนและมีความพร้อมที่สามารถดำเนินการได้ทันทีซึ่งจะช่วยบรรเทาการจราจรได้มากกว่าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการส่วนเส้นทางจากแคราย-บางเขนก็ให้ศึกษาเป็นแผนขยายต่อไปในอนาคตถือเป็นสายรองที่จะเชื่อมการเดินทางรอบนอก
สำหรับเส้นทางต่อขยายสายสีม่วงต่อขยายช่วงวงเวียนใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ในระยะแรกอาจมีการพิจารณาให้ทำเป็นระบบบีอาร์ทีไปก่อน เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินโครงการ ส่วนเส้นทางสายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ อาจต้องชะลอไว้ก่อน เนื่องจากมีเส้นทางซ้ำซ้อนกับเส้นทางสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-ท่าพระ) และสีเชียวเข้ม (ตากสิน -เพชรเกษม)
ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่า รฟม.กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดเรื่องนี้คาดว่าจะมีการหารือในวันนี้ (6 ต.ค.) นี้ ส่วนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างนั้นเป็นเรื่องของรายละเอียดที่จะต้องมีการหารือกันทั้งข้อเสนอการก่อสร้างให้สถานีอยู่ตรงกลางหรืออยู่ด้านข้าง ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดีและเสียแตกต่างกัน แต่ไม่มีปัญหาเรื่องการเร่งรัดการเปิดประมูลโครงการ ภายในปีนี้
ส่วนหน่วยงานกำกับดูแลที่จะจัดตั้งขึ้นนั้นจะมีอำนาจในการควบคุมดูแลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่รฟม.รับผิดชอบสายสีแดงที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)รับผิดชอบสายสีเขียวที่กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบและรวมถึงรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยน แนวเส้นทางใหม่หมดเพื่อให้รองรับการเป็นจุดเชื่อมต่อ (Feeder) กับเส้นทางรถไฟฟ้าด้วย เพื่อให้การเชื่อมต่อของระบบรถไฟฟ้าทุกระบบเข้าด้วยกันและกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม
|
|
|
|
|