|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
SINGHA กำลังสร้างโมเดลต้นแบบให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน สร้างกำไรจากการซื้อขายเข้ากระเป๋าตัวเอง ไล่เก็บหุ้นตั้งแต่ก่อนปรับพาร์ได้โอกาสเหมาะเทขาย นักวิเคราะห์ตั้งข้อสังเกตุเป็นผู้บริหารกลุ่มเดียวกันช่วยกันซื้อ ราคาขยับ อีกรายดอดขาย สลับกันตลอดเวลา หวั่นเอาเปรียบนักลงทุนรายอื่น
จากรายงานการซื้อขายหุ้นของผู้บริหารบริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด(มหาชน) หรือ SINGHA ที่แจ้งมายังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ตั้งแต่ปลายปี 2547 ถึงเดือนกันยายน ที่ซื้อขายกันถี่ยิบแถมยังรายงานล่าช้านั้น ได้สร้างข้อสงสัยให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะรายการซื้อ ๆ ขาย ๆ ของผู้บริหารทั้ง 8 คน
แม้ ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบการซื้อขายของผู้บริหารข้างต้นแล้วไม่พบว่า มีการกระทำในลักษณะการใช้ข้อมูลภายในหรือการสร้างราคาหลักทรัพย์ เพียงแค่เป็นการรายงานล่าช้ามีโทษแค่ปรับเท่านั้น
อย่างไรก็ดีราคาหุ้นของ SINGHA ยังคงเดินหน้าต่อไปที่ระดับราคา 11 บาท แม้จะมีบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ไซรัส แนะนำให้ขายบริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด(มหาชน) หรือ SINGHA โดยให้เหตุผลว่า ณ ระดับราคาที่ 10.60 บาทคิดเป็น PE ที่ 13.7 เท่านับว่าสูงกว่าค่า PE เฉลี่ยของกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ 8 เท่า
ทั้งนี้ทางไซรัสได้ประมาณราคาที่เหมาะสมของ SINGHA ที่ 12 เท่า ดังนั้นกำไรในปี 2548 จะต้องสูงถึง 282.7 ล้านบาท หรือกำไร 0.88 บาทต่อหุ้น ขณะที่ในครึ่งแรกของปีมีกำไรเพียง 56.1 ล้านบาท ซึ่งดูจะเกินกำลังความสามารถของบริษัท โดยประมาณการดังกล่าวได้คำนึงถึงสัญญาขายที่ต้องส่งมอบในปีนี้มูลค่า 1.1-1.2 พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทเดินกำลังการผลิตเต็มที่แล้ว คาดว่าครึ่งหลังของปียอดขายของ SINGHA จะมียอดขาย 903.6 ล้านบาท กำไรสุทธิ 190.7 ล้านบาท
ทั้งนี้หาก SINGHA ต้องการขยายกำลังการผลิต จะต้องใช้เวลาสร้างโรงงานไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจากผู้บริหาร โดยราคาพื้นฐานของ SINGHA อยู่ที่ 9.30 บาท
สำหรับ SINGHA ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไม้พื้นสำเร็จรูป ซึ่งเป็นวัสดุใช้สำหรับปูพื้นเพื่อตกแต่งบ้านและอาคาร ภายใต้เครื่องหมายการค้า SINGHA PARKET และรับจ้างผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้า โดยส่งออกเป็นส่วนใหญ่กว่า 90% และมีนโยบายจะขยายตลาดในประเทศให้มากขึ้น โดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 19 ธันวาคม 2546
ไล่เก็บ-โอนหุ้น
นักวิเคราะห์ด้านกลยุทธ์กล่าวว่า เรื่องการซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนถือเป็นสิ่งที่ทำได้เพียงแต่ต้องรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ในอดีตก็มีหลายบริษัทที่ผู้บริหารซื้อ ๆ ขาย ๆ ในลักษณะนี้เช่นกัน
กรณีของสิงห์ พาราเทค ราคาหุ้นในระยะที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างโดดเด่น สวนทางกับหุ้นในกลุ่มเดียวกัน อีกทั้งเป็นหุ้นขนาดเล็ก ดังนั้นความร้อนแรงทั้งราคาและมูลค่าการซื้อขายจึงเป็นที่จับตาของนักลงทุนว่าเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นตัวนี้ โดยเฉพาะช่วงที่ก่อนปรับราคาพาร์จาก 5 บาท เหลือ 1 บาท เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ราคาหุ้นขยับเกินกว่า 40 บาท จากราคาช่วงปลายปีที่ประมาณ 18 บาท
จากรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของผู้บริหาร SINGHA พบว่าตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2547 ผู้บริหารของบริษัท 8 ท่านได้เข้าซื้อขายหุ้นตัวนี้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย สมจิตร โบว์เสรีวงศ์,ชาญ ธาระวาส,วิภาภรณ์ โบว์เสรีวงศ์,วิศัลย์ วิสุทธิธรรม,วีณา ณ อุบล,รจนา มหาวนา,กอบแก้ว ด่านชัยวิจิตร และศิริลักษณ์ โบว์ศรีวงศ์
โดยเฉพาะช่วงปลายปี 2547 มีรายการโอนหุ้นระหว่างกันของผู้บริหาร เช่น กอบแก้ว ด่านชัยวิจัย โอนหุ้น 6.02 แสนหุ้นให้กับรจนา มหาวนา ในวันเดียวกัน รจนาได้โอนต่อไปให้กับกอบแก้วอีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้นเป็นต้น หรือศิริลักษณ์ โบว์เสรีวงศ์ที่โอนหุ้นราว 3 ล้านหุ้นออกและเป็นผู้รับโอนในวันรุ่งขึ้นเช่นกัน เช่นเดียวกับวิภาภรณ์ โบว์เสรีวงศ์กับหุ้นจำนวน 7.62 แสนหุ้น
เรื่องนี้ได้รับคำชี้แจงจาก ก.ล.ต.ว่า ที่ผ่านมารายการดังกล่าวเป็นการร้องขอให้ผู้บริหารบริษัทแจ้งรายการให้ถูกต้อง เนื่องจากในระยะนั้นมีการดำเนินการซื้อขาหุ้นผ่านตัวแทน(นอมินี) ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติในเรื่องการใช้ข้อมูลภายในแต่อย่างใด ส่วนหลังจากนั้นเป็นเรื่องที่ฝ่ายตรวจสอบกำลังดำเนินการอยู่ว่าผิดปกติหรือไม่อย่างไร
กำไรมากกว่าที่เห็น
เจ้าหน้าที่การตลาดของโบรกเกอร์ กล่าวว่า เราได้เห็นการไล่เก็บหุ้นของผู้บริหารมาโดยตลอด จาก 18 บาทไปถึง 40 บาท มีส่วนต่างถึง 12 บาท ก่อนที่จะมีการแตกพาร์จาก 5 บาทเป็น 1 บาท และต้องไม่ลืมว่าผู้บริหารเหล่านี้ได้หุ้นมาตั้งแต่แรก ย่อมได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าคนอื่น หากประเมินจากราคา IPO ที่ 21 บาท เมื่อปรับพาร์แล้วแสดงว่าต้นทุนสูงสุดครั้งแรกที่ผู้บริหารได้มาไม่ควรเกิน 2.10 บาทต่อหุ้น แต่ราคาหุ้นกลับโด่งเคลื่อนไหวบริเวณ 8 บาทมาโดยตลอด และต้องไม่ลืมว่าเมื่อปรับราคาพาร์แล้วจำนวนผู้ที่ผู้บริหารไล่เก็บมาจะเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่า
ผู้บริหารบางรายเก็บหุ้นที่มีต้นทุนเพียง 18 บาทเศษและขายออกมาที่ระดับราคากว่า 33 บาท หากรวมต้นทุนครั้งแรกที่ได้มาคงกำไรค่อนข้างมาก ที่ผ่านมา SINGHA หลายครั้งหุ้นของบริษัทนี้มักจะขึ้นก่อนที่จะมีข่าวออกมาเสมอ ซึ่งแต่ละข่าวที่ออกมาก็เป็นจริงทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นการแตกพาร์หรือการได้ลูกค้าจากแคนาดาเพิ่ม
หากถามว่าผู้บริหารซื้อขายหุ้นนั้นผิดไหม คงไม่ผิด แต่พฤติกรรมอาจแตกต่างกันไป กรณีของ SINGHA นั้น ผู้บริหารซื้อขายค่อนข้างถี่ บางครั้งซื้อและขายกันในวันเดียวเป็นการซื้อขายในลักษณะหักกลบลบหนี้เหมือนนักลงทุนทั่วไปทำ
แต่ในแง่ของภาพพจน์ที่ออกมาดูจะไม่เหมาะนัก เนื่องจากผู้บริหารที่ซื้อขายหุ้นบ่อย ๆ อาจถูกมองได้ว่ารู้ข้อมูลดีกว่านักลงทุนทั่วไป ส่วนจะเป็นการใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้นหรือไม่คงต้องเป็นหน้าที่ของทางการที่จะเข้าไปตรวจสอบ
ในอีกด้านหนึ่งอาจถูกมองว่า แทนที่จะทุ่มเทกำลังสติปัญญาเพื่อให้บริษัทมีกำไรที่ดี แต่กลับมามุ่งแต่ซื้อขายเพื่อกำไรของตัวเอง ทำให้ภาพของบริษัทติดลบ เพราะเงินส่วนต่างที่ได้นั้นถือเป็นเรื่องของบุคคล ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ดูเหมือนเป็นการเอาเปรียบนักลงทุนทั่วไปที่ลงทุนก็เพื่อได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
สลับซื้อขายกลุ่มเดียวกัน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งกล่าวว่า เกือบทุกบริษัทพยายามที่จะหลีกเลี่ยงในการวิเคราะห์หุ้นตัวนี้ เพราะราคาค่อนข้างหวือหวา ผิดเพี้ยนไปจากการซื้อขายปกติ ยิ่งเมื่อเห็นรายงานการซื้อขายหุ้นของผู้บริหารที่ซื้อขายกันเกือบทุกวันด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การคาดการณ์เรื่องราคาเป็นไปได้ยาก
เราตั้งข้อสังเกตุว่า กลุ่มผู้บริหารที่ซื้อขายหุ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตระกูลโบว์เสรีวงศ์ หรือตระกูล ณ อุบล รวมไปถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เป็นผู้ก่อตั้งร่วมกันมาตั้งแต่แรก และลักษณะการซื้อขายก็มักจะเป็นการสลับกันไปมา เช่น มีกลุ่มที่ไล่ซื้อเมื่อราคาขยับขึ้นมาระดับหนึ่งก็จะมีอีกคนหนึ่งขายออกมา สลับกันไปมาตลอดเวลา
ส่วนหนึ่งทำให้ราคาหุ้นตัวนี้ไม่อ่อนตัวลงไปนับตั้งแต่ปรับพาร์ลงเหลือ 1 บาท ยิ่งช่วงหลังราคากลับพุ่งขึ้นจากระดับ 8.20 บาทขึ้นไปถึง 11 บาท ด้วยวอลุ่มที่หนาตา โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 22-23 กันยายน ทั้งนี้คงต้องรอผลการตรวจสอบของทางการว่าจะออกมาอย่างไร
|
|
 |
|
|