|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ก.อุตสาหกรรมจับมือ ส.อ.ท.วางกรอบการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด ชู 5 เรื่อง เร่งพัฒนาทั้งลอจิสติกส์ คลัสเตอร์ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาตรฐาน และ FTA หวังก้าวสู่ยุทธศาสตร์สูงสุดมุ่งปั้นมูลค่าอุตสาหกรรมโตมากกว่า 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2552 "สุริยะ" ยันไม่เปลี่ยนแปลงภาษีทองแดง พร้อมปรับสถาบันอิสระพนักงานหนาวมีสิทธิ์ถูกยุบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการเข้าพบของคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (ส.อ.ท.) วานนี้ (5 ต.ค.) ว่า ได้หารือแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยทั้งระบบเพื่อเพิ่มการส่งออกและสร้างการจ้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชน โดยมูลค่าของภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงกว่า 3.3 ล้านล้านบาท ในปี 2552 จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท
"ขณะนี้สัดส่วนอุตสาหกรรมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP อยู่ที่ 38.5% และอัตราการจ้างงานอยู่ที่ 17.1% จึงถือว่าเป็นภาคที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก และในเดือนพ.ย.นี้ ที่ประชุมเห็นร่วมกันจะฉลองการผลิต รถยนต์ของไทยครบ 1 ล้านคันอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งจะเชิญนายก-รัฐมนตรีเป็นประธานในงานด้วย โดยเป้าหมายเดิมวางไว้ว่าอุตฯจะมีมูลค่าเป็น 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2552 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า เป้าหมายเดิม" นายสุริยะกล่าว
ทั้งนี้ ส.อ.ท.เสนอปัญหาให้รัฐบาลแก้ไข โดยเฉพาะ เรื่องภาษีทองแดงยังคงยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่า บริษัทไทยค็อปเปอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) จะเสนอให้ปรับเพิ่มในส่วนของภาษีทองแดงบริสุทธิ์ จาก 1% เป็น 10% และเพิ่มภาษีลวดทองแดง จาก 5% เป็น 10% เพราะไม่ต้องการให้ต้นทุนอุตสาหกรรมโดยรวมปรับขึ้น
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้หารือกับ ส.อ.ท.ที่จะมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันโดยจะมุ่ง 5 แผนงานหลักได้แก่ 1. ลอจิสติกส์ ในภาคอุตสาหกรรม 2. การรวมกลุ่มอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4. มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และ 5. การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA โดยเฉพาะ FTA จะต้องหารือในการขอข้อมูลอุตสาหกรรมใดที่พร้อมจะเปิดและไม่พร้อมและกรณีที่ตกลงเปิดเสรีแล้วจะปรับตัวกันอย่างไร
นายสันติ สันติวิลาสศักดานนท์ ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าจะผลักดันให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาห-กรรมสิ่งพิมพ์ - บรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งจะต้องกำหนดแผนปฏิบัติการรองรับที่ชัดเจน การพัฒนาระบบลอจิสติกส์ การพัฒนาเครื่อข่ายอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การร่วมกันดำเนินมาตรการรองรับการเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นต้น โดย กระทรวงอุตสาหกรรม-ส.อ.ท.จะมีการประชุมร่วมกันทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นในการพัฒนา
|
|
 |
|
|