Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 ตุลาคม 2548
กสทป่วนสถานะการเงินโคม่าเงื่อนไขกทช.ส่อต้องเลิกสัญญา             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
Telecommunications




เงื่อนไขค่าธรรมเนียมกทช.ทำพิษ ฐานะการเงิน กสท ถึงขั้นหายนะ หากต้องรับผิดชอบแทน บริษัทคู่สัญญา เพราะทำให้ตัวเลขการเงินติดลบต้องจ่ายแทนเอกชนถึงปีละ 1 หมื่นล้านบาท ชี้ทางออกต้องเลิกสัญญาร่วมการงาน ซึ่งเป็นการตัดสินใจระดับนโยบาย ในขณะที่ทีโอทีก็จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้จากค่าแอ็คเซ็สชาร์จปีละเป็นหมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวจากบริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าเงื่อนไขตามใบอนุญาตที่คณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ออกให้กสท ทำให้ กสท ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 3% ค่าธรรมเนียม บริการทั่วถึงหรือ USO 4% และค่าเลขหมายปีละ 12 บาทต่อเลขหมาย ซึ่งกสทต้องรับภาระแทนบริษัทคู่สัญญาร่วมการงาน รวมทั้งการใช้ค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จระหว่างกสทกับบริษัท ทีโอที จะทำให้ฐานะการเงินโดยเฉพาะเงินสดหมุนเวียนหรือ Cash Flowของกสทสะดุดภายใน 3 เดือน และอาจถึงขั้นล้มละลายภายใน 1 ปี เพราะหลังจากศึกษาตัวเลขการเงินของดีแทค ทีเอออเร้นจ์ ดีพีซีหรือจีเอสเอ็ม 1800 (ของเอไอเอส) พบว่า รายได้ที่ กสท รับจากบริษัทคู่สัญญาเมื่อเทียบกับรายจ่ายให้กทช. จะทำให้กสทติดลบมากถึงปีละ 1 หมื่นล้านบาท

เขาขยายความว่า ฝ่ายการเงินของกสท วิเคราะห์สัญญาร่วมการงานระหว่างดีแทค ทีเอออเร้นจ์ และดีพีซี โดยอาศัยตัวเลขจริง ยกตัวอย่างกรณี สัญญาร่วมการงานทีเอออเร้นจ์มีรายได้จากการดำเนินงานรวมสุทธิ 9,200,790,706.74 บาทซึ่งตามสัญญาต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้ 20% ให้กสท หรือ เท่ากับ1,840,158,141.35 บาท จากนั้น จะเข้าสู่รายการหักลบคือ ค่าภาษีสรรพสามิตจำนวน 1,067,538,403.95 บาท และรายการปรับปรุงค่าเชื่อมโยงโทรศัพท์มือถือจำนวน 74,778,674.99 บาท เท่ากับกสทจะมีรายได้สุทธิจากทีเอออเร้นจ์ ประมาณ 697,841,062.41 บาท

แต่ถ้าคิดตามเงื่อนไขค่าธรรมเนียมกทช.และค่าอินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จ เมื่อทีเอออเร้นจ์ จ่ายส่วน แบ่งรายได้ให้ กสท ตามสัญญา 20% หรือ 1,840,158,141.35 บาทและต้องนำเข้าสู่รายการหักลบ ประกอบด้วยค่าภาษีสรรพสามิต 1,067,538,403.95 บาท ค่าอินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จ 2,714,805,044.12 บาท(โทร.ออกมากกว่าโทร.เข้า 2,537.20 ล้านนาที) ค่าใบอนุญาต 3% จากรายได้ทีเอออเร้นจ์เท่ากับ 350,944,795.57 บาท ค่าUSO 4% ของรายได้ทีเอออเร้นจ์คือ 467,926,394.09 บาท ค่าพิจารณาขอใบ อนุญาต 500,000 บาท ค่าต่อใบอนุญาตปีละ 500,000 บาท ค่าเลขหมายปีละ 90 ล้านบาท ค่าใช้ความถี่ 955,718 บาทและรายการหักเพื่อปรับปรุงค่าเชื่อมโยง โทรศัพท์มือถือ จำนวน 74,778,674.99 ล้านบาททำให้ กสท ติดลบทันที 2927,790,889.69 บาทจากกรณีเดิมที่เป็นบวกเกือบ 700 ล้านบาท

ตัวอย่างการคำนวณดังกล่าวเป็นข้อมูลรายได้ที่เกิดขึ้นจริง ตามสัญญาของทีเอออเร้นจ์ ในระหว่างวันที่ 16 ก.ย. 2546-15 ก.ย.2547 ซึ่งเป็นปีที่ 8 ของสัญญา ซึ่งทำให้เห็นว่าเฉพาะของทีเอออเร้นจ์บริษัทเดียว กสท ต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นทันที ปีละเกือบ 3 พันล้านบาท ซึ่งหากรวมดีแทค ดีพีซี ด้วยตัวเลขจะพุ่งสูงถึงระดับหมื่นล้านบาทต่อปี

แหล่งข่าวกล่าวว่าทางแก้ปัญหาของกสทคือต้อง เป็นฝ่ายขอยกเลิกสัญญาร่วมการงานกับเอกชนแทน เนื่องจากไม่สามารถรับภาระค่าธรรมเนียมของ กทช. แทนเอกชนได้ ส่วนเอกชนเมื่อมีการยกเลิกสัญญาก็สามารถไปขอใบอนุญาตจากทช.ได้ โดยรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวเองทั้งหมด มันอาจถึงขั้นหายนะทางการเงิน ซึ่งในระดับนโยบายต้องหาทางออกได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิกสัญญาจริง ทีโอทีจะเป็นหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบตามมา เพราะรายได้จากค่าแอ็คเซ็สชาร์จปีละกว่าหมื่นล้านบาทที่ได้จากเอกชนคู่สัญญาของกสทจะหายไป รวมทั้งทีโอทียังมีรายได้อีก 50% ที่จะได้รับจากส่วนแบ่งรายได้ของกสทที่ได้จากเอกชนที่จะหายไปเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากยังไม่มีการรีบใช้อินเตอร์ คอนเน็กชั่นชาร์จและเอกชนภายใต้สัมปทานกสทยังต้องจ่ายแอ็คเซ็สชาร์จให้ทีโอทีอย่างปัจจุบันต่อไปกสทก็จะหายนะเร็วและมากขึ้นกว่าการคำนวณข้างต้นเสียอีก

เพราะเงื่อนไขของกทช.บังคับให้กสทจ่ายค่าธรรมเนียมจากรายได้ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ดังนั้นค่าแอ็คเซ็สชาร์จแม้เอกชนจะส่งเงินให้ทีโอทีโดยตรงแต่ก็เป็นการส่งโดยคำสั่งของกสทดังนั้น กทช. จะถือว่าแอ็คเซ็สชาร์จเป็นรายได้ของกสทต้อง นำไปรวมเป็นรายได้เพื่อมาคิดค่าธรรมเนียมด้วย ทั้งๆที่กสทไม่ได้รับเงินก็ตามโดยที่ในปัจจุบันทีโอทีเรียกเก็บค่าแอ็คเซ็สชาร์จจากเอกชนคู่สัญญากสทใน อัตราเลขหมายละ 200 บาทในระบบโพสต์เพดต่อเดือน และ 18%ในระบบพรีเพดต่อเลขหมายต่อเดือน

ตอนนี้ผู้บริหารระดับกลางของกสทเห็นวิกฤต ด้านการเงินข้างหน้าแล้ว อยู่ที่บอร์ดกสทจะทำอย่างไร เพราะการไม่รับรู้ แล้วปล่อยให้เป็นเผือกร้อนของ ซีอีโอคนใหม่ ก็ดูจะเหลือบ่ากว่าแรงเกินไป เพราะเรื่อง การเลิกสัญญาร่วมการงาน ก่อนมีกทช.ดูเหมือนรัฐจะได้ประโยชน์เป็นแสนล้านแต่ไม่ยอมเลิก พอมี กทช. แล้วรัฐอยู่ไม่ได้ แต่ใครจะกล้าสั่งยกเลิกสัญญาร่วมการงาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us