Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์29 กันยายน 2548
อุตสาหกรรมไอทีรุ่งหรือร่วง วัดกันที่ "IP Management"             
 


   
www resources

Microsoft Homepage

   
search resources

Microsoft Corporation
Software
Law




"IP Management" กำแพงด่านสำคัญ เบิกร่องอุตสาหกรรมไอทีไทยเติบโตอีกมหาศาล ระบุปัญหาจารกรรมซอฟต์แวร์ จุดบั่นทอนการยกระดับประเทศสู่สากล ไมโครซอฟท์เดินหน้าสเต็ปต่อเนื่อง มุ่งสร้างระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยผ่านการเรียนรู้ ส่งผู้บริหารระดับสูง "แบรด สมิธ" เสนอแนวทางบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไล่ตั้งแต่ระดับรัฐบาล สถาบันการศึกษา และผู้นำในอุตสาหกรรมไทย สานโครงการความสัมพันธ์ไทย-ไมโครซอฟท์ ในฐานะหุ้นส่วน ต่อเนื่องจากการเยือนไทยของ "บิล เกตส์"

"ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการสร้างและปกป้องนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยยกระดับประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมระดับโลกในอนาคต" เป็นคำกล่าวของ แบรด สมิธ รองประธานอาวุโส ที่ปรึกษาทั่วไปและเลขาธิการองค์กร ฝ่ายกฎหมายและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายและกิจกรรมความสัมพันธ์กับภาครัฐ อุตสาหกรรมและชุมชน โดยถือเป็นผู้มีบทบาทสำหรับในด้านทรัพย์สินทางปัญหา และได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา

การมาเยือนเมืองไทยของ แบรด สมิธ ถือเป็นความต่อเนื่องของไมโครซอฟท์ที่ต้องการสานต่อโครงการต่างๆ หลังจากที่ "บิล เกตส์" ได้มาเยือนประเทศไทยเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา และได้มีการนำเสนอโครงการต่างๆ ให้กับประเทศไทย

ครั้งนี้จึงเสมือนเป็นสเต็ปที่สองที่ แบรด สมิธ จะต้องเข้ามาประสานกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายราย รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐมนตรีและสถาบันการศึกษา และเข้าร่วมการอภิปรายโต๊ะกลมกับผู้นำในวงการอุตสาหกรรม เพื่อชี้ให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นถึงคุณค่าของนวัตกรรมและองค์ประกอบหลักในการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่แข็งแกร่ง

เขามองว่าการที่ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แข็งแกร่ง จะเป็นฐานที่สามารสร้างความเติบโตไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เติบโตตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างอุตสาหกรรมไอทีของประเทศไทย ยังมีโอกาสการเติบโตขึ้นอีกมาก หากมีการดูแลเรื่องของการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Management)

ตัวอย่างการสร้างระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระดับโลก คือการที่ไมโครซอฟท์ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรกว่า 750,000 รายทั่วโลก ที่ประกอบด้วย ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการและบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างใกล้ชิด ปัจจุบันไมโครซอฟท์ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้านการพัฒนาโปแกรมที่สามารถทำให้ไมโครซอฟท์ ลูกค้า พันธมิตรและคู่แข่งสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไมโครซอฟท์

"เราได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในส่วนของการใช้ลิขสิทธิ์ร่วมกันเพื่อเพิ่มรายได้และลดความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งในไทยเอง เรามุ่งสร้างระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่แข็งแกร่งผ่านการเรียนรู้ และเป็นพันธมิตรที่เสมือนการเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน"

แบรด สมิธ บอกว่า จากผลการสำรวจของบริษัทจูปิเตอร์ ระบุว่าซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์สามารถทำงานร่วมกับระบบไอทีอื่นๆ ภายในองค์กรหรือหน่วยงานได้เป็นอย่างดี และเชื่อว่านวัตกรรมของไมโครซอฟท์จะสามารถเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์หลากหลายบนเทคโนโลยีอื่นๆ รวมทั้งวิธีการใหม่ในการจัดการและเข้าถึงข้อมูลที่มีกฎหมายคุ้มครอง

ทั้งนี้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อย่างเช่นมาตรฐานเปิด XML ทำให้ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้แยกกันสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้โดยไม่จำกัดภาษาโปรแกรม จุดนี้เองถือเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์มีความก้าวหน้าเมื่อการทำงานร่วมกันของไอซีทีรุ่งเรืองขึ้น

และที่ผ่านมากับการเปิดตัวโครงการ Thailand.Net ถือเป็นกลยุทธ์ที่จะสร้างศูนย์กลางการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลกบนเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส มีการคาดการณ์ว่าเว็บเซอร์วิสจะมีมูลค่าสูงถึง 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2553

แบรด สมิธ กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ต้องการช่วยรัฐบาลสร้างวัฒนธรรมทางด้านนวัตกรรมให้เกิดขึ้น ส่งผลให้ไทยสามารถสร้างเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงและสามารถส่งออกได้ ด้วยการอบรมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ 69,000 ราย และนักเรียนอีกหลายแสนคน และในอนาคตจากการผลักดันเรื่องนี้จะส่งผลต่อรายได้ที่เข้าสู่ประเทศจำนวนมหาศาลและเกิดการสร้างงานอย่างมากมายทั่วประเทศ

นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะที่สามารถช่วยพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนภายใต้โครงการ Partners in Learning ผ่านครูอาจารย์ที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะด้านไอซีทีกว่า 10,000 คน ถ่ายทอดสู่นักเกรียนจำนวน 422,000 คน ปรากฎการณ์เช่นนี้จะทำให้เกิดการสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยในอนาคต

อย่างไรก็ตามสิ่งต่างๆ ที่ไมโครซอฟท์พยายามผลักดัน จะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จหากขาดองค์ประกอบสำคัญเรื่องของการบริการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพ เพราะหากผลิตภัณฑ์ในแต่ละอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นไอที ภาพยนตร์ ดนตรี หรืออื่นๆ คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมาแล้ว ถูกคนลอกเลียนแบบ ย่อมส่งผลกระทบในภาพกว้างของการพัฒนาประเทศในอนาคตอย่างแน่นอน

"ประเทศที่เจริญแล้วจะพบว่าตัวเลขของการจารกรรมซอฟต์แวร์จะต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาค่อนข้างมาก นั่นคือความแตกต่างที่ทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถสร้างอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งระดับโลก" แบรด สมิธ ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องการดูแลทรัพย์สินทางปัญญา"

เขาย้ำว่า ภาคไอทีของประเทศไทยมีโอกาส มีศักยภาพสูงที่จะเติบโต สิ่งที่ไมโครซอฟท์จะสนับสนุนประเทศไทยได้ คือการเสริมสร้างทักษะความรู้ให้กับคนมากที่สุด ผลักดันเรื่องของการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดประสิทธิภาพและยอมรับใช้กันในวงกว้าง และท้ายที่สุดคือการพัฒนาซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ให้สามารถใช้งานกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us