Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 ตุลาคม 2545
เปลี่ยนคนนโยบายเปลี่ยน ค้าปลีกไทย-เทศมีลุ้นรอด             
 

   
related stories

"เทสโก้ โลตัส"เอาอีกแล้ว รีดกำไรคู่ค้าย้อนหลัง2ปี

   
search resources

Retail




ค้าปลีกไทย-เทศได้ต่อลมหายใจ หลังคนคุมนโยบายการค้าปลีกถูกผลัดไม้จาก "เนวิน"กลับมาสู่มือ"อดิศัย"โดยมี"วัฒนา"จากค่ายซี.พี.ขนาบอยู่ข้างๆ แม้ว่าจะไม่มีบทบาทโดยตรง แต่อย่างน้อยก็คงพอจะช่วยเป็นหูเป็นตาได้บ้าง เผยขั้นตอนการเชือดร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้งเทสโก้ โลตัส แม็คโคร บิ๊กซีและคาร์ฟูร์ รวมทั้งเซ็นทรัลในข้อหาทำการค้าไม่เป็นธรรมได้เดินมาถึงจุดที่จะต้องจบแล้ว แต่วันนี้ยังจบไม่ลง เพราะเปลี่ยนคนนโยบายก็เปลี่ยน

นับจากที่นายเนวิน ชิดชอบ ได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์แม้จะใช้เวลาสั้นๆ แต่การเข้ามาดูแลนโยบายการค้าปลีกต่างได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนจากผู้จำหน่ายสินค้า (ซัปพลายเออร์) และร้านค้าปลีกรายย่อยในการเข้ามาจัดการความไม่เป็นธรรมในระบบการค้าปลีกเมืองไทย ที่ถูกร้านค้าปลีกข้ามชาติเอารัดเอาเปรียบ

วันแรกที่นายเนวินเข้ามารับผิดชอบงานการค้าปลีก ย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 5 เดือนที่แล้ว นายเนวินได้ย้ำถึงนโยบายในเรื่องการค้าปลีกไว้อย่างชัดเจนว่า"เราสนับสนุนนโยบายการค้าเสรี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่เป็นธรรม ทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะต้องอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ จนทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ไม่ได้"

จากวันนั้นจนวันที่นายเนวินพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไปรับตำแหน่ง ใหม่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2545 ที่ผ่านมา นายเนวินได้เดินหน้าแก้ไขปัญหาการค้าปลีกมาโดยตลอด และทำ ได้จนเกือบจะเรียกได้ว่าจบอย่างสมบูรณ์ แต่แล้วก็มีอันจบไม่ลง เพราะการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ทำให้งานที่เดินหน้าอยู่ต้องมีอันสะดุดลง

"ผมไม่ห่วงเรื่องค้าปลีก เพราะการทำงานที่ผ่านมา ผมได้ทำตามนโยบายของรัฐบาล และทำ ตามนโยบายของนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ได้มอบหมายให้ผมรับผิดชอบเรื่องค้าปลีก และวันนี้ผมได้ทำทุกอย่าง ในส่วนที่ผมรับผิดชอบโดยได้ข้อยุติออกมาแล้ว และผมก็ได้เซ็นเสนอให้นายอดิศัยรับไปพิจารณาต่อแล้ว จากนี้ไปก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่จะพิจารณาต่อไป โดยจะพิจารณาตามที่เสนอหรือมีความเห็นแตกต่างได้" นายเนวินกล่าวในวันที่ 4 ตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ นายเนวินได้รับการแต่งตั้งจากนายอดิศัยให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการการแข่งขันทางการค้า มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องต่างๆ ที่อาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าพ.ศ.2542 แล้วเสนอให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าชุดใหญ่พิจารณา ซึ่งเรื่องค้าปลีกก็อยู่ในข่ายการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้เช่นเดียวกัน

สำหรับผลการพิจารณาในเรื่องการค้าปลีก ของคณะอนุกรรมการฯ นั้น ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า กรณีการร้องเรียนเซ็นทรัล รีเทลและบริษัทในเครือมีพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า เพราะมีพฤติกรรมที่เลือกปฏิบัติจริง ทำให้ผู้ประ กอบการได้รับผลกระทบ เนื่องจากในการส่งสินค้า เซ็นทรัล รีเทลเปิดรับสินค้าจากซัปพลายเออร์ที่เป็นสมาชิกอาร์ซีตั้งแต่เวลา 21.00-08.00 น. แต่เปิดให้ซัปพลายเออร์อื่นที่ส่งสินค้าเอง สามารถ ส่งสินค้าได้ตั้งแต่เวลา 02.00-04.00 น. เท่านั้น

ส่วนกรณีของร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 4 ราย ได้แก่ เทสโก้ โลตัส แม็คโคร บิ๊กซีและคาร์ฟูร์ คณะอนุกรรมการฯ มีมติเช่นเดียวกันกับกรณีของเซ็นทรัล คือ มีพฤติกรรม 7 ข้อที่เป็นข้อร้อง เรียนจากซัปพลายเออร์เข้าข่ายผิดมาตรา 29

พฤติกรรม 7 ข้อที่เข้าข่ายผิดมาตรา 29 นั้น ได้แก่ 1.ค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance Free) 2.เงินสนับสนุนการขายโดยขอส่วนลด ของแถมในวาระพิเศษ 3.ส่วนลดต่างๆ เช่น ส่วนลดที่เป็นของแถม ส่วนลดเปิดสาขาใหม่ ส่วนลดปกติ ส่วนลดประจำปี และส่วนลดคืนกำไร 4.ค่าโฆษณาสนับสนุนการขาย เช่น ค่าเมล์ และแค็ต-ตาล็อก 5.ค่าระบบข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 6.สินค้าเฮาส์แบรนด์ และ 7.การนำสินค้าออกจากชั้นวาง (Delete)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการปกป้องผู้บริโภค คณะอนุกรรมการฯ ยังได้มีมติให้เพิ่มข้อกล่าวหาเป็นข้อที่ 8 ในเรื่องพฤติกรรมการกำหนดราคา ขายไม่เป็นธรรม อันส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในท้องที่ต่างๆ ได้รับความเสียหายจากการกำหนดราคาขายที่ต่ำกว่าทุน โดยในการ กำหนดราคาขายแต่ละครั้งพบว่าร้านค้าปลีกราย ใหญ่จะส่งเจ้าหน้าที่ของตนเองออกไปสำรวจร้านค้าย่อยส่วนใหญ่ว่าจำหน่ายสินค้าในราคาใด แล้วมากำหนดราคาขายให้ต่ำกว่า

การทำเช่นนี้ของร้านค้าปลีกรายใหญ่ โดยการซื้อสินค้ามาแพง แต่ขายในราคาถูก ได้ทำให้ ร้านค้าปลีกรายย่อยล้มหายไปเป็นหมื่นๆ รายในแต่ละท้องที่ ซึ่งเห็นได้จากงบการเงินที่มีผลประกอบการขาดทุนจากการขาย โดยทั้ง 4 รายมีผลประกอบการขาดทุนตั้งแต่ 0.5-5% แต่กลับไปมีกำไรจากส่วนอื่นๆ ซึ่งอยู่ในพฤติกรรม 1-7

ทั้งนี้ มาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า มีเนื้อหาสาระในการห้ามไม่ให้ผู้ประ กอบการรายใดรายหนึ่งทำการค้าที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการรายอื่น โดยโทษตามมาตรา 29 คือจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำความผิดซ้ำจะมีโทษทวี คูณ

แม้ว่าจะได้มีการสรุปความผิดของร้านค้าปลีกทั้งไทยและต่างประเทศแล้ว นายเนวิน ยังได้ให้มีการติดตามพฤติกรรมของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นว่ามีการดำเนินการค้าที่ไม่เป็นธรรมและมีพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 29 หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ฝ่ายเลขานุการกำลังรวบรวมพฤติกรรมต่างๆ อยู่ เพราะลักษณะพฤติกรรมคล้ายๆ กับกรณีของร้านค้าปลีกรายใหญ่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่นายเนวินยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายในในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ก็ได้ออกมายืนยันชัดเจนว่าการพิจารณาชี้ขาดกรณีร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 5 รายมีความผิดตามมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้านั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ ชุดใหญ่ที่มีนายอดิศัยเป็นประธาน

โดยในการพิจารณา หากคณะกรรมการฯ ชุดใหญ่เห็นว่ามีมูลความผิดตามที่อนุกรรมการฯ สรุปจะต้องตั้งอนุกรรมการรวบรวมสำนวนก่อนส่งให้อัยการฟ้องศาล หากอัยการเห็นว่าสำนวนขาดหลักฐานเหตุผลประกอบเพียงพอก็อาจจะสั่งไม่ฟ้อง แต่คณะกรรมการฯ สามารถรวบรวม สำนวนฟ้องต่อศาลเองได้

พร้อมกับระบุว่าในกรณีที่มีความกังวลกันว่าเรื่องนี้จะเข้ารูปแบบเดิมเหมือนกับกรณีการขายเหล้าพ่วงเบียร์ที่คณะอนุกรรมการฯ สรุปว่าผิด เพราะมีการบังคับให้มีการขายพ่วงจริง แต่คณะกรรมการฯ ชุดใหญ่เห็นว่าไม่ผิด เพียงแต่สั่งให้ยุติพฤติกรรมนั้น คงจะไม่เกิดขึ้น เพราะกรณีแตกต่างกัน โดยกรณีเหล้าพ่วงเบียร์เป็นความผิดที่เข้าข่ายตามมาตรา 25 ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาด แต่ตอนนั้นไม่มี ส่วนกรณีนี้เป็นการผิดมาตรา 29 ที่ว่าด้วยการค้าที่ไม่เป็นธรรม

ทั้งนี้ นับจากวันที่นายเนวินพ้นจากตำแหน่ง ไป จนกระทั่งวันนี้ (21 ต.ค.) นายอดิศัยยังได้มีคำสั่งให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเลย และเมื่อได้มีการสอบถาม ว่าจะดำเนินการอย่างไรในเรื่องการค้าปลีกที่นาย เนวินได้สรุปเสนอมาให้ นายอดิศัยกลับพูดทีเล่นทีจริงว่า "ไม่รู้ ไม่เห็นเสนออะไรมาเลย"

นั่นก็เป็นสัญญาณที่จะสื่อได้ชัดเจนว่า นโยบายการค้าปลีกนับจากวันนี้ไป คงจะไม่มีอะไรคืบหน้าไปกว่าที่เคยคืบหน้ามาแล้ว เพราะท่าทีของนายอดิศัยวันนี้ก็ยังคงนิ่งอยู่ นิ่งเสียจนไม่รู้ว่าจะเดินหน้าต่ออย่างไร และความหวังที่ปัญหาการค้าปลีกจะได้รับการแก้ไขก็คงจะต้องชะงัก และการที่หลายๆ ฝ่ายเคยกังวลไว้ว่าเมื่อเปลี่ยนเจ้าภาพ งานที่ควรจะเดินก็อาจไม่เดินนั้นคงจะเป็นจริง แล้วปัญหาการค้าปลีกก็คงจะถูกปล่อยเงียบ เงียบจนกระทั่งคนจะลืมไปเองในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us