BO ตัวแรก มาจากคำว่า bourgeoies หมายถึง ชนชั้นกระฎุมพี เสรีชนสมัยก่อนในระบบศักดินา
เจ้าที่ดิน ปัจจุบันในสังคมทุนนิยม คือ ชนชั้นกลาง
BO อีกตัวหนึ่งคือ bohemian นอกจาก จะหมายถึงคนที่อาศัยอยู่ในแคว้นโบฮีเมีย
ของ ประเทศเชกโกสโลวะเกีย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว กลายเป็นประเทศสโลวาเนีย
ยังแปลว่า พวกที่ มีความคิดและวิถีชีวิตที่สวนทางกับกฎเกณฑ์ ค่านิยมซึ่งเป็นกระแสหลักของสังคม
หรือพวกกบฏสังคมที่แปลกแยกแตกต่างจากคนทั่วไป
เดวิด บรู้คส์ บรรณาธิการอาวุโสของนิตยสาร The Weekly Standard จับสองคำนี้มารวมกัน
ตั้งเป็นชื่อหนังสือว่า BOBOS IN PARADISE ซึ่งเขาเป็นผู้เขียน
BOBO หมายถึง ชนชั้นใหม่ ในยุคนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นชนชั้นระดับบนของสังคม
ที่มีแบบแผนชีวิตก้ำกึ่งระหว่างชนชั้นกลางในกระแสหลักที่มีความทะเยอทะยาน
ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความร่ำรวย กับพวกโบฮีเมียน ที่มีความคิดสร้างสรรค์
ไม่ยึดติดในวัตถุ เป็นชนชั้นที่เป็นส่วนผสมของพวก ต่อต้านสังคมและสถาบันยุคทศวรรษ
1960 กับชนชั้นกลางในทศวรรษ 1980 ที่อยู่ในโลกธุรกิจ ทำงานในบริษัทไอที วงการบันเทิง
ธุรกิจ สื่อสารมวลชน ตลาดการเงิน
ชนชั้น BOBO นี้ยังคงตั้งหน้าตั้งตาแสวงหาเงินทอง เพื่อความมั่นคงในชีวิตและสถานภาพในสังคม
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่อยากให้ตัวเองมีภาพว่า เป็นพวกวัตถุนิยม เหมือนเศรษฐียุคก่อน
รสนิยมในการใช้ชีวิตของเขา จึงปฏิเสธการบริโภคที่ฟุ้งเฟ้อ หรูหรา แต่จะออกไปในทางเรียบง่าย
ทันสมัย สร้างสรรค์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และต้องแตกต่างไปจากคนทั่วไป
ตัวอย่างของคนในชนชั้น BOBO นี้ น่าจะได้แก่ บิล เกตต์ เจ้าของบริษัทไมโคร
ซอฟท์ และสตีฟ จ็อบ ผู้ก่อตั้งบริษัทแอป เปิล ซึ่งร่ำรวยมหาศาล เพราะว่าวิถีชีวิตที่เรียบง่ายในโลกของคนเหล่านี้
มีต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่แพงมาก เกินกว่าที่คนธรรมดาจะเอื้อมถึง
บรู้คส์ เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อ วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมอเมริกัน
ซึ่งเขาเห็นว่า พวก BOBO นี้เป็น ชนชั้นนำใหม่ ที่มีอิทธิพลในการกำหนดพฤติกรรมของสังคมค่อนข้างสูง
แรงบันดาล ใจของเขาเกิดจากการสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง หลังกลับจากการใช้ชีวิตในต่างแดนเกือบ
5 ปี เขาพบว่าย่านชาน เมือง ซึ่งเคยเป็นถิ่นของพวกชนผิวขาวที่มีอภิสิทธิ์ในสังคม
มีร้านกาแฟที่ตกแต่งเหมือนแกลลอรี่ขนาดเล็กเกิดขึ้น มีคนมานั่งดื่มกาแฟเอ๊กซเปรสโซ
และฟังเพลงแนว อัลเทอร์เนทีฟ ส่วนในย่านที่เคยเป็นที่อยู่ของพวกศิลปิน ก็เต็มไปด้วยที่พักอาศัยที่เป็นห้องใต้หลังคาโรงรถ
ชั้นลอยของโรงงานเก่าๆ ที่ตกแต่งด้วยเงินมหาศาล ของพวกที่กินเงินเดือนแพงๆ
ในบริษัท โฆษณาของ บริษัทซอฟต์แวร์ หรือธุรกิจแฟชั่น บางแห่ง นำภาพบุคคลสำคัญจากโลกที่สามที่ไม่เคย
เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการทำธุรกิจ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์อย่างเช่น มหาตมะ คานธี
ในความเห็นของผู้เขียน พวก BOBO เป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมของสังคมยุคสารสนเทศ
ซึ่งปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุด คือ ความรู้ คนพวกนี้เรียนเก่ง ผ่านมหาวิทยาลัยชั้นนำ
อย่างฮาร์วาร์ด เยล หรือสแตนฟอร์ด มา ด้วยเกรดสูงๆ ใช้วิชาความรู้ ทำมาหากิน
โดย ไม่ต้องพึ่งพาฐานธุรกิจ สายสัมพันธ์ของครอบ ครัว ต่างจากชนชั้นนำ ในยุคก่อนทศวรรษ
1960 ที่ยังต้องอิงฐานะ และสายสัมพันธ์ของพ่อแม่
การศึกษา จึง เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ก่อนหน้าทศวรรษ 1960 นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำส่วนใหญ่มาจากครอบครัวคนผิวขาวที่มีอภิสิทธิ์ในสังคม
(WASP -White-Anglo Saxon-Protestant) หลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเหล่านี้
ซึ่งเป็นสมาชิกของ ชนชั้นอภิสิทธิ์ด้วยเช่นกัน เล็งเห็นว่า อนาคตของสหรัฐอเมริกา
ไม่ควรตกอยู่ในมือของชนชั้นนำ ซึ่งสืบทอดกันมาโดยสายเลือดชนชั้นนำของประเทศ
ควรจะมาจากคนที่มีสติปัญญาที่หลากหลาย ดังนั้น จึงได้มีการใช้ระบบคัดเลือกคนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยด้วยการสอบวัดผล
เข้ามาแทนการรับนักศึกษาด้วยการพิจารณาจากชาติตระกูล (brain rather than
blood)
กลุ่มคนที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ มาจากครอบครัวชนชั้นกลาง วิถีชีวิต
ต่างจากชนชั้นอภิสิทธิ์ พวกเขาปฏิเสธวัฒนธรรม รสนิยมของชนชั้นอภิสิทธิ์ ที่เน้นความหรูหรา
โอ่โถง ให้ความสำคัญกับวัตถุ และสร้าง วัฒนธรรมใหม่ของพวกตนขึ้นมา
พวก BOBO จะไม่ซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ เนม แต่จะคำนึงถึงภาพพจน์ของผู้ผลิตสินค้าว่ารับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่
พวกเขาจะไม่ลงทุนกับโคมไฟระย้า แต่พร้อมจะหมดเงินไปกับเครื่องทำกาแฟ คาปูชิโน
ที่มีดีไซน์เรียบง่าย แต่ทันสมัยและราคาแพง ไม่นอนเตียงหลุยส์ แต่ขอหนุนหมอนขนเป็ดใบละหลายร้อยดอลลาร์
ถ้าจะหาเงิน ก็ต้อง คิดหาว่าจะเชื่อมโยงการหาเงินของเขาให้เข้ากับ "สิ่งดีๆ
ในสังคม" ได้อย่างไร
และแน่นอนว่า รถที่ใช้ต้องเป็น รถเอสพีวี (SPV-Special Purposes Vehicle)
ถึงแม้ว่า เวลาส่วนใหญ่จะอยู่ในเมือง เพราะว่ามันสะท้อนถึงความเป็นครอบครัว
และจิต สำนึกของนักผจญภัยได้เป็นอย่างดี
เดวิด บรู้คส์ เขียน BOBOS IN PARADISE โดยอาศัยการสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
แล้ววิเคราะห์ด้วยมุมมองของตัวเอง ไม่มีทฤษฎีทางสังคม วิทยา หรือตัวเลขสถิติใดๆ
มารองรับ เป็น การวิเคราะห์แบบที่เขาใช้คำว่า สังคมวิทยา หรรษา (comic sociology)
ให้อ่านกันแบบสนุกๆ
เนื้อหาหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของสังคมอเมริกัน อาจจะไม่เข้ากับบ้านเราสักเท่าไร
แต่เมื่ออ่านแล้ว หันไปมองดูรูปแบบการใช้ชีวิตของชนชั้นกลางผู้มีอันจะกินทั้งหลาย
ก็เป็นเรื่องสนุก หากจะมองว่า พวกเขาอาจจะเป็นพวก BOBO ในบางด้าน และถ้าคุณกำลังคิดจะขายสินค้าให้คนเหล่านี้
หนังสือเล่มนี้อาจจะช่วยในการวางคอนเซ็ปต์การตลาดให้คุณได้