Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 ตุลาคม 2548
แบงก์ชาติจี้เอเอ็มซีรัฐลดหนี้50%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
Loan




ประชาชนที่มีภาระหนี้กับเอเอ็มซีรัฐได้เฮ ธปท.สั่งลดมูลหนี้ 50% ตามกรอบการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน กำหนดชำระ ให้ครบภายใน 6 เดือน หากเกินกำหนดมูลหนี้เด้งกลับเป็น 100% เท่าเดิม ระบุเปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมโดยสมัครใจ ด้านขุนคลัง เผยภาระดอกเบี้ยค้างจ่ายพุ่งเป็นกว่า 2 หมื่นล้านบาท จากเงินต้นแค่ 7 พันล้านบาท ขณะที่การหารือร่วมกับแบงก์ชาติยังไร้ข้อสรุป แต่ยืนยันจะนำเสนอครม. 18 ต.ค.นี้

นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยภายหลังหารือ กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชน ว่า ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันในเรื่องกรอบการดำเนินงานที่จะช่วยเหลือประชาชนรายย่อยที่เป็นหนี้ แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน รวมทั้งยังมีแนวคิดที่จะใช้บริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ หรือเอเอ็มซีเข้ามารับซื้อหุ้นไปบริหารด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้บริหารส่วน ส่วนบริหารทรัพย์สิน 2 สายจัดการกองทุน ธปท. กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือถึงมาตรการป้องกันการเกิดปัญหาพฤติกรรมการเบี้ยวหนี้ ที่เกิดจากการใช้กลไกในการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งจะพยายามให้เกิดปัญหา ดังกล่าวน้อยที่สุด โดยกรอบในการแก้ไขปัญหาหนี้ในครั้งนี้ จะไม่ทำให้กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมจงใจเบี้ยวหนี้ได้รับการเอื้อประโยชน์ โดย ธปท.จะพยายามดูแลให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นสำคัญ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. ได้มีแนวทาง ในการเร่งลดหนี้โดยให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คือบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์การ (บสก.) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท ลดมูลหนี้ให้แก่ลูกค้าลง 50% และกำหนดให้ผ่อนชำระให้หมดภายใน 6 เดือน

ปัจจุบันอัตราการได้คืนหนี้ของเอเอ็มซีส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับ 42-43% หากได้คืน 50% หมดภายใน 6 เดือนถือว่าดีมาก ซึ่งทุกฝ่ายเต็มใจที่จะลดหนี้ลงครึ่งหนึ่ง แต่หากเลยเงื่อนไขคือชำระไม่ได้ภายใน 6 เดือน เงินต้นจะกลับไปที่ 100% และเริ่มชำระหนี้กันใหม่ได้อย่างนี้ถือว่าดีกว่าไม่ได้เลย ขณะที่ความเสียหายได้มีการประมาณการไว้แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถรับมือได้

สำหรับหนี้เอ็นพีแอลที่เข้าข่ายกรณีข้างต้นจะต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อส่วนบุคคล เฉพาะสินเชื่อ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่กู้มาใช้จ่ายซึ่งเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่วนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่ได้เข้าข่ายการแก้หนี้ภาคประชาชน เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 100% และเป็นหนี้ที่มีอยู่ ในเอเอ็มซี บบส. และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นลูกหนี้เก่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤตและส่วนใหญ่ไม่สามารถติดตาม หรือหากติดตามได้กว่าลูกหนี้จะชำระครบต้องใช้เวลานาน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนหนี้สินของธนาคารพาณิชย์รัฐบาลและเอกชนนั้น ธปท.ไม่ได้บังคับให้เข้าร่วมโครงการ ผู้บริหารของแต่ละแห่งพิจารณาเองว่าจะเข้าโครงการนี้หรือไม่ ส่วนกรณีที่ธนาคารกรุงไทยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน คงต้องให้ประธานกรุงไทยพิจารณาเอง

"หากธนาคารพาณิชย์จะเข้าร่วมโครงการก็ได้ แต่เป็นการเข้าร่วมโดยสมัครความใจ ซึ่งหากหลักการ เป็นเช่นนี้ ธปท.ก็ยอมรับได้เพราะไม่มีการบังคับซื้อหนี้ ทั้งนี้มั่นใจว่า การนำหนี้ส่วนนี้มาเข้าโครงการจะไม่ทำให้ผู้กู้มีพฤติกรรมเคยชิน หรือเสียวัฒนธรรมการชำระหนี้ (Moral Hazard) เพราะหนี้ส่วนนี้สามารถตัดมูลหนี้ออกได้ (hair-cut) เนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและเป็นมูลหนี้ส่วนที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว" ผู้ว่า ธปท. กล่าว

นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า "จากตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 พบว่า ลูกหนี้เอ็นพีแอลที่อยู่ระหว่าง กระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีของสถาบันการเงิน มีประมาณ 1 แสนราย มูลหนี้เงินต้นประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเป็นหนี้รายละประมาณ 70,000 บาท ขณะที่ดอกเบี้ยค้างจ่ายตามกฎหมายสูงถึง 20,000 ล้านบาท สูงกว่าหนี้เงินต้นเกือบ 3 เท่า
หากคำนวณว่า สถาบันการเงินเจ้าหนี้ใช้อัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด 18% ต่อปีเท่ากับว่าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 300% ของหนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีแล้วแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข"

สำหรับข้อกังวลเรื่องปัญหาพฤติกรรมการเบี้ยวหนี้ที่เกิดจากการใช้กลไกในการแก้ไขปัญหาหนี้ของภาครัฐนั้น นายทนงกล่าวว่า กระทรวงการคลัง ได้คำนึงถึงและเข้าใจประเด็นนี้ดี แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ปรัชญาของการแก้ไขปัญหา คือ การเข้าไป ดูแลกลุ่มลูกหนี้ที่ยังไม่เคยได้รับการดูแล และเชื่อว่า พฤติกรรมดังกล่าว เกิดขึ้นในหมู่คนรวยมากกว่า คนจนเห็นได้จากตัวเลขหนี้เอ็นพีแอลโครงการหนี้ภาคประชาชน ของธนาคารออมสิน ซึ่งมีอยู่น้อยมาก

นายทนงกล่าวอีกว่า การแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ จะไม่ใช้เงินงบประมาณเลย แต่ขอยังไม่เปิดเผยในรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร เพราะยังไม่ได้ข้อสรุป

นายบุญศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า มูลหนี้จำนวน 7,000 ล้านบาท ยังเป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้นจากสถาบันการเงินในระบบเท่านั้น ยังไม่ได้รวมหนี้บัตรเครดิต และหนี้ในเอเอ็มซี โดยคณะทำงานกำลังพิจารณาข้อมูลเหล่านี้อยู่ด้วย ดังนั้น ตัวเลขหนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ และคงต้องมีการประชุมหารือในรายละเอียดอีกหลายครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ก่อนจะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาในสัปดาห์หน้า และจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไปในวันที่ 18 ตุลาคมนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us