Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กันยายน 2548
เปิดเมนูสั่งจองตราสารหนี้ร้อนๆ รอดอกเบี้ยไต่ขึ้นอาจ"ตกขบวน"             
 


   
search resources

Investment
สันติ กีระนันทน์




ทรัพย์สินที่เคยได้ชื่อว่า "จับต้องยาก" อย่าง "ตราสารหนี้" โดยเฉพาะพันธบัตรภาครัฐ ไม่ว่าจะออกโดยแบงก์ชาติ กระทรวงการคลัง รัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรออมทรัพย์ ถึงวันนี้กำลังอยู่ในความสนใจของเจ้าของเงินออมทั่วไป แต่ภายใต้สถานการณ์ดอกเบี้ยเบนทิศขาขึ้น ถ้ายังรีรอหวังจะซื้อล็อตใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่เป็นอยู่ อาจตกขบวนสำคัญ เพราะ "ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้" แนะว่า ภายใน 1 ปีดอกเบี้ยจะปรับขึ้นไม่มาก ขณะเดียวกันสินค้าที่ออกมาแต่ละล็อตก็จะค่อยๆน้อยลง จนคนตั้งหน้าตั้งตารออาจพลาดไปแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว...

สันติ กีระนันทน์ ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ ลำดับความสำคัญตราสารหนี้จากอดีตถึงปัจจุบัน พบว่า ตราสารหนี้ที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับทิศขาขึ้น ต่างจากในอดีตที่ถูกมองข้ามความสำคัญไป เพียงเพราะเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ มีแต่สิทธิเรียกร้องเท่านั้น หากเทียบกับทรัพย์สินอื่น เช่น "ทองคำ" หรือ "เพชร" รวมถึง "หุ้น"

ขณะเดียวกัน ตราสารหนี้ก็ถูกมองว่าอยู่ห่างไกลกับเจ้าของเงินออม เพราะช่องทางหรือการได้มาของทรัพย์สินประเภทนี้ทำได้ยาก เข้าถึงยาก และเปิดทางสะดวกกับนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม เช่น บรรดากองทุนต่างๆ นักลงทุนสถาบันอาทิ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และบริษัทจัดการกองทุน(บลจ.)

นั่นก็เพราะการออกพันธบัตรแต่ละครั้งจะตั้งเป้าหมายไปที่นักลงทุนกลุ่มนี้เท่านั้น ดังนั้นบุคคลทั่วไปที่ต้องการลงทุนพันธบัตรจึงทำได้ไม่ง่าย

นอกจากนั้นเมื่อ 2 ปีก่อน ตลาดตราสารหนี้ก็เผชิญกับมรสุมลูกใหญ่ "ช็อค" จากดอกเบี้ยสูง มูลค่าพันธบัตรตกวูบ กองทุนที่ลงทุนตราสารหนี้ต้องขายของราคาถูก ทำให้พันธบัตรราคาตก

ขณะที่นักลงทุนก็ตกใจรีบเทขายหน่วยลงทุน ผู้จัดการกองทุนก็ต้องรีบเอาของออกขาย ซึ่งพอขายมากกว่าซื้อราคาสินค้าก็ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลานั้นกองทุนตราสารหนี้จึงประสบปัญหาเหมือนกันหมด

สันติ ก็กังวลในเรื่องนี้ แต่ได้แนะนำนักลงทุนทั่วไปที่สนใจจะเข้าลงทุนในตราสารหนี้ว่า ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยขยับขึ้น ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด หากไม่ขายหน่วยลงทุนออกมาก็ไม่ขาดทุน เพราะตามเงื่อนไขผู้ถือครองตราสารหนี้ต้องได้รับดอกเบี้ยตรงตามกำหนดเช่นเดิมหรือตราบใดที่ไม่ขาย เจ้าของเงินก็ไม่รับรู้ผลขาดทุน เพียงแต่ตัวเลขที่วูบไหวไปมานั้นก็เพราะกองทุนต่างๆต้องตีราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดหรือ มาร์ค ทู มาร์เก็ต

" สมัยก่อน จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลทั้งทีต้องใช้เงินหลาย 10 ล้านบาท ก็แสดงว่าการลงทุนไม่กระจายตัว กลายเป็นอุปสรรค" สันติ บอกว่า ช่วงหลังจากนี้ตลาดตราสารหนี้เริ่มคึกคัก และนักลงทุนทั่วไปก็เข้าถึงได้ง่าย ขณะเดียวกันความคล่องตัวก็น่าจะสูงขึ้น เพราะเริ่มมีตลาดรองให้เปลี่ยนมือได้ง่าย

นอกจากนั้น ในระยะหลังมานี้ ภาครัฐก็มีการทยอยออกพันธบัตรค่อนข้างถี่ขึ้น โดยเจาะจงกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่กำลังซื้อไม่มาก ขณะที่ผลตอบแทนก็จูงใจกว่าฝากเงินในธนาคาร

โดยเฉพาะพันธบัตรออมทรัพย์ ที่เปิดขายไปแล้วงวดแรกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามูลค่า 5 พันล้านบาท ปรากฏว่าขายเกลี้ยงอย่างรวดเร็ว โดยล็อตแรกกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีเงินเพียง 10,000 บาทก็ลงทุนได้

สันติอธิบายว่า ล็อตที่แล้วเป็นพันธบัตรอายุ 7 ปีผลตอบแทน 5.4% ที่พิจารณาอัตราอ้างอิงดอกเบี้ย 4.7% บวกชดเชยภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 1.5% ที่ต้องจ่ายให้รัฐในทันที

" รายย่อยเข้าถึงพันธบัตรง่ายขึ้น เงินที่ลงทุนก็ไม่ต้องเยอะเหมือนแต่ก่อน ขณะเดียวกันก็ได้สิทธิประโยชน์จากภาษีด้วย"

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็มีนโยบายทยอยออกพันธบัตรออมทรัพย์มาเป็นงวดๆ งวดละเดือน แบ่งเป็นเดือนสิงหาคม 5 พันล้าน กันยายน 5 พันล้าน ตุลาคม 2 พันล้าน พฤศจิกายน 2 พันล้าน และธันวาคม 2 พันล้านบาท ดังนั้นจึงเชื่อว่าจะมีนักลงทุนทั่วไปเก็งกันว่าอัตราผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยจะสูงขึ้นในล็อตหลังๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด

สันติบอกว่า ตลอดทั้งปีมีการคาดกันว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นแต่คงไม่ได้เห็นขยับขึ้น 1-2% เพราะจากการเฝ้าจับตาดูพบว่า เดือนสิงหาคมดอกเบี้ยขึ้นแรง แต่ปัจจุบันไม่ได้ขยับมากนัก หรือบ่งชี้ว่าดอกเบี้ยในตลาดเงินไม่ได้ปรับขึ้นทุกวัน แต่จะวิ่งแถวนั้นอยู่พักใหญ่

" ขอเตือนว่า ถ้าจะรอคงยาวเลย เพราะคิดว่าดอกเบี้ยพันธบัตรชุดใหม่ออกมาช่วงปลายปีดอกเบี้ยจะสูงกว่าที่ให้ในปัจจุบัน ซึ่งถ้ายังรีรอไม่รีบจอง บอกได้เลยว่าอาจไม่ได้ของ เพราะซัพพลายอาจน้อยลง"

สันติแนะนำเจ้าของเงินออม ที่เริ่มต้นคำนวณผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยพันธบัตรที่ต่างกันไม่กี่เบสิสพอยต์ ไม่ควรเกี่ยงเรื่องแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้นอีกในอนาคต

แต่ก็ยังยืนยันว่า ดอกเบี้ยยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น โดยเห็นสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ที่เชื่อว่ายังพูดถึงนโยบายดอกเบี้ยที่จะออกมากำราบเงินเฟ้อ

ขณะที่ตลาดเงินในประเทศคาดกันว่าภายใน 3 ปีดอกเบี้ยจะปรับขึ้นตามที่คาดกันไว้ โดยไตรมาส 1-2 การปรับขึ้นอาจจะแรง จนน่าตกใจ แต่ยังเชื่อว่าตลอดทั้งปีคงยังไม่เห็นดอกเบี้ยปรับขึ้น 1-2% ตรงกันข้ามคนส่วนใหญ่กลับกลัวว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้นยกแผง ซึ่งเชื่อว่าดอกเบี้ยจะค่อยๆปรับขึ้นมากกว่า

สันติคะเนว่า การปรับดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน ยังห่างจากดอกเบี้ยเฟด ประมาณ 0.75 เบสิสพอยต์ ถือว่าห่างมากในรอบ 2 ปี จึงคาดว่าตลาดเงินบ้านเราจะขยับดอกเบี้ยให้เร็วเพื่อรักษาความห่างเอาไว้ ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องดำเนินนโยบายรักษาตัวเลขจีดีพีให้เหมาะสมควบคู่กันไปด้วย

สิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่าภาครัฐยังคงรักษาตัวเลขจีดีพีไม่ให้ถอยหลัง โดยไม่เร่งกดดันปรับดอกเบี้ยให้ขึ้นแรงๆ ก็เพราะหวั่นผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นเร็ว และแรงจะทำให้คนหันไปฝากเงิน ลดการบริโภค ต้นทุนทางการเงินจะสูง ภาคเอกชนจะลดการลงทุนหรือไม่ขยายการลงทุน ถึงวันนั้นตัวเลขจีดีพีอาจสะดุด

ในฝั่งของสหรัฐเองก็คงไม่คิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะต้องขึ้นเร็วเหมือนครั้งก่อนๆ เว้นแต่จะมีอะไรมาทำให้ช็อค ช่วงนี้จึงอธิบายได้ว่าดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นจริง แต่คงไม่ปรับขึ้นจนน่าตกใจ

สันติ แนะนำกองทุนใหม่ ซึ่งอยู่ในช่วงภาวะเงินเฟ้อที่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้มีการศึกษาแนวคิดจัดตั้งกองทุน "อินเฟลชั่น อินเด็กซ์ บอนด์" ที่น่าจะเปิดตัวในปีหน้า กองทุนดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อได้ โดยผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทน บวกภาษี พรีเมี่ยมเผื่อเงินเฟ้อ รวมถึงมูลค่าไถ่ถอนเมื่อครบกำหนด ก็อาจขยายตามภาวะเงินเฟ้อ

นอกจากนั้น กองทุนเอเชีย บอนด์ ฟันด์ เฟส 2 (ABF2)ที่จะคลอดตามมาก็ถือเป็นกองทุนที่น่าสนใจ คาดเดือนตุลาคมนี้จะเปิดให้จองโดยมีมูลค่า 5 พันล้านบาท กองทุนดังกล่าวอาจมีระดับความเสี่ยงที่ขึ้นกับความน่าเชื่อถือของแต่ละประเทศ เพราะกองทุนนี้เกิดขึ้นมาจากธนาคารกลางเอเชีย 11 ประเทศนำทุนสำรองมาลงขันซื้อพันธบัตรในประเทศสมาชิก จากนั้นนักลงทุนก็สามารถลงทุนโดยนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพันธบัตรรัฐบาลแต่ละประเทศได้

อย่างไรก็ตามสำหรับนักลงทุนทั่วไป สันติบอกว่า ไม่ควรนำพันธบัตรอายุ 5 ปีมาเทียบกับเงินฝากออมทรัพย์ เพราะสภาพคล่องต่างกัน ปัจจุบันเงินฝากประจำอายุยาวสุดอยู่ที่ 3% หักภาษี 15% ก็ยังน่าสนใจน้อยกว่า พันธบัตรรัฐบาล...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us