|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (ยูโอบี) สถาบันการเงินสายเลือดสิงคโปร์ หลังเข้ามาดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ ยูโอบีรัตนสิน (ยูโอบีอาร์) เป็นเวลาเกือบ 7 ปี ก็เตรียมประกาศแบรนด์ และความเป็นตัวตนอย่างแท้จริงในสนามแข่งขันธุรกิจการเงินไทย โดยหลังทำแผนควบรวมกิจการระหว่างบีโอเอและ ยูโอบีอาร์ แล้วเสร็จ จะล้างภาพเดิมทิ้งทันที ส่วนแผนการดำเนินงานแม้จะยังไม่ชัดเจนในเวลานี้แต่ก็ประกาศพร้อมเป็นยูนิเวอร์แซลแบงกิ้ง
ย้อนไปเมื่อวันที่ 5 กันยายน กระทรวงการคลังได้อนุมัติแผนการควบรวมกิจการระหว่าง "บีโอเอ"และ"ยูโอบีอาร์" โดยเสนอให้ บีโอเอ เป็นธนาคารที่ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ต่อไป และทำการเพิกถอนยูโอบีอาร์ ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งหลังจากที่เพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์แล้ว ยูโอบีอาร์ จะโอนกิจการ ทรัพย์สิน และหนี้สินไปยัง บีโอเอ พร้อมทั้งเลิกดำเนินกิจการในทันที
แผนการควบรวมระหว่าง 2 ธนาคาร เดิมที่ตกลงกันว่าจะเป็นการแลกหุ้นระหว่างกันก็เปลี่ยนเป็น บีโอเอจะหาเงินสดไปซื้อหุ้นของยูโอบีอาร์ โดยเงินสดนั้นจะได้มาจากการเพิ่มทุนของบีโอเอ 3 หมื่นล้านบาท
ธนชัย ธนชัยอารีย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีโอเอ บอกถึงเหตุผลของการเพิ่มทุนในบีโอเอและการปรับเปลี่ยนวิธีควบรวมในครั้งนี้ว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ถือหุ้นอยู่ในบีโอเอ 3% เพราะเมื่อบีโอเอและยูโอบีอาร์มีการแลกหุ้นระหว่างกันจะทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นลดลงทันทีโดยเฉพาะรายย่อยจะได้รับผลกระทบตรงนี้ ดังนั้น บีโอเอ จึงต้องเพิ่มทุนให้สิทธิผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นก่อน และเม็ดเงินที่ได้จากตรงนี้จะนำไปซื้อยูโอบีอาร์
ว่ากันตามจริงแล้ว ทั้งบีโอเอและยูโอบีอาร์ก็มีความเกี่ยวพันธ์ทางสายเลือด ด้วยผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายคือคน ๆ เดียวกัน สำหรับก่อนที่จะมีการควบรวม ยูโอบีอาร์ มี ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (ยูโอบี)ถืออยู่ประมาณ 83% และ ถือในบีโอเอ 97%
แต่หลังจากที่ ยูโอบี ตกลงซื้อหุ้นของ ยูโอบีอาร์จำนวน 208 ล้านหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(เอฟไอดีเอฟ) ทำให้ยูโอบี ถือหุ้นในธนาคารดังกล่าว 99.99% และ ยูโอบีอาร์ก็มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบีโอเอ
หลังจากควบรวมเสร็จ ธนาคารเอเชียจะเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ แต่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์" เพื่อลบภาพเก่า ๆ ที่เป็นบีโอเอทิ้งไป และใส่ภาพลักษณ์ใหม่ที่แสดงถึงการเป็นสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่สายเลือดสิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม แม้แผนการควบรวมและแปลงโฉมธนาคารบีโอเอจะมีความชัดเจนแล้วก็ตาม แต่แผนการดำเนินธุรกิจนั้นยังไม่เห็นภาพชัดเจนนัก เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการควบรวม แต่ผู้บริหารก็ยังยืนยันสถานภาพธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ
"ธนาคารเราก็รุกทำธุรกิจโดยเพิ่มบทบาทเป็นยูนิเวอร์แซลแบงกิ้งที่ให้บริการครบวงจร "
ธนชัยบอกว่า ถ้าให้กล่าวถึงจุดแข็งหลังจากที่ ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ เริ่มสตาร์ทเครื่องหลังการควบรวม นอกเหนือเครือข่ายก็มีความเข้มแข็งของบริษัทแม่ในสิงคโปร์ ที่จะช่วยให้พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่แก่ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ประเทศไทย เพื่อใช้ในการต่อสู้บนสังเวียนธุรกิจการเงิน
ส่วนเรื่องเครือข่ายและสาขาในประเทศไทยนั้น ทั้งบีโอเอและยูโอบีอาร์ มีเครือข่ายอยู่บางส่วนแล้ว จุดนี้ก็จะสามารถพัฒนาได้ต่อเนื่องทันที พร้อมทั้งมีแผนที่จะขยายและเพิ่มทั้งสาขาและจำนวนบุคลลากรด้วย
ถึงแม้แผนการดำเนินธุรกิจหลังการควบรวมยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักสำหรับแบงก์เก่าแต่ใช้ชื่อใหม่อย่าง"ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์" แต่ภายใต้เครื่องหมายการค้า ที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของกลุ่ม "ยูโอบี" นักลงทุนจากสิงคโปร์ แทบทุกแบงก์ก็ไม่เคยมองข้ามจุดนี้ไป....
|
|
|
|
|