|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เงินเฟ้อ ก.ย.พุ่งกระฉูด 6% สูงสุดในรอบ 83 เดือน "พาณิชย์" แจงเหตุน้ำมันตัวเดียวที่มีผลทำให้เงินเฟ้อพุ่ง ส่วนในรอบ 9 เดือนเงินเฟ้อแตะระดับ 4% แล้ว "การุณ" เลิกทำนายเงินเฟ้อทั้งปี เหตุน้ำมันไร้ทิศทาง แต่ยังเชื่อไม่น่าเกิน 4.2% เผยเงินเฟ้อระดับนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะเคยสูงมาก กว่านี้ในช่วงวิกฤต เล็งกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม สกัดพ่อค้าโขกผู้บริโภค ส่วนสินค้าใดอยากขึ้นราคาต้องแจงต้นทุน ขณะที่ผู้ว่าการ ธปท. คาดเงินเฟ้อไตรมาส 4 แตะ 6 % เหตุน้ำมันกดดัน เชื่อปีหน้าลดแน่
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือน ก.ย.2548 เท่ากับ 111.2 เทียบกับเดือน ส.ค.2548 เพิ่มขึ้น 0.7% เทียบกับเดือน ก.ย.2547 เพิ่มขึ้น 6.0% สูงสุดในรอบ 83 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.ย.2542 ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.) เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 4%
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือน ก.ย.2548 เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค.2548 0.7% เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.1% และดัชนีราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.5% ส่วนการที่เฉลี่ย 9 เดือน เงินเฟ้อสูงขึ้น 4.0% เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 4.3% และหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.8%
ทั้งนี้ สินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักสด เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้ง เป็นต้น ผลไม้ เช่น ส้มเขียวหวาน ทุเรียน ไก่สด ปลาทะเล น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ สุรา ส่วนสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ไข่ไก่
นายการุณกล่าวว่า เงินเฟ้อเดือน ก.ย.ของปีนี้ เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่สูงขึ้นถึง 6.0% เพราะมีปัจจัยมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแทบทั้งสิ้น โดยเดือน ก.ย.ปีก่อน ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 35.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ก.ย.48 อยู่ที่ 56.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สูงขึ้น 22.1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือในรอบ 1 ปี หรือสูงขึ้น 59.3% ส่วนราคาน้ำมันในประเทศ ดีเซล ก.ย.2547 อยู่ที่ลิตรละ 14.59 บาท เดือน ก.ย.2548 ลิตรละ 23.87 บาท สูงขึ้นลิตรละ 9 บาทกว่า หรือ 63.6% ส่วนเบนซิน 95 เดือน ก.ย.2547 ลิตรละ 21.79 บาท ก.ย.2548 ลิตรละ 27.35 บาท สูงขึ้นลิตรละ 5.56 บาท หรือ 25.51% นายการุณกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีค่าโดยสารรถประจำทางที่ปรับขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือน พ.ค. และครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค. ทั้งรถ บขส. รถร่วมบริการ รถเมล์เล็ก และเรือโดยสาร หรือแม้กระทั่งผักสดและผลไม้ปีนี้สูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก จากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นปี และน้ำท่วมในปัจจุบันนี้ ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคาแพง และยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มมากขึ้น
สำหรับเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี ยังยืนยันเป้าหมายเดิม 4.2% แต่ไม่อยากคาดการณ์ว่าทั้งปีจะเป็นเท่าไร เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันประมาณ 80-90% เมื่อไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันเป็นเท่าไร ก็ไม่สามารถคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปีได้ โดยจะขอดูอีก 2 เดือน แต่อัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ยังไม่เป็นปัญหาต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อเคยสูงถึง 9-10%
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการที่เงินเฟ้อสูงระดับนี้จะกระทบต่อการบริโภคของประชาชนบ้าง โดยในการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ในเร็วๆ นี้ จะมีการเสนอให้เพิ่ม สินค้าเข้าบัญชีควบคุมอีก 5-10 รายการ จากปัจจุบัน ที่มี 26 รายการ โดยจะมีการกำหนดมาตรการดูแลสำหรับสินค้าที่ควบคุมเพิ่มมากขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชน
ส่วนการรับมือราคาสินค้าหลังพ้นช่วงขอความ ร่วมมือตรึงราคาตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการรายใด จะขอปรับราคาสินค้า ก็ต้องแจ้งรายละเอียดต้นทุนตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด หากเห็นว่าเหมาะสม และต้นทุนเพิ่มจริง ก็อนุมัติให้ปรับราคาได้ แต่ถ้ายังมีมาร์จิ้นก็จะขอความ ร่วมมือให้ตรึงราคาต่อไป
ทางด้านเฟ้อพื้นฐานในเดือน ก.ย.2548 ซึ่งหักรายการสินค้ากลุ่มพลังงานและอาหารสดจำนวน 107 รายการออก เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.2548 เพิ่มขึ้น 0.1% เทียบกับเดือน ก.ย.2547 เพิ่มขึ้น 2.3% และเฉลี่ยช่วง 9 เดือนปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้น 1.4%
ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับประมาณ การอัตราเงินเฟ้อปีนี้อยู่ที่ 4.0-4.2% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรกอยู่ที่ 3.0-3.5% ครั้งที่ 2 อยู่ที่ 3.0-3.8% และเป็น 4.0-4.2% ในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
ธปท.คาดเงินเฟ้อไตรมาส 4 แตะ 6%
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าตกใจ เนื่องจากช่วงนี้เป็นระยะเวลาที่ผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงและการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลได้ส่งผลให้ราคาต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งคาดว่าจะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปภายในประเทศช่วงไตรมาสที่ 4 สูงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 6% แต่เฉลี่ยทั้งปีน่าจะต่ำกว่าอัตราดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแรงกดดันต่อราคาเงินเฟ้อ จะลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยในระดับ 4% ในปี 2549 เนื่องจากไม่มีผลกระทบเพิ่มเติมจากราคาน้ำมัน เพราะอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องแล้ว รวมทั้งฐานเดิมในปี 2548 นี้อัตราเงินเฟ้อได้ขยายตัวไปมาก ดังนั้นการขยายตัวของเงินเฟ้อในปี 2549 เมื่อเทียบกับฐานปี 2548 จึงไม่สูงเหมือนกับปีนี้ที่อัตราเงินเฟ้อปี 2548 เทียบกับปี 2547 ที่มีฐานต่ำมาก
"อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ในช่วงที่ลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลเมื่อเทียบกับปีที่แล้วซึ่งฐานต่ำทำให้ปรับเพิ่มขึ้นขึ้นแรงมาก และอัตราเงินเฟ้อช่วงนี้เป็นช่วงที่เพิ่มลอยตัวราคาน้ำมันมาเพียง 2 เดือน และคาดว่าจะสูงต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 แต่จะเริ่มดีขึ้นในปีหน้า" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
|
|
|
|
|