การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ประกันความเสี่ยงของ สาขาธนาคารต่างประเทศในไทย
หรือ ที่เรียกว่า Ring Fencing ได้เพิ่มภาระต้นทุนของเงินทุน ให้กับสาขาของธนาคารต่างประเทศในไทยค่อนข้างมาก
เพราะธนาคารพาณิชย์ไทยผู้มีสภาพคล่องเงินบาทต่างพากันปรับเพิ่มความเสี่ยงให้กับสาขาธนาคารคู่ค้า
ผ่านอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืม ที่สูงขึ้น ซึ่งกลายเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร
(interbank rates) ที่สาขาธนาคารต่างประเทศเผชิญปรับตัวขึ้นไปสูงถึงประมาณร้อยละ
3-5 ระหว่างเดือนมีนาคม (จากระดับปกติใน ช่วงนี้ ที่ไม่ควรจะเกินร้อยละ 3)
พร้อมกับการปรับเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase
yields) โดยเฉพาะประเภท 1 วันจนขึ้น มาถึงร้อยละ 4.25 (จาก ที่ระดับมักจะต่ำกว่าร้อยละ
1) เมื่อสภาพคล่องในมือสาขาของธนาคารต่างประเทศขาดแคลน จนธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเข้ามามีบทบาทในการเสริมสภาพคล่องให้สาขาของธนาคารต่างประเทศเหล่านั้น
การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การประกันความเสี่ยงของธนาคารแม่ในต่างประเทศต่อสาขาของธนาคารในต่างประเทศ
หรือ Ring Fencing นี้ ได้เกิดขึ้นมานานนับปีแล้ว โดยสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ
เช่น ในอเมริกา เนเธอร์แลนด์ หรือ เยอรมนี ได้ออกข้อกำหนดว่าจะไม่รับผิดชอบความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมต่างๆ
ของสาขาในต่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศ ที่มีภาวะ ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ภาวะสงคราม
การขอหยุดพักชำระหนี้ หรืออาจมีการประกาศควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งประเทศต่างๆ
ทั่วโลกจัดอยู่ในกลุ่ม ที่มีความเสี่ยงหมด ยกเว้นกลุ่มประเทศ G-7 และประเทศสิงคโปร์
ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวจะถูกระบุอยู่ทั้งในสมุดบัญชีเงินฝาก ที่ให้กับลูกค้าทั่วไป
รวมทั้งตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ใช้ทำธุรกรรมการกู้เงินระยะสั้นระหว่างธนาคาร
(P/N) และในใบ S.W.I.F.T. ที่ใช้ยืนยันการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การซื้อขายพันธบัตร และเงินตราต่างประเทศระหว่างธนาคารด้วย
ที่มาของความเดือดร้อน
เท่า ที่ผ่านมาสาขาของธนาคารต่างประเทศในไทย มักจะมีพฤติกรรม ที่แสวงหาแหล่ง ที่มาของเงินทุน ที่ถูกที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้
ซึ่งท่ามกลางสถานการณ์ ที่กลไกอัตราดอกเบี้ยถูกบิดเบือนเช่นในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ที่เสนอให้กู้ยืมระหว่างธนาคารจึงอยู่ในระดับ ที่ต่ำมากคือ
ราวๆ ร้อยละ 1.0-2.0 สำหรับประเภทอายุชั่วข้ามคืนในตลาด interbank (ในช่วงสถานการณ์
ปกติ ตลาดเงินระหว่างธนาคารมักจะใช้เป็นแหล่งระบายสภาพคล่องจากเงินฝาก ที่ระดมได้จากประชาชน
จึงทำให้อัตราดอกเบี้ย ที่บันทึกระหว่างธนาคารสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ธนาคารให้กับประชาชน)
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ที่ธนาคารพาณิชย์ไทยให้กับประชาชนนั้น ขึ้นไปสูงถึงประมาณร้อยละ
2.50-3.0 ดังนั้น ธนาคารต่างประเทศจึงเลือก ที่จะรับเงินฝากให้น้อยที่สุด
โดยกดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 1 หรือต่ำกว่า
และหันไปกู้ยืมจากช่องทางต่างๆ ใน ตลาดเงินระยะสั้นแทน พร้อมทั้งเลือกถือพันธบัตรของไทยในปริมาณจำกัดหากอัตราดอกเบี้ยไม่ดึงดูดพอ
ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ได้ย้อนกลับมา สร้างปัญหาให้กับธนาคารต่างประเทศในยาม ที่ขาดแคลนสภาพคล่องเงินบาทระยะสั้นปัจจุบัน
เพราะไม่ว่าจะหันไปยังช่องทางของแหล่งเงินทุนใดก็จะเผชิญ กับข้อจำกัดไปเสียหมด
ยกตัวอย่าง เช่น การกู้ยืมเงินบาทผ่านตลาด interbank และ swap จะได้รับอัตราดอกเบี้ย ที่สูงขึ้น
การกู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรก็ทำได้จำกัด เพราะมีพันธบัตรในครอบครองจำนวนไม่มากนัก
ทำให้ได้วงเงินกู้น้อยตามไปด้วย
ขณะที่การระดมเงินฝากด้วยการขึ้นดอกเบี้ยจะต้องอาศัยเวลากว่า ที่เงินจะทยอยไหลเข้ามา
ซึ่งอาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้เงิน ณ ขณะนั้น ได้
ผลกระทบมาจาก การตอบสนองของธนาคารไทย
การที่เรื่องดังกล่าวเพิ่งกลายเป็นปัญหาไม่นานมานี้ ทั้งๆ ที่ข้อความปัญหาได้ปรากฏอยู่ในหลักฐานการทำธุรกรรมทางการเงินมานานแล้ว
เนื่อง จากสาขาธนาคารต่างประเทศไม่ได้มีการชี้แจงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อธนาคารไทยพบเห็นจึงสร้างพฤติกรรมโต้ตอบอย่างฉับพลัน ด้วยการงดทำธุรกรรมด้วย,
ปรับเพิ่มความเสี่ยง (margin) เข้าไปในอัตราดอกเบี้ย ที่เสนอให้กู้ยืม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น
หรือลดวงเงินการปล่อยกู้ลง
อย่างไรก็ดีเมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ผ่อนคลายความตึงเครียดลงในระดับหนึ่ง
เนื่อง จากธนาคารแม่ในต่างประเทศส่วนใหญ่ตกลงให้สามารถถอดข้อความดังกล่าว ที่บันทึกอยู่ในหลักฐานในการทำธุรกรรม
ต่างๆ ออก โดยประเด็น ที่ยังติดค้าง และไม่สามารถแก้ไขได้คือ กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ธนาคารสัญชาติ สหรัฐฯ จะได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายให้ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของสาขาในประเทศอื่นๆ
ผลกระทบต่อตลาดเงิน และอัตราดอกเบี้ย
ถึงแม้ว่าธนาคารสหรัฐฯ จะครอง สัดส่วนการตลาดของทั้งเงินฝาก เงิน ให้สินเชื่อ
และสินทรัพย์ถึงเกือบ 1 ใน 4 ของธนาคารต่างประเทศทั้งหมด แต่ความเสี่ยง ที่ยังคงอยู่อาจกลายเป็นข้อจำกัดในการทำธุรกรรมต่อจากนี้ไปได้
โดยเฉพาะธุรกรรมระหว่างธนาคาร
อย่างไรก็ดีหากพิจารณาความสามารถบางประการที่ธนาคารต่างประเทศเหล่านี้ยังสามารถเกื้อหนุนธนาคารไทยได้
โดยเฉพาะความสามารถ หลักในการเป็นแหล่ง ที่มาของสภาพคล่องดอลลาร์ เชื่อว่าการตอบสนอง ที่รุนแรงของธนาคารไทย
เช่น การงดการทำธุรกรรมด้วย หรือ เพิ่มค่าความเสี่ยงเข้าไปในอัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืม ที่สูงขึ้น
น่าจะผ่อนคลายลง ซึ่งจะทำให้สภาวะสภาพคล่องค่อยๆ กลับเข้าสู่ระดับปกติ
ทั้งนี้ธนาคารต่างประเทศเองก็ได้พยายามเตรียมพร้อมรองรับปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน
โดยธนาคารซิตี้แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคาร ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในบรรดาธนาคารจากสหรัฐฯ
ในไทย, มีขนาดสินทรัพย์ และสินเชื่อมากเป็นอันดับ 2 ของธนาคารต่างประเทศใน
ไทย และมีขนาดเงินฝากมากเป็นอันดับแรก เมื่อเทียบกับธนาคารต่างประเทศอื่นๆ
ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
ซึ่งส่วนหนึ่งคาดว่าคงจะต้องเพิ่มฐานเงินฝาก และแหล่งสภาพคล่องเงินบาทให้มากขึ้น
ดังนั้น คาดว่า Ring fencing คง จะไม่ได้สร้างปัญหาให้เกิดความตึงตัวของสภาพคล่องในระบบเช่น ที่ผ่านมาเพราะนอกจากธนาคารต่างประเทศเองจะพยายามเตรียมความพร้อมด้านสภาพคล่องเงินบาทแล้ว
ท่าทีของธนาคารไทยก็เริ่มผ่อนคลายลง
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือแหล่งสุดท้าย เพื่อลดความผันผวนของตลาดเงินระยะสั้น
แต่ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นบทเรียนอันดีต่อธนาคารต่างประเทศว่า การสร้างความโปร่งใส และความเข้าใจอันดีกับธนาคารไทยเป็นสิ่งจำเป็น
เพื่อนำมา ซึ่งการตอบสนองในลักษณะ ที่ประนีประนอมมากขึ้น ตลอดจนการทำธุรกรรม ที่เกื้อกูลกันมากขึ้นในอนาคต
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย