Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2545
รัฐบาลไทยกับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา             
 





การเจรจาการค้าพหุภาคี (Multilateral Trade Negotiation) รอบใหม่เริ่มต้นแล้ว

ภายหลังจากที่การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (Uruguay Round) ยุติลงในเดือนธันวาคม 2537 จนมีการก่อตั้งองค์การการค้าโลก นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2538 เป็นต้นมา ความไม่พอใจระเบียบการค้าระหว่างประเทศฉบับใหม่ยังคงดำรงอยู่ ทั้งในหมู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและประเทศในโลกที่สาม

ประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ต้องการผลักดันให้ภาคีองค์การการค้าโลกเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในทุกๆ ด้านในระดับที่มากกว่าในปัจจุบัน

ประเทศโลกที่สามจำนวนไม่น้อย มีปัญหาในการปฏิบัติตามพันธะผูกพันในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย และมีข้อกังขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่า ประเทศด้อยพัฒนาได้ประโยชน์อะไรบ้างจากผลการเจรจาดังกล่าว

ในการประชุม WTO Ministerial Conference ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน 2544 ณ นครโดฮา (Doha) ประเทศกาตาร์ (Qatar) ที่ประชุมมีมติให้เปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่เริ่มต้นวันที่ 28 มกราคม 2545 และจบในวันที่ 1 มกราคม 2548 ด้วยเหตุที่มติดังกล่าวนี้ก่อเกิดในนครโดฮา การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบ นี้ จึงมีชื่อเรียกว่า Doha Round

แต่การกำหนดกรอบเวลาการเจรจาเพียง 3 ปี นับเป็นการมองการณ์ข้างดีมากเกินไป ในประวัติการเจรจาการค้าพหุภาคี การเจรจารอบแรกๆ มักเป็นไปตามกรอบเวลา (ดูภาคผนวก) แต่ในการเจรจารอบอุรุกวัยต้องใช้เวลายาวนานและเกินกว่ากรอบเวลามาก โดยใช้เวลาถึง 8 ปี การเจรจารอบโดฮาคงตกอยู่ในสภาพ การณ์เดียวกัน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ กล่าวคือ

ประการแรก องค์การการค้าโลกในปัจจุบันมีภาคีสมาชิกถึง 140 ประเทศ นับเป็นองค์กรขนาดมหึมาและอุ้ยอ้าย ขนาดขององค์กรยิ่งใหญ่โตมากเพียงใด ความยากลำบากในการบรรลุข้อตกลงยิ่งมีมากเพียงนั้น โดยที่การบรรลุข้อตกลงในประเด็นสำคัญต้องเสียค่าโสหุ้ย (Transaction Cost) สูง ในอดีตกาล เมื่อ GATT/WTO มีสมาชิกจำนวนน้อย การบรรลุข้อตกลงเป็นไปได้ง่ายกว่าโดยเปรียบเทียบ

ประการที่สอง ประเด็นการเจรจาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศมีความละเอียดอ่อน และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ความละเอียดอ่อน และความซับซ้อนยิ่งทำให้การบรรลุข้อตกลงเป็นไปได้ยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า องค์การการค้าโลกมีภาคีสมาชิกตั้งแต่จนสุดถึงรวยสุด

ประการที่สาม ในปัจจุบันมีขบวนการประชาชนและองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ที่ต่อต้านกระแสโลกานุวัตร และต่อต้านองค์กรโลกบาล รวมทั้งองค์การการค้าโลก การขับเคลื่อนของขบวนการประชาชนระหว่างประเทศ อาจทำให้การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาล้มเหลว

ทั้งๆ ที่การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาเริ่มต้นแล้ว แต่รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับมิได้เตรียมการในการเจรจา และมิได้มีนโยบายที่ชัดเจนว่า จะเจรจาอะไร และเจรจาอย่างไร

การกำหนดองค์กรที่มีหน้าที่ในการเจรจาการค้าพหุภาคีควรจะเป็นไปอย่างชัดเจน แม้จะมีการแต่งตั้งนายประจวบ ไชยสาส์น เป็นผู้แทนการค้าไทย (Thai Trade Repressentative = TTR) ดุจเดียวกับ USTR แห่งสหรัฐอเมริกา แต่นายประจวบไม่มีองค์กรและกำลังคนที่สั่งการได้ ต่างกับ USTR ที่มีการจัดองค์กรอย่างดียิ่ง ด้วยเหตุดังนี้ นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย นายประจวบจึงได้แต่นั่งตบยุง เนื่องจากไม่มีงานทำ

ความเป็นปรปักษ์และการแย่งชิงอำนาจหน้าที่ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงต่างประเทศ เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป การจัดองค์กรในการเจรจาการค้าพหุภาคี รวมทั้งการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงต่างประเทศให้ชัดเจน จึงเป็นวาระเร่งด่วน ในประการสำคัญ จะต้องพิจารณาถึงกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถจากกระทรวงทั้งสอง และส่วนราชการอื่นๆ มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ รัฐบาลมิควรปล่อยให้กระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงต่างประเทศกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดมีอำนาจในการเจรจาโดยเสรี เพราะการเจรจาการค้าพหุภาคีเป็นวาระแห่งชาติ สมควรที่รัฐบาลจะกุมวาระการเจรจา โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวม ในการนี้ควรจะศึกษาการจัดองค์กรในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย เพื่อสรุปบทเรียนสำหรับการจัดองค์กรสำหรับการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่นี้

การเจรจาการค้าพหุภาคีเป็นกระบวนการต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มภาคีองค์การการค้าโลก เพื่อรวมพลังในการเจรจานับเป็นยุทธวิธีสำคัญ ในการเจรจารอบอุรุกวัย ไทยร่วมกับกลุ่ม CAIRNS และกลุ่ม ASEAN ในการรวมพลังในการเจรจา ในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ การรวมพลังในการ เจรจายังคงเป็นยุทธวิธีที่ใช้ได้ แต่ต้องมีการศึกษาอย่างถ่องแท้ว่า จะรวมพลังกับประเทศหรือกลุ่มประเทศใดในการเจรจาประเด็นใด เพราะการเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นกระบวนการต่อรองผลประโยชน์ ดังนั้น จึงอาจต้องยอมเสียประโยชน์ในบางเรื่อง เพื่อแลกกับผลประโยชน์ในเรื่องอื่น

การเจรจารอบโดฮา ก็ดุจดังการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบก่อนๆ ที่ประเด็นหลักในการเจรจาอยู่ที่การเปิดเสรีทางการค้า ในการเข้าร่วมเจรจา รัฐบาลควรจะมีการศึกษาด้วยวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ว่า การเปิดเสรีในด้านต่างๆ ให้ผลดีและผลเสียอะไรบ้างแก่สังคมเศรษฐกิจไทย และกำหนดจุดยืนในการเจรจาจากผลการศึกษาเหล่านี้ว่า จะยอมเปิดเสรีในด้านใด และจะยอมเปิดเสรีระดับใด พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขในการเปิดเสรี ขณะเดียวกันก็ต้องกำหนดจุดยืนให้ชัดเจนด้วยว่า จะไม่ยอมเปิดเสรีในด้านใด

การยอมเปิดเสรีทางการค้าด้านต่างๆ เป็นยุทธวิธีการเจรจาที่มีลักษณะตั้งรับ รัฐบาลควรรวมพลังกับกลุ่มประเทศต่างๆ ในการเล่นเกมรุกในการเจรจา หากตั้งรับอย่างเดียว อาจมีแต่ทรงกับทรุด เพราะสังคมเศรษฐกิจไทยต้องปรับตัวตามระเบียบการค้าใหม่ โดยที่กระบวนการปรับตัวที่มีต้นทุนที่ต้องเสีย

การเข้าสู่กระบวนการเจรจาการค้าพหุภาคี ต้องมีการจัดองค์กรที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องมีการกำหนดยุทธวิธีและจุดยืนในการเจรจา ทั้งหมดนี้ต้องมีการศึกษาและวิจัยในระดับพื้นฐาน

รัฐบาลพรรคไทยรักไทยถึงเวลา 'คิดใหม่ ทำใหม่'

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us