|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ริชมอนเด้" ชูนโยบาย 3 จุดแข็ง พร้อมประกาศ ต้องโตจากการแย่งแชร์ สร้างรอยัลตี้ 3 ปีขย่มบัลลังก์ฮันเดรดฯ-มาสเตอร์ เบลน เร่งเครื่องปั้น 3 แบรนด์ สเปย์-เบนมอร์-โกลเด้นไนท์ผงาดขึ้นเป็น ผู้นำเซกเมนต์สแตนดาร์ด-เซกันดารี เปิดศึกโค้งท้ายอัด 500 ล้านบาท ทำตลาดครบเครื่องทุกแบรนด์รับช่วงไฮซีซัน
นางสาวศนิตา คาจิจิ รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาด บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ฯลฯ เปิดเผยถึงนโยบายทางการตลาด ริชมอนเด้ว่า วางเป้าหมายจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของตลาดสกอตวิสกี้ในทุกเซกเมนต์ภายใน 3 ปี โดยใช้ จุดแข็งด้านพอร์ตโฟลิโอภายใต้กลุ่มดิเอจิโอที่มีครอบคลุมทุกเซกเมนต์มาทำตลาดในเชิงรุก เน้นการทำตลาดด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม การเป็นผู้นำด้านคุณภาพสินค้า และเน้นการสร้างความภักดีต่อตราสินค้าให้แข็งแกร่ง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่ง เนื่องจากแนวโน้มตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำเข้าปีหน้าเติบโตไม่มากนัก การเติบโตจึงต้องแย่งมาจากคู่แข่ง
ปัจจุบันในพอร์ตโฟลิโอของริชมอนเด้ มี 2 เซกเมนต์ที่ยังไม่ ได้เป็นผู้นำตลาด ได้แก่ เหล้าในเซกเมนต์สแตนดาร์ด (เทียบในตลาด คือเซกเมนต์เซกันดารี) ประกอบ ด้วย 2 แบรนด์หลัก คือ "สเปย์" และ "เบนมอร์" มีส่วนแบ่งโดยรวม 11.2% เป็นอันดับสองของตลาด โดยมีฮันเดรด ไพเพอร์ส สินค้าของคู่แข่งเป็นผู้นำตลาด ส่วนอีกเซกเมนต์หนึ่ง คือ เซกันดารี (เทียบในตลาดคือ เซกเมนต์อิโคโนมี) ภายใต้แบรนด์ โกลเด้นไนท์ มีส่วนแบ่ง 14% เป็นอันดับสามของตลาด ขณะที่อันดับหนึ่งเป็นของมาสเตอร์เบลนภายใต้ค่ายพอร์ตนอต ริคาร์ด
ส่วนอีก 3 เซกเมนต์ริชมอนเด้เป็นผู้นำตลาด ประกอบด้วย เซกเมนต์ซูเปอร์ ดีลักซ์ จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ กรีน, โกลด์, บลู และสวิง ครองส่วนแบ่ง 98.4% เซกเมนต์ดีลักซ์ ซึ่งมีแบล็ก เลเบิ้ล มีส่วนแบ่งเพิ่ม จาก 70% ในปีที่ผ่านมาเป็น 78% ในปัจจุบัน และคาดว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งเป็น 80% ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพราะผู้บริโภคมีความจงรักภักดี ต่อแบรนด์ ขณะที่เซกเมนต์พรีเมียม เรด เลเบิ้ล เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งเพิ่มจาก 83% ในปีที่ผ่านมาเป็น 86% ในปัจจุบัน
"ถือว่าบริษัทประสบความสำเร็จอย่างมากจากการทำตลาด เพราะส่วนแบ่งในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมานี้ คือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547-สิงหาคม 2548 เพิ่มขึ้นในทุกเซกเมนต์ โดยเกิดจากการเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของคู่แข่งมากกว่า เพราะในปีนี้ตลาดเหล้านำเข้าโดยรวมไม่เติบโตมากนัก"
นางสาวศนิตากล่าวว่า ภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ทั้งสองเซกเมนต์ คือ สแตนดาร์ด และเซกันดารีจะต้อง ขึ้นมาเป็นผู้นำตลาด โดยภาพรวมของสเปย์มีอนาคตที่ดี หลังจาก ที่มีส่วนแบ่งลดลงอย่างต่อเนื่องหลายปีก่อน แต่ล่าสุดส่วนแบ่งตลาดเริ่มคงที่และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยหลังจากเปิดตัวโปรโมชันฉลองครบรอบ 10 ปี พบว่าสินค้าได้รับการตอบรับดีมาก ส่งผลให้ปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 5% และคาดว่าสิ้นปีนี้มีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 8-9% ส่วนเบนมอร์ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีส่วนแบ่ง ถึง 5.5% เพราะผู้บริโภคเห็นว่า ภาพลักษณ์ดีที่สุดในเซกเมนต์ ส่วนโกลเด้นไนท์ 6 เดือนที่ผ่านมาสามารถ สร้างส่วนแบ่งได้ถึง 14%
สำหรับกลยุทธ์ในการทำตลาดในเชิงรุก เบนมอร์จะเน้นการจัดกิจกรรมชงชิม เอ็กซ์พีเรียนเชียล มาร์เกตติ้ง มิวสิกมาร์เกตติ้ง เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับผู้บริโภค ส่วนโกลเด้นไนท์เน้นกลยุทธ์การกระจายสินค้าให้มากยิ่งขึ้น ขณะที่ตลาดที่เป็นผู้นำตลาดก็ยังเน้นการทำตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งจากคู่แข่ง โดยดีลักซ์จะเน้นเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมสำคัญ กิจกรรมกอล์ฟ ทัวร์นาเมนต์ ฯลฯ ส่วนซูเปอร์ ดีลักซ์เน้นการกระจายสินค้าออกไปทางช่องทางต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้ทุ่มงบจัดกิจกรรมการตลาดทุกแบรนด์ 500 ล้านบาทในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูกาลขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีสัดส่วนยอดขายประมาณ 40% ของยอดขายตลอดทั้งปี
แนวโน้มตลาดเหล้าวิสกี้นำเข้าอิโคโนมีในเชิงปริมาณ 6 ล้านลัง ช่วง 10 เดือนมีอัตราการเติบโตไม่มากนัก เนื่องจากมาตรการภาครัฐเข้มงวด อีกทั้งยังมีการรณรงค์เมาไม่ขับในช่วง เทศกาลสำคัญ แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีคาดว่าตลาดจะมีอัตราการเติบโตที่ดี ส่วนในเรื่องของโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่มีผลต่อโครงสร้างราคาเหล้าเซกเมนต์ อิโคโนมี-เซกันดารี เชื่อว่าจะไม่ส่งผล ให้การแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปมากนัก โดยผู้ประกอบการยังคงใช้กลยุทธ์หลักๆ ในการแข่งขัน อาทิ มิวสิก มาร์เกตติ้ง, สปอร์ต มาร์เกตติ้ง และสถานบันเทิง ผับ บาร์ ฯลฯ
|
|
|
|
|