Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กันยายน 2548
เอสเอ็มอีแบงก์ซุกปีก"บัวหลวง" ปล่อยสินเชื่อ"ครัวไทย-โอทอป"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ประสงค์ อุทัยแสงชัย
Loan




ด้วยนโยบายสนับสนุน"ครัวโลก" ทำให้"เอสเอ็มอีแบงก์"ต้องมีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้นแต่หมายถึงฐานลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศด้วย แต่ด้วยข้อจำกัดของเครือข่ายหรือสาขาที่เชื่อมโยงเข้าถึงลูกค้า ทำให้เอสเอ็มอีแบงก์มีอุปสรรคด้านช่องทางในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นการจับมือเป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงเทพจึงเป็นทั้งทางออกที่ลงตัว และปิดจุดอ่อนด้านแขนขาหรือเครือข่ายที่มีอยู่น้อย

เอสเอ็มอีแบงก์ ได้รับประโยชน์อย่างมากกับการผูกมิตรในครั้งนี้ เพราะการขยายเครือข่ายออกไปทั่วโลกหากต้องเปิดเป็นสาขาหรือสำนักงานก็จะกลายเป็นเรื่องของภาระต้นทุนไป ในส่วนของธนาคารกรุงเทพเองก็ได้รับประโยชน์จากค่าธรรมเนียมการจัดการ ดังนั้นการจับมือเป็นพันธมิตรครั้งนี้จึงกลายเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน

ประสงค์ อุทัยแสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ บอกว่า การที่เอสเอ็มอีแบงก์ดึงธนาคารกรุงเทพเป็นตัวแทนหลักประกันขยายขอบเขตการให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เพราะเป็นธนาคารเดียวที่มีเครือข่ายมากที่สุด โดยมีสาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศ 21 แห่ง ในเขตเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก อย่าง จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ

"การมีสาขาในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนง่าย และยังเป็นการช่วยเหลือให้เขาได้มีโอกาสนำเงินทุนไปพัฒนาขีดความสามารถเพื่อเป็นที่ยอมรับในฐานะครัวของโลกต่อไป"

ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในต่างประเทศ สามารถใช้หลักทรัพย์ในต่างประเทศเป็นหลักประกันในการยื่นขอสินเชื่อจากเอสเอ็มอีแบงก์ได้ โดยที่ธนาคารกรุงเทพสาขาต่างประเทศจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนหลักประกันแทน เอสเอ็มอีแบงก์ ในการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกัน เช่นการจัดหาบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือมาประเมินทรัพย์สิน จัดหาทนายความมาทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนการจดจำนอง

ประสงค์ บอกว่า ครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการที่มากกว่าการโฆษณาอาหารไทยในต่างประเทศ เพราะถ้าคาดหวังถึงผลที่ตามมาอย่างต่อเนื่องหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ คือ การส่งออกแรงงาน เครื่องปรุงประกอบอาหาร รวมถึงการนำมาซึ่งการท่องเที่ยว

ความสำคัญของร้านอาหารไทยคือ"หน้าตา"ของประเทศ ขณะเดียวกันโครงการนี้จะทำให้สินค้าแบรนด์ไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะร้านอาหารไทยส่วนใหญ่มีการสั่งเข้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไทยมาตกแต่ง ประดับประดา หรือมากกว่านั้นมีการสั่งสินค้าไทยในโครงการหนึ่งตำลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) มาวางขาย จึงเห็นได้ว่า เป็นโครงการที่มากกว่าการโฆษณาอาหารไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ระหว่างเอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารกรุงเทพ นอกเหนือจากเหตุผลเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนแล้วยังเป็นการสนับสนุนการเพิ่มจำนวนร้านอาหารไทยในต่างประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 10,000แห่งภายในปี 2551

พัชราภรณ์ สุทธิโชติ ผู้ช่วยผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์ บอกว่า แม้รัฐบาลจะตั้งตัวเลขในการขยายร้านอาหารในต่างประเทศไว้ถึง 10,000 แห่งก็ตาม แต่เอสเอ็มอีแบงก์ในฐานะแหล่งเงินกู้คงไม่สามารถเร่งปล่อยสินเชื่อได้ เพราะผู้ประกอบการแต่ละรายที่เข้ามา ธนาคารจะต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบครอบถึงความพร้อม ความตั้งใจจริง และโอกาสในการเข้าไปทำธุรกิจ

"ไม่ปฏิเสธว่าที่ผ่านมาการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างยาก เพราะธนาคารเองก็ต้องพิจารณาด้วยว่าผู้ประกอบการมีความพร้อมแค่ไหน ปัญหาหนึ่งที่เราพบคือเป็นการยากมากที่ธนาคารจะรู้ถึงขีดความสามารถที่แท้จริงผู้ประกอบการการในต่างประเทศ เนื่องจากไม่สามารถตามไปดูถึงแห่งที่นั้นได้ ตรงนี้เองที่เป็นปัญหาให้ต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ"

อย่างไรก็ตาม เอสเอ็มอีแบงก์กำลังดูแนวทางสำหรับแก้ปัญหาเรื่องนี้อยู่ อาจเป็นไปได้ว่าธนาคารจะส่งพนักงานหรือตัวแทนไปเก็บข้อมูลหรือพูดคุยกับลูกค้า ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยตัวแทนที่ส่งไปอาจไปนั่งประจำในสำนักงานการท่องเที่ยวที่ประเทศไทยเข้าไปเปิดให้บริการ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการประหยัดต้นทุนมากกว่าการที่เอสเอ็มอีแบงก์ไปเปิดสาขาหรือสำนักงานให้บริการ

ความร่วมมือระหว่าง 2 พันธมิตรที่เป็นแบงก์รัฐและเอกชนนั้นอาจเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าถึงแหล่งทุน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการจะเข้าถึงได้ทุกราย เพราะหลักการพิจารณาปล่อยกู้โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมนั้นยังไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้รวดเร็วทันใจ ด้วยขั้นตอนที่ละเอียดถี่ยิบในการตรวจสอบของธนาคาร ทำให้ผู้ประกอบการที่เตรียมพร้อมและมีแผนงานมาอย่างดีที่สุดมาเสนอเท่านั้นจึงจะผ่านการพิจารณา...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us