Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กันยายน 2548
TAX KNOWLEDGE : 8 ข้อที่ต้องจารึกใน 'ใบกำกับภาษีฯ'             
โดย สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
 


   
search resources

Auditor and Taxation




ปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตในยุคนี้คงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ที่ต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ น้ำมันกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แทบจะเป็นปัจจัยที่ห้าของการดำรงชีวิตในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้

ประเทศไทยเราไม่มีแหล่งน้ำมันเพียงพอในเชิงพาณิชย์จึงต้องอาศัยแหล่งน้ำมันจากต่างประเทศที่ต้องนำเข้าทำให้ประเทศไทยต้องจ่ายเงินซื้อน้ำมันเป็นจำนวนเงินมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงได้เลย ยิ่งเข้าหน้าหนาวปลายปีก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการในการใช้น้ำมันจะสูงขึ้นในช่วงดังกล่าว

ประเทศไทยเราคงต้องต่อสู้กับราคาน้ำมันอีกยาวนานที่ได้แต่ภาวนาให้ราคาลดลง หรือมีราคาที่เหมาะสมที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ดีไม่ว่าน้ำมันจะขึ้นหรือลงคนไทยก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องจ่ายตามความจำเป็นในการใช้น้ำมันของแต่ละคน

ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องมีการติดต่อธุรกิจกับลูกค้าอยู่เป็นประจำต้องมีการยานพาหนะที่ใช้ในการติดต่อทำธุรกิจกับลูกค้าในแต่ละวันก็คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นจะต้องมีการใช้น้ำมันในการเติมรถยนต์ในการติดต่อธุรกิจ

รถยนต์ที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจแยกออกเป็น 2 ชนิดตามประมวลรัษฎากร คือ

1. รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เช่น รถเก๋ง รถแวน รถกระบะดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง รถตู้ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

2. รถยนต์นอกจาก 1. เช่น รถกระบะ รถบรรทุก รถตู้ที่มีที่นั่งเกิน 10 คน

เมื่อผู้ประกอบการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์จะได้รับหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อ หากค่าน้ำมันรถยนต์ดังกล่าวเป็นการใช้กับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คนใบกำกับภาษีที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปหรือใบกำกับภาษีอย่างย่อภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อที่เกิดขึ้นไม่มีสิทธิขอคืนหรือนำไปหักออกจากภาษีขาย

แต่นำไปถือเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าน้ำมันได้ แต่หากค่าน้ำมันรถยนต์ ดังกล่าวใช้กับรถยนต์ประเภทอื่นที่ไม่ใช่ข้อ 1. ภาษีซื้อค่าน้ำมันผู้ประกอบการมีสิทธินำไปขอคืนหรือนำไปหักออกจากภาษีขายได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือจะขอภาษีซื้อคืนได้ต้องขอใบกำกับภาษีจากปั๊มน้ำมันเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปเท่านั้นและจะต้องระบุเลขทะเบียนรถยนต์ไว้บนใบกำกับภาษี โดยเลขทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวจะกระทำด้วยลายมือ ตรายาง หรือพิมพ์ดีดก็ได้

ปัญหาอย่างหนึ่งของ "ใบกำกับภาษีค่าน้ำมันรถยนต์" เมื่อพนักงานของกิจการนำรถยนต์ของกิจการไปเติมน้ำมันรถยนต์จะต้องมีการขอหลักฐานการจ่ายเงินซึ่งทางปั๊มน้ำมันจะออกหลักฐานให้เป็น "บิลเงินสด/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ" ซึ่งไม่ได้มีการระบุไว้บนใบกำกับภาษีว่า ใครเป็นผู้จ่ายเงิน และหากมีการระบุก็มักจะมีการระบุว่า "สด" หรือ "เงินสด" ทำให้หลักฐานการจ่ายเงินหรือบิลค่าน้ำมันดังกล่าวไม่สามารถระบุได้ว่า ใครเป็นผู้จ่าย ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9) กำหนดเงื่อนไขของรายจ่ายต้องห้ามในการนำไปคำนวณกำไรสุทธิไว้ดังนี้

"มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใดก็อาจลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถัดไปได้"

ดังนั้นหาก "บิลน้ำมัน" ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้จ่ายเงินจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการนำไปคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่ได้จ่ายจริง พนักงานของกิจการที่มีหน้าที่นำรถยนต์ไปใช้และจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์จะต้องให้ปั๊มน้ำมันออกใบกำกับภาษีเต็มรูปให้เพื่อที่จะระบุชื่อผู้ซื้อหรือผู้จ่ายเงินเป็น "ชื่อของกิจการพร้อมที่อยู่" และเมื่อได้รับบิลเงินสดและใบกำกับภาษีเต็มรูปจากค่าน้ำมันรถยนต์ผู้จ่ายเงินหรือพนักงานของกิจการควรตรวจสอบว่า ข้อความที่ปรากฏบนบิลเงินสด/ใบกำกับภาษีนั้นมีข้อความครบถ้วนหรือไม่ดังต่อไปนี้

1. ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขาย (ปั๊มน้ำมัน)
2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย (ปั๊มน้ำมัน)
3. คำว่า "ใบกำกับภาษี" หรือ "บิลเงินสด/ใบกำกับภาษี"
4. เลขที่ และเล่มที่ (ถ้ามี) ของใบกำกับภาษี
5. ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อ (ผู้จ่ายเงิน)
6. วันที่ที่ออกใบกำกับภาษี
7. รายละเอียดของค่าน้ำมันที่เติม เช่น ชนิดน้ำมัน ปริมาณ ราคาต่อหน่วย จำนวนเงิน
8. จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดูเหมือนว่าจะยุ่งยากพอสมควรในการที่พนักงานของบริษัทหรือพนักงานขับรถยนต์เมื่อมีการเติมน้ำมันจะต้องมีการตรวจสอบ "บิลเงินสด/ใบกำกับภาษี" ทุกครั้งที่เติมน้ำมัน พนักงานส่วนใหญ่มักจะจำไม่ได้ว่า 8 ข้อข้างต้นมีอะไรบ้าง

แต่มีเทคนิคง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือ ทุกครั้งที่นำรถยนต์ไปเติมน้ำมันก็บอกเด็กปั๊มว่า "ขอใบกำกับภาษีเต็มรูป" แล้วยื่นนามบัตรที่ระบุชื่อบริษัทพร้อมที่อยู่ให้เด็กปั๊มน้ำมันเพื่อให้ออกใบกำกับภาษีได้ถูกต้อง และเมื่อได้รับใบกำกับภาษีมาแล้วก็ส่งมอบให้กับฝ่ายบัญชีของกิจการช่วยตรวจความถูกต้องอีกครั้งก็น่าจะเพียงพอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us