|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ปิยสวัสดิ์" ฟันธงราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังคงแพงต่อเนื่องยาวไปถึงปี 2554 แต่จะมีโอกาสเห็นขาลงระดับ 40-50 เหรียญต่อบาร์เรล ต้องรอไปอีก 4 ปีข้างหน้าหลังความต้องการของโลกลดลงหรือมีการผลิตใหม่เข้ามา ชี้บอนด์น้ำมันดอกเบี้ยสูงแต่ก็เสี่ยงสูง แนะให้ส่งกฤษฎีกาตีความกำหนดให้กองทุนฯออกบอนด์ได้หรือไม่ ด้านไฟฟ้าต้องชัดเจนค่าไฟทั้งระบบ Regulator จับตา กบง. 10 ต.ค.ยุติเกลี่ยรายได้ 3 การไฟฟ้าชี้ชะตาแผนระดมทุนกฟผ.
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด กล่าวในงาน สัมมนา "สงครามชิงน้ำมัน ทางออกประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยสำนักพิมพ์มติชน วานนี้ (4 ต.ค.) ว่า ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไรของกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือเฮดจ์ฟันด์ แต่เป็นการปรับขึ้นตาม ความต้องการและการผลิตซึ่งไม่สมดุล โดยการผลิตมีน้อยกว่าความต้องการ และราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส และเบรนต์จะแพงไปในระดับ 60-70 เหรียญต่อบาร์เรลไปอีกจนถึงปี 2554
"การมองว่าเฮดจ์ฟันด์เก็งกำไรสำคัญมากเพราะมีส่วนต่อการกำหนด นโยบายรัฐบาล เพราะถ้าเรามัวคิดว่าราคาน้ำมันแพงเพราะเฮดจ์ฟันด์เราก็จะสู้เพราะคิดว่าเดี๋ยวจะลงก็จะเป็นนโยบายที่ผิดพลาดได้ สิ่งที่ถูกต้องคือการที่ต้องปล่อยให้ราคาขายปลีกน้ำมันสะท้อนตามความจริง ซึ่งโชคดีที่ไทยลอยตัวน้ำมันแล้วแต่ก็ยังถือว่าช้าไป" นายปิยสวัสดิ์ กล่าว
ทั้งนี้สาเหตุที่น้ำมันจะยังคงแพงต่อไปเนื่องจาก สำรองน้ำมันดิบของโลกมีเหลือเพียง 2 ประเทศใหญ่ คือ ซาอุดีอาระเบีย เหลือสำรองเพียง 1 ล้านบาร์เรล ต่อวัน อิรักเหลือ 7 แสนบาร์เรลต่อวัน แต่อิรักก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองสูง และยังถูกซ้ำเติมจากการที่โรงกลั่นในอดีตเกิดวิกฤตทำให้ไม่มีการขยายเพิ่ม ซึ่งหากจะลงทุนสร้างใหม่ที่สหรัฐฯ จะต้องให้ค่าการกลั่นสูงกว่า 10 เหรียญต่อบาร์เรลขึ้นไปจึงจะคุ้มทุน ดังนั้นก็คงจะต้องรอการสร้างโรงกลั่นใหม่ ขณะที่ความต้องการของโลกปีนี้รวมจะเพิ่มขึ้น 1.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่ม 1.6%
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาวิกฤตพลังงานครั้งที่ 1 และ 2 จะเห็นว่า เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกแพงจะมีผลให้ความต้องการน้ำมันชะลอตัวลงและลดลงตามลำดับและจะมีผลให้ราคาน้ำมันมีโอกาสลดลงเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาขณะนี้น้ำมันแพงมา ระยะหนึ่งแล้วหากหลายๆ ประเทศที่ตรึงน้ำมันอยู่เลิกตรึงก็จะมีผลให้ความต้องการลดลงได้อีก และหากมีการขยายการกลั่นก็จะมีโอกาสเห็นน้ำมันดิบเวสต์ เทกซัส และเบรนท์ในระดับ 40-50 เหรียญต่อบาร์เรลได้ โดยยึดตัวเลขต้นทุนการผลิตปัจจุบัน แต่อย่างน้อยน่าจะอีก 4 ปีข้างหน้า
สำหรับการออกพันธบัตรน้ำมัน (บอนด์น้ำมัน) ของรัฐบาลที่ให้ดอกเบี้ยบอนด์อายุ 3 ปีอยู่ที่ 5.87% สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลถึง 1.2% นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ชัดเจนของระดับนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการเก็บรายได้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ใช้ดีเซลจะเก็บจริงไหมเมื่อถึงเวลา รวมไปถึงความ ไม่มั่นใจของนักลงทุนที่ขณะนี้มีปัญหาว่า ตามระเบียบของพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงที่รัฐมีใช้ตั้งแต่ปี 2516 นั้นไม่ได้ระบุว่ามีอำนาจในการออกบอนด์น้ำมัน ซึ่งควร จะเสนอให้กฤษฎีกาตีความก่อนเพื่อความมั่นใจ ซึ่งตีความแล้วไม่ผิดก็จะยิ่งทำให้การออกบอนด์ล็อตที่ 2 ง่ายขึ้น แต่หากผิดระเบียบจริงการเบิกจ่ายงบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทที่ ครม.เปิดช่องให้กองทุนฯไปเบิกเงินดังกล่าวมาใช้ได้กรณีเกิดรายได้กองทุนฯไม่เพียงพอใช้จ่าย จะมีปัญหาแน่นอน ดังนั้นนักลงทุนก็จะต้องดูความเสี่ยงด้วย
นายปิยสวัสดิ์ยังได้กล่าวถึงแผนการระดมทุน ของ บมจ.กฟผ.ว่า มีนโยบายที่ไม่ชัดเจนมากมายหลายเรื่องที่เป็นคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบ ทั้งสูตรค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ft ว่าจะเป็นอย่างไร ค่าไฟฟ้าฐานจะปรับหรือไม่ การเกลี่ยรายได้ของ 3 การไฟฟ้าสรุปเป็นอย่างไร ฯลฯ แต่สำคัญคือการตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า หรือ Regulatorที่จะมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านไฟฟ้า 7 คนเข้ามากำกับดูแล ซึ่งปรากฏว่าการตั้งมาชั่วคราวอำนาจจะไม่มี โดยจะไปอยู่ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งแท้จริงแล้วจะต้องมีกฎหมายถาวรมา รองรับก่อน แต่หากแต่งตั้งขึ้นแล้วระเบียบที่กำหนด ออกไปก่อนหน้า Regulator จะเข้าไปแก้ไขหรือไม่นี่ก็เป็นความเสี่ยงที่ยังไม่ชัดเจน
นายปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต และศาสตราจารย์เกียรติคุณจากเทคโนโลยีพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า นโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทนทั้งแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ถือเป็นสิ่งที่ดีแต่จะต้องคำนึงถึงวัตถุดิบ ความคุ้มทุนด้วย เพราะหากต้องไปถางป่าเพื่อปลูกพืชพลังงานทดแทนก็คงไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ดังนั้นไม่ต้องการให้การผลักดันพลังงานทดแทนเป็นเพียงตามกระแสทางการเมือง ชี้ชะตา 3 การไฟฟ้า 10 ต.ค.
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวว่า วันที่ 10 ต.ค.นี้ จะมีประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยจะมีการพิจารณาประเด็นของการเกลี่ยรายได้ 3 การไฟฟ้า ซึ่งจะต้องรอกระทรวงการคลังและพลังงานสรุปในวันดังกล่าว ซึ่งหากให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนหรือ ROIC กฟผ.อยู่ที่ 8.7% การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อยู่ที่ 4.5-5% ก็จะทำให้ กฟผ. ไม่ต้องเลื่อนแปรรูปในวันที่ 14 พ.ย.นี้ออกไป แต่หากสรุปไม่ได้ คาดว่าแผนการระดมทุนจะต้องเลื่อน ไปต้นปี 2549
นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวในงานลงนามสัญญาซื้อขายไฟกับ บมจ.กฟผ.วานนี้ (4 ต.ค.) ว่า แผนการแปลงสภาพ กฟน.เป็นบมจ.ตามกำหนดจะเป็น พ.ย.นี้แต่ยังมีหลายประเด็นไม่ชัดเจนรวมไปถึงการเกลี่ยรายได้คาดว่าคงจะต้องเลื่อนออกไปก่อน ซึ่งคำตอบทั้งหมดอยู่ที่นโยบายรัฐเป็นสำคัญ
|
|
|
|
|