Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กันยายน 2548
เปิดกรณีศึกษา บทเรียนราคาแพง ‘แฟรนไชส์ไทย go inter’             
 


   
www resources

โฮมเพจ แบล็คแคนยอน

   
search resources

แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย), บจก.
Food and Beverage
Franchises




‘ตลาดต่างประเทศ’ เป็นคำหอมหวนในวงการธุรกิจแฟรนไชส์ จะด้วยปัจจัยจำนวนประชากร การรับรู้และเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถ่องแท้ง่ายต่อการทำธุรกิจร่วมด้วยก็ตามแต่

ที่ผ่านมาจะเห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ไทย go inter กันแล้วหลายรายแต่ยังกระจุกตัวในธุรกิจประเภทร้านอาหาร ธุรกิจบริการอย่างสปา ขณะเดียวภาพที่ปรากฏมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและบาดเจ็บกลับมา

“ผู้จัดการรายสัปดาห์” ฉบับนี้นำกรณีศึกษากลุ่มธุรกิจที่ทำตลาดต่างประเทศทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบในการทำธุรกิจ เพื่อเป็นข้อมูลในระดับหนึ่งสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจลุยตลาดต่างประเทศ

แบล็คแคนยอน ธุรกิจร้านกาแฟควบคู่กับการให้บริการอาหารปรุงสด 6 ปีกับการไปทำตลาดต่างประเทศของ ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษา ด้านความสำเร็จ จากสาขาแรกที่สิงคโปร์จนถึงปัจจุบันสามารถขยายสาขาในมาเลเซียได้ 3 สาขา บาหลี 2 สาขา พม่า 1 สาขาและจะเปิดที่มันดาเลย์อีก 1 สาขา และดูไบอีก 5 สาขา น่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีถึงความพร้อมของ แบล็คแคนยอนได้เป็นอย่างดี

กรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ควรเตรียมพร้อมในเรื่องขององค์กรและความเป็นคู่ค้าที่ดีจะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานสากล กรณีแบล็คแคนยอนจะทำเป็นคู่มือภาษาอังกฤษทั้งหมด

นอกจากนี้ ความพร้อมของทีมงานสำหรับพัฒนาเมนูอาหารและการทำอาร์แอนดี ส่วนเรื่องกฎหมายก็ต้องมีการจัดลิขสิทธิ์ตัวแบรนด์ตัวโลโก้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะทำเพื่อป้องกัน และหลังจากที่มีการศึกษาข้อมูลต่างๆ แล้วจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยมิใช่ขายแฟรนไชส์ไปก่อนแล้วค่อยทำที่หลัง

สำหรับการไปขยายสาขาในต่างประเทศของอาหารไทยนั้นตนมองว่ายังมีโอกาสที่จะเปิดได้อีกมากเนื่องจากยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว และการไปลงทุนในตลาดต่างประเทศของนักธุรกิจไทยก็ยังเป็นที่สนใจ

กรรณิการ์ ยกตัวอย่างการพิจารณาแฟรนไชซีของแบล็คแคนยอนในสาขาต่างประเทศว่า 1.ความพร้อมของเงินทุน ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท 2.ความสามารถในการบริหารจัดการและทีมงานของผู้ลงทุน 3.ความสามารถในการบริการจัดการครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการร้าน การตลาด การส่งเสริม การขาย การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ และ 4.เรื่องของโลเกชั่น

“ด้านข้อกฎหมายในการขยายสาขาไปต่างประเทศมองว่ามิใช่อุปสรรค และการเลือกแฟรนไชซีที่เป็นคนประเทศนั้นๆ ถือเป็นจุดดี เพราะเขาจะรู้ข้อกำหนดของประเทศเขาดีกว่า แต่อุปสรรคจริงๆ คือการคัดเลือกแฟรนไชซีที่เหมาะสมและมีความพร้อมซึ่งเป็นจุดหลักที่ทำให้บริษัทต้องใช้เวลาในการคัดเลือกให้เหมาะสม และต้องให้รายละเอียดกับเรื่องนี้มาก” กรรณิการ์กล่าว

ขณะเดียวกันยังอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ คือมีโปรดักซ์ที่น่าสนใจนั้นคือมีกาแฟที่ได้รสชาติมาตรฐานสากลและมีอาหารที่มีหลากหลายเมนูทั้งอาหารไทยจานเดียวและอาหารต่างชาติ มีการบริหารจัดการร่วมกับแฟรนไชซีที่ต่างประเทศเพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ประเทศที่ไม่ทานหมู จะมีการปรับเปลี่ยนเมนูให้เหมาะกับแต่ละประเทศ

ขณะที่ตลาดในจีน ที่มีการพูดถึงอย่างมากในส่วนของนักลงทุนไทยนั้น บริษัทเล็งไว้เช่นกัน เพราะเห็นโอกาสเนื่องจากประชากรของจำนวนมากและกำลังซื้อก็มีมากด้วย เพียงแต่ต้องมองหาโลเกชั่นที่ดีที่สามารถทำให้บริษัทสามารถสร้างแบรนด์ให้ได้รับความนิยมได้แต่เนื่องจากจีนมีข้อกำหนดว่าถ้าจะขายแฟรนไชส์ในจีนได้ต้องมีสาขาของตัวเองหรือร้านตัวอย่างก่อนซึ่งตรงนี้บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนปัญหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์ของคู่ค้านั้นในการทำธุรกิจตนมองว่าเป็นเฉพาะบางคนมากกว่า หรืออย่างเรื่องกฎหมายก็เป็นปัญหามากซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

ด้าน ‘นีโอสุกี้’ ธุรกิจสุกี้ที่มีประสบการณ์จากการขยายสาขาไปยังต่างประเทศในลักษณะร่วมทุน และแฟรนไชส์กับทุนท้องถิ่น ในประเทศอินโดนีเซีย 4 แห่ง และกัมพูชาอีก 2 แห่ง ประสบการณ์ดังกล่าวทำให้ ‘สกนธ์ กัปปิยจรรยา’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีโอ สุกี้ ไทย เรสเตอร์รองส์ จำกัด มั่นใจกับการขยายสาขาไปยังประเทศอื่นต่อไป ประกอบกับขณะนั้นสาขาในประเทศต้องทยอยกิจการลงคงไว้เพียง 1 สาขาที่เซ็นเตอร์เท่านั้น

จีน เป็นประเทศที่เขายอมรับว่าเป็นประเทศใฝ่ฝัน ด้วยจำนวนประประชากรกว่า 1,000 ล้านคนและพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้ประเทศ ทำให้เขาเริ่มหาคู่ค้าในจีน และลงทุนในสัดส่วน 60/40 เป็นลักษณะภัตคารสุกี้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในจีน เพื่อหวังเป็นร้านต้นแบบเพื่อขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ต่อไป

สกนธ์ เพิ่งขยายธุรกิจเข้าจีนเมื่อกลางปี 2548 ที่ผ่านมา ประสบการณ์เพียงระยะสั้นนี้ กับเป็นอุทาหรณ์ให้วันนี้เขาต้องพิจารณาการลงทุนให้มาก และบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาพบเจอจากการเชข้าไปทำธุรกิจใน

เหมือนลิงกำเม็ดถั่วในมะพร้าวไม่ยอมปล่อย ‘สกนต์’ เปรียบเทียบให้เห็นภาพของนีโอสุกี้ที่เข้าไปลงทุนในจีน อยากเข้าไปลงทุน เพราะมองเห็นตลาด 1,000 กว่าล้านคนอยู่ตรงหน้า ขณะเดียวกันคู้ค้าในจีนก็สร้างความเชื่อมั่นให้เต็มที่

แต่ ณ วันนี้ภาพฝันกลับไม่เป็นจริง เขาต้องเจอปัญหาอุปสรรค ทุกวันนี้นีโอสุกี้ในจีนยังคาราคาซังในเรื่องขอการจดทะเบียนธุรกิจและปล่อยให้อยู่ภายใต้การดูแลของหุ้นส่วน และคงธุรกิจในจีนไว้เพียงเท่านี้

สกนต์ กล่าวว่า การเข้าไปลงทุนในจีนค่อนข้างมีปัญหา ที่แรกดีมากเชื้อเชิญปูพรมรับรองอย่างดี บอกว่าไม่มีปัญหาจัดการให้ได้หมดทุกอย่าง แต่มาเจอปัญหาว่าอะไรที่สัญญาไว้ไม่ได้หรือไม่เป็นไปตามนั้น กรณีที่นีโอสุกี้เจอคือปัญหาของคู่ค้า พันธมิตร ด้วยความสนิทและเชื่อใจ

โดยสัดส่วนการลงทุน คู่ค้าในจีน 40% นีโอสุกี้ 60% โดยดูแลด้านเพื่อใช้จ่ายในการจัดการ ดูแลการเงิน การบริหารภายในร้าน พอทำไประยะหนึ่งคู่ค้าแจ้งว่าตามกฎหมายเงินที่เป็นรายได้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคนจีนก็คือให้คนของเขาเข้ามาดูแลเรื่องการเงิน การเสียภาษี

และยังเจอปัญหาแรงงาน เพราะช่วงที่เข้าไปขั้นตอนการขอใบอนุญาติยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้มีปัญหาด้านการจ้างงานตามมา ซึ่งขั้นตอนการขอใบอนุญาติยุ่งยากมากเพราะแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเรื่องแรงงาน สาธารณสุขแยกจากกัน

แต่พอมาถึงขั้นตอนที่ต้องจดทะเบียนบริษัท สัดส่วนที่ว่า 40/60 นั้น คู่ค้าทางจีนกลับบอกว่ามีปัญหา ให้นีโอสุกี้โอนเงินเพิ่มอีก 1 ล้านเหรียญจีนแล้วถึงค่อยได้จดทะเบียนบริษัทตามกฎหมาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้โอนไปจำนวนหนึ่งเพื่อตกแต่งร้าน ซื้อของ พอจะจดทะเบียนบริษัทกลับไม่ใช่ยังต้องโอนเงินให้ก่อน เริ่มคิดหนัก เพราะเป็นการจ่ายที่ไม่พร้อมกันไม่รู้คู่ค้าจะจ่ายส่วนของเขาหรือไม่และเขาเข้ามาคุ้มเงินแล้วโดยอ้างขอกฎหมาย

ทุกวันนี้การจดทะเบียนการยังคาราคาซังอยู่ ธุรกิจก็ดำเนินไปเท่าที่ได้ แต่ถ้าดูจากการตลาดก็มีข้อผิดพลาดตรงแม้ทำเลที่ตั้งจะตั้งอยู่ในห้างสรรพสินที่ใหญ่ในจีน แต่กลุ่มลูกค้าจะเป็นชาวต่างชาติ นักธุรกิจ ขณะที่คนในประเทศค่าครองชีพไม่สูงมาก และสินค้าคู่แข่งใกล้เคียงอย่างก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ก็ขายในราคาไม่แพงและให้ในปริมาณที่มากจึงเป็นทางเลือกให้เขาอย่างดี

“เราเหมือนลิงกำเม็ดถั่วในมะพร้าวไม่ยอมปล่อย อยากจะได้ ดูดี อยากขยาย คู่ค้าก็สร้างความเชื่อมั่นเชื่อใจให้เราเต็มที่ ความอยากไปลงทุนที่จีน กฎหมายตัวหนึ่งบอกว่าจะไปลงทุนที่จีนรูปแบบแฟรนไชส์ต้องมีพาร์ทเนอร์ ร่วมทุนกับจีนถึงลงทุนได้ อยู่ๆ ไปขายแฟรนไชส์ไม่ได้ เล็งเห็นศักยภาพ การลงทุน ถ้าได้มันดี แต่ปัญหาของนักธุรกิจจะออกหัวออกก้อยก็ต้องประเทศเขา ก็เป็นเรื่องของธุรกิจทั่วไป ที่มองความน่าจะเป็น เอาเข้าจริงไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ในข้อกฎหมาย พฤติกรรมคน ซึ่งสำคัญมาก แรกๆ รู้สึกตอนรับเราดี แต่สักพักรู้สึกหวาดกลัว เหมือนเราเป็นคนต่างด้าว คือทะเบียนเราไม่พร้อม ผมว่าร้านอาหารไทยในจีนไม่มี เพราะคนไม่กล้าลงทุน เจ็บตัวหลายรายก็เป็นอุทาหรณ์ให้คนที่จะไปลงทุนในจีน” สกนต์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us