|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
- รัฐรื้อแผน แฟรนไชส์ไทย go inter 4 ปีไม่คืบพบจุดอ่อนเพียบ
- จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะติวเข้ม ติดปีกผู้ประกอบการล็อตแรก 50 รายเริ่มปี 49
- กลับลำเจาะ 4 กลุ่มประเทศแถบเอเชีย-ตะวันออกกลาง แทนตลาดใหม่
- ผู้เชี่ยวชาญแนะเตรียมความพร้อมให้ความรู้กันตั้งแต่การสร้างแบรนด์
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทย กระทรวงพาณิชย์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินงานภายใต้นโยบายเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันผู้ประกอบการออกสู่ตลาดโลกเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ ขณะเดียวกันอัตราการเติบโตของภาคธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้วประมาณ 15% เท่านั้น ขณะนี้ที่ประเทศใกล้เคียงอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ธุรกิจดังกล่าวมีการเติบโตระหว่าง 70-90% เท่ากับว่ายังมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
ซึ่งได้มีการเริ่มโครงการแฟรนไชส์ไทยสู่แฟรนไชส์โลกครั้งแรกในปี 2544 มีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ผ่านการอบรมแล้วจำนวน 250 ราย และจากการประเมินความคืบหน้าของโครงการด้านศักยภาพผู้ประกอบการนั้นยังมีจุดอ่อนอีกมาก โดยกำหนดวันที่ 19 กันยายน 2549 เริ่มต้นโครงการอีกครั้ง แต่ภายใต้หลักสูตรการอบรมที่เข้มข้น ตั้งแต่การสร้างแบรนด์ ข้อกฎหมายจนถึงการขออนุมัติเงินกู้
สกัดจุดอ่อนตั้งศูนย์บ่มเพาะ
อรจิต สิงคาลวนิช อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า จากการประเมินผลการอบรมดังกล่าว เมื่อผู้ประกอบการต้องลงสู่ภาคสนามจริงๆ นั้นกลับพบจุดอ่อน ส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงสรุปจุดอ่อนออกเป็น 5 หมวด ที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขดังนี้
1. การออกแบบตราสินค้า การออกแบบรูปแบบร้านค้า 2. การจดเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา 3. การเตรียมความพร้อมไปต่างประเทศ 4. การแปลงทรัพย์สินเป็นทุนและ 5. การขออนุมัติสินเชื่อ โดย เอสเอ็มอีแบงก์และธนาคารออมสิน
"ครั้งนี้ได้ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไทยไปยังต่างประเทศให้ได้ และเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพเพิ่มมูลค่าในตลาด" อรจิตกล่าว
ด้านสมชาติ สร้อยทอง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเสริมว่า จะจัดตั้งเป็นศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการขึ้นรุ่นแรกจำนวน 50 ราย ตามความสมัครใจแต่มีหลักเกณฑ์ที่พิจาณาผู้ร่วมโครงการคือ1.ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์หรือแฟรนไชซอมาไม่น้อยกว่า 2 ปี 2. มีจำนวนสาขาแฟรนไชส์ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง 3. มีผู้ถือหุ้นที่เป็นคนไทยไม่น้อยกว่า 51% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด 4. มีผลประกอบการได้กำไรในช่วง 2 ปีย้อนหลัง 5. มีคู่มือปฎิบัติงานทุกขั้นตอน และมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน 6. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท 7. มีการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วและ 8. ต้องมีผู้บริหารที่ดำเนินธุรกิจหรือประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
"ปัจจุบันต้องยอมรับว่ากระแส แฟรนไชส์มาแรงมาก แต่ในภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังค่อนข้างอ่อนแอ และครั้งนี้ จะเป็นการอบรมกันอย่างเข้มข้นให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ โดยผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องมีความมุ่งมั่นจริง จะเห็นว่าเรารับสมัครอยู่ที่ความสมัครใจแต่ต้องตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ศูนย์บ่มเพาะนี้ จะเท่ากับเป็นการติดปีก เสริมอาวุธให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์แข่งขันในตลาดโลกได้ โดยศูนย์นี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ การบริการ การพัฒนาธุรกิจและแก้ไขปัญหาร่วมถึงการจัดทำคู่มือธุรกิจ" สมชายกล่าว
เจาะ 4 กลุ่มประเทศดาวรุ่ง
สมชาติ กล่าวว่า โดยมีการจัดตั้งกลุ่มทำงานแต่ละประเทศเป้าหมายขึ้น 4 กลุ่มประเทศ ในเบื้องต้นนี้จะเป็นประเทศที่ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง พิจารณาประเภทกิจการที่เหมาะสมกับภูมิภาคเหล่านี้ เพื่อการส่งเสริมที่ถูกทิศทางมากขึ้น เช่นธุรกิจบริการประเภทสปา โดยเฉพาะสปาไทยนั้นเป็นที่นิยมในตะวันออกกลางอย่างมาก
จิตต์วิภา ศักดิ์พิทักษ์สกุล ผู้อำนวยการกองธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่ง 4 กลุ่มประเทศนั้น เหมาะสำหรับรายที่เพิ่งจะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ซึ่งควรเริ่มที่ประเทศใกล้เคียงกับไทยก่อน เพราะค่าใช้จ่ายถูก วัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน แล้วค่อยนำประสบการณ์เหล่านี้มาเรียนรู้และแก้ปัญหาก่อนขยายตลาดไปยังภูมิภาคอื่น สถิติผู้ร่วมโครงการที่สามารถขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้นั้นมีไม่ถึง 10% ส่วนใหญ่ถอยเสียก่อน ปัจจัยจากเรื่องระยะทางเพราะทำให้มีต้นทุนสูงตามไปด้วย
"อย่างประเทศที่น่าสนใจและอยู่ 4 กลุ่มประเทศที่กระทรวงส่งเสริม เช่น ฮานอย โฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม น่าจะไปได้ดี เพราะชาวเวียดนามยอมรับในธุรกิจไทย หรือ ดูไบ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และจีนที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ซึ่งทางกระทรวงได้ทำแสดงสินค้าในประเทศเหล่นี้และอยู่ระหว่างที่จะไปในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการรายใดสนใจตลาดไหนก็ร่วมเฉพาะงานก็ได้" จิตต์วิภากล่าว
การขยายธุรกิจแฟรนไชส์ไปต่างประเทศได้นั้น ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นรายใหญ่เท่านั้นถึงจะประสบผลสำเร็จ รายเล็กก็สามารถ เพราะความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ อยู่ที่นโยบายของธุรกิจ การแก้ไขปัญหาในแต่ละช่วง ที่สำคัญต้องเตรียมความพร้อมของทีมงาน รู้ตลาด และภาษาที่ดี เพื่อให้การเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่น และความพร้อมข้อมูล การติดต่อกับบริษัท ซึ่งธุรกิจควรจดโดเมนเนมซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไม่มากและเป็นที่แพร่หลายของธุรกิจระดับสากล
Brand หัวใจสู่ความสำเร็จ
ชัยรัตน์ อัศวางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิทอิน ดีไซส์ จำกัด ผู้มีประสบการณ์ในวงการมากว่า 20 ปี กล่าวว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าการออกแบบคือการออกแบบโลโก้ แต่สิ่งแรกคือการออกแบบแบรนด์ เพราะแบรนด์คือภาพของบริษัทเป็นสิ่งสำคัญที่ให้ธุรกิจประสบความสำคัญ และควบคู่กับสินค้า การดีไซส์ซึ่งสินค้าไทยส่วนใหญ่สวยแต่อาจขายไม่ได้ก็มี ซึ่งการออกแบบนั้นต้องให้โดนใจ
เขายกตัวอย่างเช่น ร้านขนมปังนมสด คนส่วนใหญ่จะคิดถึง "มนต์นมสด" สิ่งนี้คือแบรนด์ แต่อาจนึกโลโก้ไม่ออก ฉะนั้นแบรนด์มีความสำคัญและต้องสร้างแบรนด์ก่อน ถ้าเปรียบเทียบแบรนด์คือบ้านทั้งหลัง ขณะที่โลโก้คือประตู แต่ต้องกำหนดสี ตัวอักษร เพื่อสร้างความจดจำด้วย เพราะถ้ามีแบรนด์แล้วการทำธุรกิจให้สำเร็จก็ง่ายขึ้น เช่นมนต์นมสด ถ้าเขาประกาศขายแฟรนไชส์ก็พร้อมที่จะมีผู้ลงทุนกันทุกจังหวัดเพราะแบรนด์ติดตลาดแล้ว
ติงแบงก์ไม่เข้าใจแฟรนไชส์
พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ล่าสุดสมาคมฯ ได้จัดงาน World Franchise Forum 2005 โดยได้เชิญแบงก์รัฐและเอกชนร่วมฟังสัมมนาในหัวข้อ "สถาบันการเงินกับบทบาทการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย" เพราะยังมีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ค่อนข้างน้อยทำให้ส่งผลต่อการพิจารณาในการปล่อยสินค้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการเติบโตของธุรกิจ
"ถ้าขาดการสนับสนุนเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หรือแฟรนไชซอร์ที่ถูกต้อง โดยเหมารวมกับสินเชื่อพ่อค้าแม่ค้า 20,000-50,000 บาทนั้น ไม่อาจทำให้ธุรกิจโตได้ ตอนนี้มีลูกค้าของธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 11,000 ราย และคาดว่าจะโตขึ้นอีกเท่าตัว เป็นกลุ่มที่มีความรู้มีเงินจำนวนหนึ่ง ที่พร้อมจะลงทุนกับเจ้าของกิจการหรือแฟรนไชซอร์ที่เข้มแข็ง เพราะนั่นหมายถึงความยั่งยืนและความชัดเจนของธุรกิจ ฉะนั้นเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์ และแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป ซึ่งขณะนี้เอสเอ็มอีแบงก์ได้เริ่มโดยมีผู้เชี่ยวชาญพิจารณาสินเชื่อแฟรนไชส์" พีระพงษ์กล่าว
ขณะที่แฟรนไชส์ขนาดเล็ก หรือลงทุนต่ำกว่าแสนเป็นธุรกิจที่ผลักดันลำบาก แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลมาสนับสนุน เท่ากับว่าแฟรนไชส์เล็กๆ ล้มหายตายจากไปจากเงินกู้เล็กๆ น้อยๆ และแบงก์ก็ไม่สามารถเก็บเงินกับรายเหล่านี้ได้ เท่ากับว่าคนที่กู้ก็จ่ายเงินไม่ได้ คนที่เป็นแฟรนไชซอร์ก็พัฒนาตัวเองไม่ได้
|
|
|
|
|