|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เซียนการตลาดแนะกลยุทธ์ขายบ้านยุคใหม่ "ต้องหยุดคู่แข่ง" เลี่ยงการแข่งขันด้านราคา และวางตำแหน่งครองใจผู้บริโภคให้ได้ ชี้ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนส่วนผสมทางการตลาด 4 P's เป็น Marketing Universe หรือการตลาดครอบจักรวาล
การแข่งขันของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในยุคปัจจุบัน นอกจากจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งขันทางตรงซึ่งขายที่อยู่อาศัยในระดับเดียวกัน ประเภทเดียวกันแล้ว ยังต้องต่อสู้กับกำลังซื้อที่เบาบางลงในช่วงนี้ จากผลของปัจจัยลบ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ทะยานสูงขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นด้วย รวมถึงอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้น ดังนั้น การทำการตลาดแนวใหม่จึงถูกนำมาให้ความสำคัญมากขึ้น
นักการตลาดมือหนึ่งของเมืองไทย ดร. เสรี วงษ์มณฑา ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึง กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า แนวคิดการตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงการทำการขายเพียงอย่างเดียว ต้องใช้การทำตลาดแบบผสมผสาน (Intregrated Marketing)
โดยยึดคำว่า STOP ซึ่งหมายถึง การหยุดคู่แข่งขัน โดย S ตัวแรก มาจากคำว่า Segmentation หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดที่เฉพาะเจาะจง เพราะโครงการไม่ได้ขายบ้านให้กับคนทุกกลุ่ม ทุกประเภท การแบ่งอาจใช้เกณฑ์ด้านอายุ รายได้ สถานที่ทำงาน ซึ่งเมื่อแบ่งแล้วจะได้กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง
T มาจาก Target เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ลงลึกถึงการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ รสนิยม ความต้องการ เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ประกอบการขายบ้านและสร้างบ้านโดยการศึกษาและคำนึงถึงการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
ส่วน O มาจาก Offering คือการนำเสนอจุดเด่นของบ้านให้ครบมิติ หรือครบตามที่ลูกค้าต้องการ และสุดท้ายซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือ P มาจาก Positioning การขายสินค้าให้ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยการวางตำแหน่งครองใจลูกค้าอย่างชัดเจน และต้องทำให้สินค้าโดดเด่นขึ้นมา เช่น โครงการบ้านกลางเมือง กลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อบ้าน คือลูกค้าที่อยากจะอยู่กลางเมือง ใกล้แหล่งธุรกิจและสถานที่ทำงาน ซึ่งหากโครงการไม่มีจุดขายที่ชัดเจนแล้ว สุดท้ายโครงการก็จะต้องกลับมาแข่งขันเรื่องเดิม คือ กลยุทธ์ราคา การลดแลกแจกแถม ซึ่งการทำธุรกิจใด ๆ ที่แข่งขันกันในด้านราคาสุดท้ายจะอยู่ไม่รอด
นอกจากนี้ กลยุทธ์การตลาดแนวใหม่จะต้องเพิ่มส่วนผลมทางการตลาดที่มากกว่า 4 P's โดยปลี่ยนเป็นการตลาดแบบ Marketing Universe หรือ จักรวาลแห่งการตลาด คือต้องมองสินค้าให้กว้างขึ้นกว่าเดิม เพราะ 4 P's ไม่เพียงพอกับการตลาดสมัยใหม่ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายย่อยหรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้อย่างครบถ้วน
ได้แก่
1.Product จากการสร้างที่อยู่อาศัย เปลี่ยนเป็น การแก้ปัญหาให้ลูกค้า ซึ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและการดีไซน์ที่อยู่อาศัยที่แก้โจทย์ความต้องการของลูกค้าได้
2. Price หรือ ราคา เปลี่ยนเป็น ต้นทุนของลูกค้า ทั้งนี้ การตั้งราคาที่อยู่อาศัยไม่ใช่คำนึงถึงตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องประหยัดเวลาด้วย รวมทั้งการตั้งราคาขายจะบ่งบอกถึงรสนิยมของผู้ซื้อบ้าน และ ทำให้ลูกค้ามีความภูมิใจในการอยู่อาศัยด้วย
3. Place แบ่งเป็น 2 ความหมาย คือ ทำเลที่ตั้งและ สถานที่ในการติดต่อซื้อขาย เปลี่ยนเป็น ความสะดวกในการติดต่อซื้อขาย ซึ่งในอนาคตการเปิดขายโครงการต้องยืดเวลาเปิดขายในช่วงที่ลูกค้าสะดวกด้วย
4.Promotion ได้แก่ การโฆษณาและการลดแลกแจกแถม เปลี่ยนเป็น Communication หรือการสื่อสารกับลูกค้าในทุกรูปแบบ ซึ่งอาจใช้แบบ Low Course Marketing เช่น การสื่อสารผ่านนิตยสารพร็อพเพอร์ตี้ต่าง ๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ดีกว่าการโฆษณา
5. People เปลี่ยนเป็น Customer Relationship Management (CRM) หรือการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยพนักงานทุกฝ่ายต้องมีความพร้อมที่จะเจรจากับลูกค้า โดยเฉพาะการทำโครงการให้เสร็จทันตามสัญญา
6. Process กระบวนการการทำงานต้องง่าย สะดวก เร็ว เปลี่ยนเป็น Customer Experience Management หรือการบริหารประสบการณ์ของลูกค้าให้มีความประทับใจตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาติดต่อ 7. Performance การปฏิบัติหน้าที่ เปลี่ยนเป็น Culture หรือ การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร โดยพนักงานทุกคนจะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจ และความประทับใจสูงสุด รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มเติมให้กับสินค้าด้วย
8. Power บารมีของผู้บริหาร หรือการสร้างเครือข่ายขององค์กร เช่น การเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรอื่น เปลี่ยนเป็น Chain of Relations หรือห่วงโซ่แห่งสัมพันธภาพ
9. Personality เปลี่ยนเป็น Creative of Value บุคลิกของสินค้ากับบุคลิกของพนักงานขายต้องสอดคล้องกัน เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการโดยอาจใช้บรรยากาศในการขาย หรือชุดยูนิฟอร์มของพนักงานขาย
และ 10. Packaging หมายถึง บริเวณที่ตั้งโครงการตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงจุดที่ตั้งของตัวบ้าน เปลี่ยนเป็น Chain of Value หรือการสร้างคุณค่าอย่างต่อเนื่องเป็นห่วงโซ่ไม่ขาดสาย เช่น การเก็บกองวัสดุก่อสร้างในขณะก่อสร้างโครงการ ต้องไม่เก็บไว้ตั้งแต่บริเวณรั้วจนถึงสำนักงานขายเพราะทำให้ดูไม่สวยงาม รวมทั้งการตกแต่งบ้านตัวอย่าง เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ Packaging
|
|
|
|
|