Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 ตุลาคม 2548
กลุ่มทุนข้ามชาติรุกหนัก บุกยึดค้าปลีกรถยนต์ไทย             
 


   
search resources

Investment
Automotive




ทุนข้ามชาติไม่หยุดรุกเพียงภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ทั้งโตโยต้า ทูโช จากประเทศญี่ปุ่น บริษัทในเครือโตโยต้า มอเตอร์ กลุ่มเวิร์นส ออโตโมทีฟ จากสิงคโปร์ และไซม์ ดาร์บี้ กลุ่มธุรกิจยานยนต์อันดับต้นๆ ของมาเลเซีย ต่างตบเท้าเข้ามายึดธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ในไทย แยกย้ายกันเป็น ดีลเลอร์ขายรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อ เพื่อชิงก้อนเค้กที่มีไม่ต่ำกว่า 6 แสนคันต่อปี

จากนโยบายรัฐบาลไทยที่สนับสนุนและเปิดให้ทุนข้ามชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทรถยนต์ ชื่อดังเกือบทุกยี่ห้อ รวมถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่างชาติ เข้ามาลงทุนและใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก ถึงกับกล่าวว่าไทยเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียกันเลยทีเดียว แต่ล่าสุดไม่เพียงภาคการผลิตเท่านั้น ในส่วนของภาคการค้าปลีกรถยนต์ มีทุนข้ามชาติเข้ามาทำมาค้าขาย แย่งอาชีพนักธุรกิจไทยมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากตลาดรถยนต์ไทยกลับเฟื่องฟูอีกครั้ง โดยมียอดขายไม่ต่ำกว่าปีละ 6 แสนคัน การเข้ามารุกธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ในไทย ไม่ใช่แค่กลุ่มทุนธุรกิจข้ามชาติรายหนึ่งเท่านั้น บางรายเป็นบริษัทในกลุ่มของผู้ผลิตรถยนต์เอง โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ "โตโยต้า" ซึ่งเมื่อประมาณ 2 ปี ที่แล้ว ได้มีการเปิดรับตัวแทนจำหน่าย หรือดีลเลอร์ ครั้งใหญ่ เพื่อรองรับโครงการ IMV (ไฮลักซ์ วีโก้, ฟอร์จูนเนอร์ และอินโนวา) ทำให้โตโยต้า ทูโช บริษัทในเครือของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ถึงกับตั้งบริษัทเพื่อเป็นดีลเลอร์ของรถยนต์โตโยต้าในไทยแข่งกับนักธุรกิจไทยด้วย

ทั้งนี้ โตโยต้า ทูโช ได้ตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นดีลเลอร์โตโยต้า ภายใต้ชื่อบริษัท โตโยต้า ลิบรา จำกัด โดยมีบริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท โตโยต้า ทูโช คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นใหญ่เกือบจะ 100% มีทุนจดทะเบียน 239.9 ล้านบาท สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อาคารโตโยต้า ทูโช 2 ถนนอโศก-ดินแดง และตั้งศูนย์จำหน่ายและบริการ ที่ถนนเกษตร-นวมินทร์ ใช้เงินลงทุนนับร้อยล้านบาท และได้เปิดให้บริการไปเมื่อปีที่แล้ว โดยในอนาคตโตโยต้า ลิบรา ยังมีแผนจะขยายศูนย์ฯ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นด้วย
ไม่เพียงโตโยต้า ทูโช ยังมีกลุ่มทุนจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาเป็นดีลเลอร์โตโยต้า ภายใต้ชื่อ โตโยต้า บัซ และนอกจากนี้ กลุ่มทุนข้ามชาติ จากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ก็ได้รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ในไทย หลังจากตลาดรถยนต์ไทยกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งเช่นกัน

เวิร์นส ออโตโมทีฟ และอีควิปเม้นท์ ซึ่งเป็นส่วนงานด้านยานยนต์ของบริษัท เวิร์นส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นอีกรายที่โดดเข้ามาในช่วงไม่กี่เดือน ที่ผ่านมา โดยนายอังเดร รอย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการวอลโว่ บริษัทเวิร์นสฯ เปิดเผยว่า เวิร์นส อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์วอลโว่รายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ทั้งในสิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย ล่าสุดได้มีการขยายธุรกิจ สู่ตลาดรถยนต์ประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่ามีศักยภาพในการเติบโตสูง

"การรุกเข้ามาทำธุรกิจในไทย เวิร์นส์ฯ ได้เข้ามาซื้อศูนย์จำหน่ายและบริการรถยนต์วอลโว่ 2 แห่ง ได้แก่ สาขาหัวหมาก และลาดพร้าว เป็นจำนวนเงินกว่า 50 ล้านบาท จากวอลโว่ คาร์ส ไทยแลนด์ ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ในไทย พร้อมกับลงทุนเพิ่มอีก 20 ล้านบาท ในการปรับโฉมและยกระดับสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าต้นแบบของแบรนด์รถยนต์สวีดิชรายนี้"

จากการดำเนินงานที่มีมาตรฐานฯ และประสบการณ์เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ทำให้มั่นใจว่าเวิร์นสจะประสบความ สำเร็จในตลาดรถยนต์ไทย เช่นเดียวกับที่ประเทศสิงคโปร์ และฮ่องกง หรือแม้แต่บทบาทในฐานะผู้รับผิดชอบการขายปลีกให้กับลูกค้า ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเฉพาะยอดขายปลีกรถยนต์วอลโว่ในปี 2547 ที่ผ่านมา เพียงแค่ 3 ประเทศมีจำนวนมากกว่า 2,000 คัน

ขณะที่กลุ่มยานยนต์ยักษ์ใหญ่อีกราย "ไซม์ ดาร์บี้ กรุ๊ป" จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เป็นรายแรกๆ ที่เข้ามาเป็นผู้จำหน่ายและบริการรถยนต์ 4 ยี่ห้อในไทย คือ บีเอ็มดับเบิลยู, วอลโว่, มาสด้า และมิตซูบิชิ ล่าสุดได้มีการขยายลงทุนในไทยอีกอย่างต่อเนื่อง

นายกี บุน กี กรรมการบริหารกลุ่มไซม์ ดาร์บี้ เปิดเผยว่า เพื่อรองรับเป้าหมายการเติบโตในอนาคต ปีนี้จึงมีแผนที่จะขยายเครือข่ายจำหน่ายรถยนต์ในกลุ่ม โดยจะทำการเปิดศูนย์จำหน่ายและบริการรถยนต์มิตซูบิชิ 4 แห่ง มูลค่าการลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท ภายใต้ชื่อบริษัท ไซม์ ดาร์บี้ มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้เปิดให้บริการแล้วที่สาขา ปากน้ำเป็นสาขาแรก และจะเพิ่มอีก 3 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่อีกศูนย์ฯ เป็นของวอลโว่ 1 สาขา แต่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 3 ศูนย์ฯของมิตซูบิชิ

"ในปีนี้จะเป็นอีกปีที่เรามีการลงทุนสูง เพราะต้องเพิ่มโชว์รูมมิตซูบิชิ 4 แห่ง และวอลโว่อีก 1 แห่ง โดยโชว์รูมมิตซูบิชิจะมีการลงทุน 35-60 ล้านบาทต่อแห่ง ส่วนวอลโว่อาจจะใช้เงินลงทุนสูงกว่านั้น และในอนาคตอาจมีการขยายเป็นตัวแทนยี่ห้อใหม่ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาถึงความเป็นไปได้"

ไซม์ ดาร์บี้ เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ระดับท็อปเทนของมาเลเซีย โดยเข้ามาลงทุนในไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2544 ปัจจุบันมีศูนย์จำหน่ายและบริการทั้งสิ้น 13 สาขา แบ่งเป็นศูนย์ฯ ของบีเอ็มดับเบิลยูจำนวน 2 สาขา ศูนย์ฯ มาสด้า 5 สาขา ศูนย์ฯ ของวอลโว่ 2 สาขา และศูนย์ฯ มิตซูบิชิจำนวน 4 สาขา นอกจากนี้ไซม์ ดาร์บี้ ยังดำเนินธุรกิจด้านอื่นๆ ในไทย เช่น บริษัทน้ำมันพืชมรกต และธุรกิจด้านพลังงานโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ป้อนให้กับกฟผ. (IPP)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us