Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 ตุลาคม 2548
"เซียน"ยาหอมไทยยังแกร่ง ผู้บริโภคเร่งออมเงินหวั่นภาวะทรุด             
 


   
search resources

ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
Economics




"เซียน" ธุรกิจชี้เศรษฐกิจโลกปีจอชะลอตัว หลังพบค่าเฉลี่ยความมั่นใจทั่วโลกหด ส่วนอนาคตไทยอีก 12 เดือนส่อแววสดใส โชว์มีปัจจัยบวกหนุน นำร่องเมกะโปรเจกต์ 1.7 ล้านล้านบาท พ่วงต่างประเทศตบเท้าลงทุนโดยตรง 1.74 แสนล้านบาท หนุนเศรษฐกิจไทยโต 5.2% ปี 49 ยานยนต์-ท่องเที่ยว ส่งออกรุ่ง "เอซีนีลเส็น" ชี้ คนไทยกังวลภาวะเศรษฐกิจ เร่งออมเงินติดอันดับ 9 ในเอเชีย พร้อมซบอกซื้อสินค้าเฮาส์แบรนด์ติดอันดับ 7 เพราะมองว่าคุ้มค่าเงิน

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานสัมมนาวันนักการตลาดแห่งประเทศไทยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจระดับโลกในปีหน้าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโต 5.2% ซึ่งเป็นระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากมีปัจจัยบวกช่วยผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ 1.7 ล้านล้านบาท การตอกย้ำจุดแข็งแกร่งของประเทศในด้านต่างๆ อาทิ กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เกษตร และการท่องเที่ยว เพิ่มการส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเอฟทีเอ อีกทั้งยังมีการลงทุนโดยตรงของต่างชาติเติบโตสูงถึง 33% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.74 แสนล้านบาท

สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมปีหน้า กลุ่มยานยนต์คาดว่าเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มสินค้าเกษตร หรือราคาไก่ทรงตัว เนื่องจากอุปทานของไก่ในประเทศมีไม่เพียงพอ ทำให้แนวโน้มราคาไก่ลดลง ส่วนธุรกิจกุ้งคาดว่าปริมาณการส่งออกขยายตัวระดับสูง กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ความต้องการใช้สินเชื่อเมกะโปรเจกต์ แต่ละปีสัดส่วนเฉลี่ย 1-2% ของสินค้าเชื่อรวม ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกการเติบโตมาจากการขยายสาขา และธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมได้รับผลดีจากการขยายตัวของการลงทุนตรง และเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ

ธุรกิจการท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ไทยเร่งเปิดน่านฟ้าเสรีกับประเทศต่างๆ ทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงขึ้น กลุ่มพลังงานคาดว่าราคาถ่านหินมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในปี 2549 จากอุปทานที่เพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มบันเทิงและสันทนาการ คาดว่าการใช้จ่ายโฆษณาในปี 2549 ยังมีการเติบโตใกล้เคียงในปีนี้ 6-7% สื่อโทรทัศน์ยังครองส่วนแบ่ง ประมาณ 60% ของเม็ดเงินโฆษณารวมโดยมีการเติบโต 5-7%

"ผู้ประกอบการไทยเองต้องปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้น หากนักการตลาดคิดนอกกรอบหรือใช้วิธีคิดผลงานในแบบก้าวกระโดด ตลอดจนหากลยุทธ์ใหม่ๆ ทางการตลาดมาใช้ รวมทั้งใช้โอกาสขยายธุรกิจจากการขยายตัวของจีน อินเดีย และญี่ปุ่น เชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจไทยประสบความสำเร็จได้ในภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้น หลังจากเจอจุดต่ำในปีที่ผ่านมา"

ไตรมาสสามไทยเริ่มส่อเค้าดีขึ้น

นายก้องเกียรติ กล่าวว่า ช่วงไตรมาสที่สามไทยเริ่มมีปัจจัยบวกเกิดขึ้นบ้าง อาทิ ดุลการค้าเป็นบวกครั้งแรกในเดือนส.ค.เกินดุล 10 ล้านเหรียญ จากในช่วง 8 เดือนขาดดุลการค้า 8.8 พันล้านเหรียญ และคาดว่าเป็นตัวเลขสูงสุดของปี 2548 และใน 4 เดือนที่เหลือของปีนี้คาดดุลการค้าจะเป็นบวก ต่อเนื่องจากการส่งออกที่สูงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม คาดว่าทั้งปีนี้ ไทยก็ยังขาดดุลบัญชีเดินชสะพัด 2% ของจีดีพี ส่วนปัจจัยบวกอื่นๆ การท่องเที่ยวก็เริ่มกลับสู่ภาวะปกติในเดือนสิงหาคมเกินดุล 500 ล้านเหรียญ จากการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว 7 เดือนแรกเกินดุลบริการ 2.7 พันล้านเหรียญ และคาดว่าดุลบริการเฉลี่ยเดือนละ 500 ล้านเหรียญในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจทั่วโลก

นายสันจัย อนุมานราชธน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซี นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคจำนวน 21,261 คน ใน 38 ตลาดครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก พบค่าเฉลี่ยความมั่นใจต่อภาพรวมเศรษฐกิจของผู้บริโภค อยู่ที่ระดับ 92 โดยประเทศที่มีความมั่นใจสูงสุด คือ อินเดียที่ระดับ 127 ต่ำสุดคือเกาหลีที่ระดับ 58 ขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 98

จากการสำรวจความมั่นใจในภาพรวมเศรษฐ-กิจอีก 12 เดือนข้างหน้า หรือในช่วงไตรมาส 2 ปี 2549 ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ระบุว่าดีขึ้น 48% คงที่ 34% และแย่ลง 20% ขณะที่ยุโรประบุว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น 29% คงที่ 37% และแย่ลง 34% ขณะที่ค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคทั่วโลกระบุว่าดีขึ้น 38% คงที่ 34 และแย่ลง 28% แสดงให้เห็นว่าความมั่นใจในภาพรวมเศรษฐกิจของคนเอเชีย สูงกว่ากลุ่มยุโรปและค่าเฉลี่ยทั่วโลก ความกังวลส่วนใหญ่ เกิดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จากวิกฤตราคาน้ำมัน ดอกเบี้ยปรับตัวสูง

โดยระบุว่าการสำรวจการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสิ่งที่ต้องการซื้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าพบว่า ผู้บริโภคเอเชียแปซิฟิกไม่เห็นด้วยอย่างมากที่จะซื้อสินค้า 3% เห็นด้วย 36% ไม่เห็นด้วย 51% และไม่เห็นด้วยอย่างมาก 11% ขณะที่ภูมิภาคยุโรป เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1% เห็นด้วย 36% ไม่เห็นด้วย 48% และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 15% ขณะที่ค่าเฉลี่ยของภาครวมทั่วโลกที่เห็นด้วยอย่างยิ่งอยู่ที่ 3% เห็นด้วย 36% ไม่เห็นด้วย 49% และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 12% เอเชียกังวลเรื่องเศรษฐกิจอันดับแรก

ดร.สันจัย กล่าวว่า ความกังวลของผู้บริโภค ในเอเชียแปซิฟิก พบว่ากังวลเรื่องเศรษฐกิจ 25% เรื่องงาน 24% สุขภาพ 15% อื่นๆ 12% การเมือง 8% อาชญากรรม 6% การก่อการร้าย 5% สงคราม 4% ทั้งนี้พบว่าผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกจะนำเงินที่เหลือ จากการใช้จ่ายผ่านการออมทรัพย์สูงสุด 51% ท่องเที่ยว 31% หาความบันเทิงนอกบ้าน 30% จ่ายหนี้บัตรเครดิต 30% ซื้อเสื้อผ้า 27% ซื้อสินค้าเทคโน-โลยีใหม่ 25% ลงทุนในตลาดหุ้นและกองทุน 19% ซ่อมแซมบ้าน 15% ลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ 8%

สำหรับการเก็บเงินออมของคนไทยจะอยู่ในอันดับ 9 ของเอเชียที่สัดส่วน 51% อันดับหนึ่ง ฟิลิปปินส์ 63% อันดับ 2 ไต้หวัน 60% อันดับ 3 สิงคโปร์ 58% นอกจากนี้คนไทยยังมานิยมใช้สินค้าเฮาส์แบรนด์เพราะมีความคุ้มค่าที่จะจ่ายเงินเป็นอันดับ 7 ของโลกหรือคิดเป็นสัดส่วน 39% อันดับหนึ่งอินเดีย 56% จีน 52% โปแลนด์ 51% ด้านการใช้จ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวไทยมาเป็นอันดับ 1 สัดส่วน 56% อันดับ 2 นอร์เวย์ 51% อันดับ 3 อิสราเอล 47%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us