|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เจ้าของแบรนด์ปลาทูน่าอัดกระป๋อง "ซีฮอร์ส" (Seahorse) ปรับแนวรุกธุรกิจอสังหาฯ หลังโครงการบ้านหรูระดับพรีเมียมเริ่มฝืด เล็งผุดบ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์ระดับกลางมากขึ้น พร้อมปรับคอนเซ็ปต์โครงการคาแนลวิลล์ คัด 10 ยูนิต ปล่อยเช่าชาวต่างชาติ หวังรายได้ระยะยาว ด้านแบงก์กรุงไทยพร้อม หนุนลูกค้าชั้นดีในตลาดอุตฯอื่นแตกไลน์ รุกตลาดอสังหาฯเพิ่ม
นายสมศักดิ์ อวกุล ประธานกรรมการ บริษัท ชูยศและบุตร จำกัด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารส่งออก ปลาทูน่าอัดกระป๋องภายใต้แบรนด์ "ซีฮอร์ส" เปิดเผย ว่า ในช่วงปลายปี 2547 บริษัทได้ตัดสินใจที่เข้ามาพัฒนา โครงการบ้านระดับบน โดยใช้ที่ดินของครอบครัวจำนวน 20 ไร่ในย่านศรีนครินทร์ พัฒนาโครงการบ้าน เดี่ยวระดับหรูภายใต้ชื่อ "คาแนลวิลล์" เป็นโครงการ แรก จำนวน 40 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 10 ล้านบาท มูลค่า ขายรวม 480 ล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างมีความคืบหน้า ไปกว่า 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นงานตกแต่งภายในและเทพื้นที่บางส่วน ซึ่งส่วนนี้จะให้ลูกค้าที่มาจองซื้อบ้านในโครงการมีโอกาสเลือกตกแต่งภายใน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการตกแต่งประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าอยู่ได้ทันที
"รายการส่วนนี้ บริษัทได้จัดให้เป็นแคมเปญพิเศษสำหรับลูกค้าได้เลือก มีมูลค่าในการตกแต่งสูงสุดถึง 2 ล้านบาท และจะหมดเขตในเดือนต.ค.นี้ นอกจากนี้ ในการขายช่วงแรกนี้บริษัทจะยังคงราคาขายในระดับเดิม และภายหลังหมดรายการโปรโมชัน จะมีการปรับราคาขายใหม่" นายสมศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ บริษัทได้ปรับรูปแบบการบริหารโครงการ โดยส่วนแรกจะมีการเปิดขายจำนวน 30 ยูนิต ส่วน ที่เหลือจำนวน 10 ยูนิต จะเป็นการปล่อยเช่าระยะยาวตั้งแต่1-3 ปี ซึ่งขณะนี้มีลูกค้าเข้ามาเช่าอยู่แล้ว 1 ยูนิต ส่วนที่เหลือยังอยู่ในช่วงเจรจาการเช่าอยู่ ขณะที่ การขายมีลูกค้าจองซื้อแล้ว 10 ยูนิต และตั้งเป้าภาย ในสิ้นปีจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 15 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าขายประมาณ 200 กว่าล้านบาท และภายในต้นปี 2549 จะสามารถปิดการขายโครงการได้ทั้งหมด
สำหรับผลของการร่วมออกบูทในงาน Thailand International Property 2005 เมื่อปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยมีนักลงทุนชาวฮ่องกงซึ่งร่วมทุนกับนักธุรกิจในไทย ตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวหรูในโครงการคาแนลวิลล์ มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ซึ่งถือว่าคุ้มกับการออกบูท ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการดำเนินเรื่องขอกู้กับธนาคารกรุงเทพ สาขาสิงคโปร์
นายสมศักดิ์ กล่าวถึงแผนการลงทุนในโครงการ อื่นว่า ปัจจุบันบริษัทมีที่ดินสะสม(แลนด์แบงก์) 3 แปลงในย่านฝั่งธนบุรี ขนาดเนื้อที่ 50 ไร่ 1 แปลง, 10 ไร่ 1 แปลง และ 7-9 ไร่อีก1 แปลง โดยบริษัทมี แผนจะพัฒนาที่ดินในย่านถนนเพชรเกษม เขตทวีวัฒนาต่อเนื่องอีก 1 โครงการ ในรูปแบบโครงการ ทาวน์เฮาส์ จำนวนกว่า 100 ยูนิต เจาะลูกค้าระดับกลาง ขณะที่บ้านเดี่ยวระดับบน จะมีการลงทุนต่อ แต่จำนวนที่จะผลิตออกสู่ตลาดจะมีปริมาณที่ไม่มากประมาณไม่เกิน 40 ยูนิต เพื่อให้สามารถปิดการขาย ได้รวดเร็ว และป้องกันการมีปัญหาของลูกบ้าน หาก โครงการมีขนาดใหญ่เกินไป
ด้านนางนงนุช เธียนไพฑูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ชูยศและบุตร ใช้เงินกู้จากธนาคารกรุงไทย ทั้งสิ้น 150 ล้านบาท โดยที่ผ่านมาบริษัท ชูยศและบุตร นับเป็นลูกค้าชั้นดี และมีรายได้จากการประกอบอุตสาหกรรมส่งออกที่มีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นเมื่อบริษัทมีแผนจะแตกไลน์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธนาคารกรุงไทยพิจารณาปล่อยกู้ได้ง่าย เนื่อง จากมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนอยู่แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่เข้ามาขอกู้เป็นลูกค้าเดิมของบริษัทอยู่แล้ว มีผลประกอบการธุรกิจที่ดีอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ง่ายต่อการอนุมัติปล่อยกู้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทผู้ประกอบการอุตสาหกรรม อื่นที่เป็นลูกค้าชั้นดีของธนาคารกรุงไทย ส่วนหนึ่งได้ แตกไลน์ บริษัทเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขายในตลาด และเริ่ม มีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่กรุงไทย ก็ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อตามนโยบาย นอกจากนี้กรุงไทยยังมีการสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยให้ลูกค้า โครงการด้วย ผ่านสินเชื่อคงที่ระยะสั้น 3% ระยะเวลา 1-2 ปี และสินเชื่อลอยตัว ซึ่งจะพิจารณาตามหลักประกันของลูกค้าแต่ละราย อย่างไรก็ตามปัจจุบัน กรุงไทยเริ่มปรับรูปแบบการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ระยะยาวมากขึ้น เนื่องจากความไม่เอื้ออำนวยของอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้น
|
|
|
|
|