Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กันยายน 2548
เปิดแผนปั้นมาร์เกตแคป2เท่า ตลท.ดึงบริษัทใหญ่เอเชียเข้า             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โสภาวดี เลิศมนัสชัย
Funds




บอร์ดตลท.สานนโยบายรมว.คลัง ดันมาร์เกตแคป 5 ปีสูง 2 เท่าของปัจจุบัน นัดถก 5 ต.ค. ดึงบริษัทใหญ่ในเอเชียเข้าเทรด พร้อมตั้งเป้าปีหน้าหุ้นเข้า SET 60-70 บริษัท ส่วน mai 30 บริษัท ส่วน "เบียร์ช้าง" เชื่อที่ปรึกษาฯตรวจสอบกฎเกณฑ์ ตลท. ก่อนยื่นไฟลิ่ง ก.ล.ต. "ก้องเกียรติ" เผยแบ่งงาน 12 หัวข้อจัดสรรแต่ละองค์กรรับผิดชอบ นัดหารือรอบใหม่ 11 ต.ค.นี้

นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ 5 ต.ค. นี้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะมีการหารือเกี่ยวกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 ซึ่งจะเป็นการสานต่อนโยบายของนายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังที่กำหนดกรอบในการพัฒนาตลาดทุนไว้ในช่วงเวลา 5 ปี (2549-2553) รวม ทั้งเป้าหมายมูลค่าตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ของตลาดหลักทรัพย์ใน 5 ปีสูงกว่าปัจจุบัน 2 เท่า

การประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่างแผน พัฒนาตลาดทุนได้แบ่งงานของแต่ละหน่วยงานในการ รับผิดชอบ ทั้งจำนวนบริษัทจดทะเบียนและการเข้า และจำนวนนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงพัฒนาด้านส่งเสริมบรรษัทภิบาล ทรัพยากรบุคลากร และตลาดตราสารหนี้

สำหรับแนวทางในการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนเบื้องต้นอาจจะมีการดึงบริษัทขนาดใหญ่ (Gobol brand) ในภูมิภาคเข้ามาจดทะเบียนในตลาด เพื่อให้มีมาตราฐานที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ และเข้าสู่ระดับสากล

อย่างไรก็ตาม คงจะต้องมีการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการในการจูงใจเพื่อกระตุ้นความน่าสนใจที่จะให้บริษัทในกลุ่มดังกล่าวเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย

นอกจากนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะมีการหารือเกี่ยวกับแผนงานตลาดหลักทรัพย์ฯในปี 2549 ด้วย โดยในปีหน้าตลท.ตั้งเป้าที่จะมีบริษัทที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯจำนวน 100 บริษัท โดยแบ่งเป็นการเข้าจดทะเบียนในตลาด-หลักทรัพย์ฯจำนวน 60 บริษัทและตลาดเอ็มเอไอ 40 บริษัท ส่วนปีนี้ตั้งเป้าไว้ 65 บริษัทแบ่งเป็นตลาด-หลักทรัพย์ฯจำนวน 50 บริษัท และตลาดเอ็มเอไอจำนวน 15 บริษัท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วง 3 เดือนที่เหลือ ของปีนี้จะมีบริษัทที่พร้อมยื่นแบบแสดงรายการ ข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ประมาณ 30 บริษัท ขณะที่ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.ให้สามารถกระจายหุ้นรวมถึงได้รับการอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์ฯให้ระดมทุนได้ประมาณ 10 บริษัท แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาที่จะเข้าซื้อขายเนื่องจากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะร่างแผนแม่บท พัฒนาตลาดทุน ฉบับที่ 2 กล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่ผ่านมาได้ประชุมหารือกับสมาชิก รวมถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้กำหนดแบ่งงานให้กลุ่มสมาชิก 12 หัวข้อ พร้อมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดความชัดเจนก่อนนำมาเสนอให้ที่ประชุมอีกครั้ง 11 ต.ค.

นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า ในส่วนงานของสมาคมฯได้รับมอบหมาย 2 เรื่อง คือ 1. การขยายฐานนักลงทุน ซึ่งจะเป็นแกนนำและหารือกับทั้ง 5 หน่วยงานที่เป็นสมาชิกสภาธุรกิจตลาดทุนไทยและนำเสนอแผน2. เรื่องการพิทักษ์สิทธินักลงทุน โดยในเรื่องนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯและสำนักงาน ก.ล.ต.จะเป็นแกนนำจัดทำรายละเอียด

นางสาวโสภาวดียังกล่าวถึงกรณี บริษัทไทยเบฟเวอรเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ เบียร์ช้าง เชื่อว่าบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินน่าจะตรวจสอบกฎเกณฑ์ ของตลท.แล้วก่อนที่จะยื่นไฟลิ่งไปยังสำนักงาน ก.ล.ต. อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาไม่เคยมีบริษัทใดที่พิจารณาผ่านสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วไม่ผ่านเกณฑ์ของ ตลท. เพราะการตรวจสอบกฎเกณฑ์ของตลท.ทำได้ก่อนหน้าที่จะยื่นไฟลิ่ง

ส่วนประเด็นคุณสมบัติของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนจะต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม เรื่องดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือการตีความที่แตกต่าง กันในเรื่องเดียวกัน ตลท.จึงตัดกฎเกณฑ์นี้ให้ทาง ก.ล.ต.เป็นผู้พิจารณาแห่งเดียว

"คงเป็นเรื่องยากหาก 2 หน่วยงานมีกฎเกณฑ์ เดียวกัน เพราะอาจจะตีความในเรื่องเดียวกันต่างกัน" นางสาวโสภาวดีกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us