Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กันยายน 2548
จี้รัฐรื้อนโยบายรับมือค้าเสรี ไม่ปรับตัวอีก2ปีก้าวสู่วิกฤต             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงอุตสาหกรรม

   
search resources

กระทรวงอุตสาหกรรม
Economics




ผ่าทางตันอุตสาหกรรมไทยนโยบายรัฐต้องปรับเปลี่ยน รับมือให้ทันกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะ FTA หวั่น ขาดดุลฯเพิ่มมากขึ้นเหตุไทยไม่ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ นโยบายพัฒนาเครื่องจักรและโลหการที่เป็นต้นทุนอุตฯทั้งระบบในอดีตพลาดทำให้ต้องนับหนึ่งใหม่ เอกชนจี้ใช้จังหวะนี้เร่งปรับตัวหวั่น 2 ปีจะลำบาก ชี้แนวโน้ม ดบ.น้ำมัน ค่าแรง เงินเฟ้อขยับเพิ่มทุกด้าน เตือนส่งเสริมอุตฯโตเร็วต้องระวังเรื่องย้ายฐานผลิต

วานนี้ (29 ก.ย.) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดสัมมนาเรื่อง "ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในเวทีเศรษฐกิจโลก" ซึ่งมีนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวเปิดการสัมมนา

นายเกียรติพงษ์ น้อยใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า แม้ว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมไทยจะต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้านโดยเฉพาะต้นทุนที่เพิ่มจากระดับราคาน้ำมันสูงขึ้นแต่การส่งออกก็ยังคงขยายตัวตามเป้าหมายในปีนี้เฉลี่ย 15-16% อย่างไรก็ตาม การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA กำลังทำให้ไทยเริ่มมีภาวะการ ขาดดุลทางการค้ามากขึ้น เนื่อง จากอุตสาหกรรมไทยแม้จะส่งออกเพิ่ม แต่กลับต้องนำเข้าวัตถุดิบ และเครื่องจักรเข้ามามาก

"นโยบายปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมถือว่าเป็นสิ่งดี แต่จะต้องทำให้ดีขึ้นกว่านี้ ทำอย่างไรให้ลดใช้พลังงานเพื่อลดการนำเข้า ลดการนำเข้าสินค้าทุน เชื่อมโยงอุตสาหกรรม เพื่อลดการขาดดุลทางการค้า ช่วงนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่เป็นรัฐบาลเดียว นโยบายเดียวจะมีส่วนพัฒนาอุตสาหกรรมไทยได้อย่างมาก แต่ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนรัฐมนตรีอุตสาหกรรมถึง 6 ท่าน นโยบายบางอย่างก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หากอุตสาหกรรมไทยไม่มีการปรับตัวอีก 2 ปีทุกอย่างก็จะลำบาก"

ทั้งนี้ การเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ ควรมองภาพรวมและต้องทำรายละเอียดว่าอุตสาหกรรมใดได้เปรียบ-เสียเปรียบ และหามาตรการรองรับว่าจะให้อุตสาหกรรมที่เสียเปรียบและในที่สุดแข่งขันไม่ได้ไปอยู่ในจุดใดไม่ใช่ทิ้งไปเลย ขณะเดียวกันก็จะต้องแบ่งกลุ่มสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง และเล็กที่ต่างกันไม่ใช่ใช้นโยบายเดียวกันไปหมด ซึ่งนโยบายรัฐมีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กับการปรับตัวของเอกชน ตัวอย่างความผิดพลาดของนโยบาย ที่ปัจจุบันมีผลให้อุตสาหกรรมไทยพัฒนาช้าคือ การไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องจักรและโลหการ และทำให้อุตสาหกรรมนี้ตายไปก่อนหน้าด้วยการไปทำให้ภาษีนำเข้าจากต่างประเทศถูกแต่วัตถุดิบในประเทศแพง ในที่สุดอุตสาหกรรมนี้ของคนไทยต้องตายไปและรัฐเพิ่งจะเริ่มมาฟื้นฟู

จี้ก้าวให้ทันกระแสการค้าโลก

นายสมภพ อมาตยกุล รองประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันคาดว่าจะทรง ตัว ระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่คาดว่า จะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มตาม และแน่นอนว่าจะสะท้อนมายังค่าแรง ดังนั้นต้นทุนของอุตสาหกรรมมีทิศทางปรับขึ้นตลอดเวลา ขณะที่อุตสาหกรรมไทยที่มีอัตราเติบโตส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานมาจากต่างประเทศและมาอาศัยค่าแรงที่ต่ำของไทย เช่น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และ ชิ้นส่วนฯ เหล่านี้ต้องระวังเพราะท้ายสุดก็จะมีการย้ายฐานออกไปอีกไม่มีความแน่นอน ขณะเดียวกัน ศูนย์กลางการค้าก็เริ่มเปลี่ยนไปจากอดีตตลาดใหญ่อยู่ที่สหรัฐฯ และยุโรป แต่ปัจจุบันเริ่มย้ายมาอยู่ยังจีน และอิเดีย ดังนั้นเอกชนและรัฐบาลจะมัวไปส่งเสริมอุตสาหกรรมที่โต หรือตลาดที่โตในอดีตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ต้นทุนของประเทศที่ผ่านมามีเพียง ค่าแรง ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน แต่ขณะนี้มีหลายปัจจัยเข้ามา มีส่วนอย่างมาก ทั้งการจัดการ คุณภาพแรงงาน สิ่งแวดล้อม ฯลฯ และปัจจุบันมองกันถึง Value Innovation หรือการเพิ่มมูลค่าจาก การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ๆ ซึ่งปัจจัยนี้เป็นสิ่งท้าทายสำหรับไทยที่ต้องพร้อมรับมือกับกระแสการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก หาก 5 ปีไทยไม่เร่ง ปรับตัวอุตสาหกรรมไทยจะแข่งขันได้ยาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us